จัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2
by ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, โกวิทย์ พวงงาม, อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
จัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 | |
A study on planning the second Thailand Political Development Plan | |
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, โกวิทย์ พวงงาม, อรรถสิทธิ์ พานแก้ว | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2014 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
จากสภาพปัญหาทางการเมืองไทยตลอดระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษ ที่แม้จะผ่านการปฏิรูปทางการเมืองมาหลายครั้งก็ยังไม่สามารถจะพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มั่นคงถาวรได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ การไม่มีแผนพัฒนาการเมืองที่ชัดเจน เพื่อจะกำหนดแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้นในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 จึงได้กำหนดให้จัดทำแผนพัฒนาการเมืองขึ้น โดยให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นผู้จัดทำ หลังการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 1 ของสภาพัฒนาการเมืองแล้วเสร็จ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นดังความคาดหวังเนื่องจาก แผนพัฒนาการเมืองไม่มีสถานภาพบังคับใช้ในทางปฏิบัติ ทำให้ไม่มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคมอื่น ๆ นำแผนพัฒนาการเมืองไปปฏิบัติให้เกิดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 จำเป็นต้องสร้างสภาพ “บังคับ” ของแผนพัฒนาการเมืองให้ผูกพันต่อองค์กรทางการเมืองอื่น ๆ ให้นำแผนพัฒนาการเมืองไปปฏิบัติ และแผนพัฒนาการเมืองฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการเมืองของไทยและโลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป แผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก อันได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ 3) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองอาเซียน 5) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 6) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมที่มีความหลากหลาย 7) ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจและการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้ง 7 จะใช้เป็นกรอบแนวทางอย่างกว้างในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการเมือง และในแต่ละยุทธศาสตร์จะมีพันธกิจย่อยรวม 29 พันธกิจ ที่เป็นรายละเอียดของแนวทางในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์ ที่เป็นวิธีการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพันธกิจให้บรรลุผล รวมทั้งได้ระบุถึงหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้แผนพัฒนาการเมืองไปสู่ความสำเร็จ โดยแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ กลยุทธ์ระยะสั้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้เลยภายใน 1 ปี กลยุทธ์ระยะกลาง ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการและดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ภายใน 5 ปี และกลยุทธ์ระยะยาว ซึ่งจะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจต่าง ๆ ของแผนพัฒนาการเมืองภายใน 10 ปี นอกจากนี้เพื่อให้แผนพัฒนาการเมืองได้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องร่วมผลักดันให้แผนพัฒนาการเมืองมีผล “บังคับ” ในทางปฏิบัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และปรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสภาพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปฏิบัติ โดยเพิ่มองค์ประกอบของสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ให้มีผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน เข้ามาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง และเพิ่มอำนาจของสภาพัฒนาการเมืองในการร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาการเมืองดำเนินการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเมืองตามสมควร |
|
แผนพัฒนาการเมือง
ฉบับที่ 2 การปฏิรูปทางการเมือง |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/247 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|