Show simple item record

dc.contributor.authorศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, โกวิทย์ พวงงาม, อรรถสิทธิ์ พานแก้ว
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-05-19T08:32:12Z
dc.date.available2016-05-19T08:32:12Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/247
dc.description.abstractจากสภาพปัญหาทางการเมืองไทยตลอดระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษ ที่แม้จะผ่านการปฏิรูปทางการเมืองมาหลายครั้งก็ยังไม่สามารถจะพัฒนาไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มั่นคงถาวรได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ การไม่มีแผนพัฒนาการเมืองที่ชัดเจน เพื่อจะกำหนดแนวทางการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีความต่อเนื่อง ดังนั้นในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2550 จึงได้กำหนดให้จัดทำแผนพัฒนาการเมืองขึ้น โดยให้สภาพัฒนาการเมืองเป็นผู้จัดทำ หลังการจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 1 ของสภาพัฒนาการเมืองแล้วเสร็จ ผลที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นดังความคาดหวังเนื่องจาก แผนพัฒนาการเมืองไม่มีสถานภาพบังคับใช้ในทางปฏิบัติ ทำให้ไม่มีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือภาคประชาสังคมอื่น ๆ นำแผนพัฒนาการเมืองไปปฏิบัติให้เกิดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 จำเป็นต้องสร้างสภาพ “บังคับ” ของแผนพัฒนาการเมืองให้ผูกพันต่อองค์กรทางการเมืองอื่น ๆ ให้นำแผนพัฒนาการเมืองไปปฏิบัติ และแผนพัฒนาการเมืองฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพการเมืองของไทยและโลกในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป แผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2 ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์หลัก อันได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี 2) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ 3) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ 4) ยุทธศาสตร์ด้านการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและการเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นพลเมืองอาเซียน 5) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 6) ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมความเสมอภาคและเท่าเทียมในสังคมที่มีความหลากหลาย 7) ยุทธศาสตร์ด้านการกระจายอำนาจและการบริหารจัดการทรัพยากรที่เป็นธรรม ซึ่งยุทธศาสตร์ทั้ง 7 จะใช้เป็นกรอบแนวทางอย่างกว้างในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการเมือง และในแต่ละยุทธศาสตร์จะมีพันธกิจย่อยรวม 29 พันธกิจ ที่เป็นรายละเอียดของแนวทางในการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ และ กลยุทธ์ ที่เป็นวิธีการในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และพันธกิจให้บรรลุผล รวมทั้งได้ระบุถึงหน่วยงานของรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้แผนพัฒนาการเมืองไปสู่ความสำเร็จ โดยแบ่งกลยุทธ์ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ กลยุทธ์ระยะสั้น ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถดำเนินการได้เลยภายใน 1 ปี กลยุทธ์ระยะกลาง ซึ่งจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการและดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ภายใน 5 ปี และกลยุทธ์ระยะยาว ซึ่งจะต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ตามยุทธศาสตร์และพันธกิจต่าง ๆ ของแผนพัฒนาการเมืองภายใน 10 ปี นอกจากนี้เพื่อให้แผนพัฒนาการเมืองได้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมได้อย่างแท้จริง จำเป็นต้องร่วมผลักดันให้แผนพัฒนาการเมืองมีผล “บังคับ” ในทางปฏิบัติแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และปรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสภาพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปฏิบัติ โดยเพิ่มองค์ประกอบของสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ให้มีผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน เข้ามาเป็นสมาชิกสภาพัฒนาการเมือง และเพิ่มอำนาจของสภาพัฒนาการเมืองในการร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาการเมืองดำเนินการสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเมืองตามสมควรth
dc.description.abstractDue to Thailand’s political turbulence during the past 8 years, albeit having been through several reforms, the consolidation of constitutional monarchy remains inconsistent. One of the main contributing factors is lack of clear political development plan which sets a framework for continual democratic consolidation. Hence, in 2007 Constitution, the Political Development Council has been assigned to carry out a clear political development plan. After the political development plan drafted by the Political Development Council was completed, it was not practically enacted. As a result, none of government, private and civil society bodies implements the plan. The second political development plan therefore has to be obligatory which political entities must conform to and must be properly enacted. This political development plan has been adjusted to a fast-changing Thai as well as global political atmosphere. The second political development plan consists of 7 main strategies as follows: 1) Strategy on good governance 2) Strategy on promotion of reconciliation 3) Strategy on national security 4) Strategy on political culture in constitutional monarchy and ASEAN citizenship 5) Strategy on political participation 6) Strategy on equality in society with diversity 7) Strategy on decentralization and decent resource management These 7 strategic points will provide a wide framework in steering the country’s political development. Moreover, within these strategic points, there are 29 detailed missions stipulated as means to reach the goal. Besides, the relevant entities are specifically addressed in the plan and are held responsible for achievement of the set objectives. The strategies have 3 phrases: short-term strategy which all relevant entities can execute within one year, medium-term strategy which can be completed within 5 years, and long-term strategy which can be accomplished within 10 years. Furthermore, in order that the plan is visibly implement, it has to be obligatory making both governmental and private entities comply with it. The Political Development Council has to undergo restructuring as a main organization pushing forward the plan. The Council should have more components representing local government body and private sector. It must also be entitled to request cooperation from relevant entities to implement the plan.th
dc.description.sponsorshipสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectแผนพัฒนาการเมืองth
dc.subjectฉบับที่ 2th
dc.subjectการปฏิรูปทางการเมืองth
dc.titleจัดทำแผนพัฒนาการเมือง ฉบับที่ 2
dc.title.alternativeA study on planning the second Thailand Political Development Plan
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
cerif.cfProj-cfProjId2557A00349
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)
turac.contributor.clientสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record