ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
by วิทวัส ศตสุข
ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 | |
Project to Promote and Support Energy Efficiency at Group of schools under the royal patronage | |
วิทวัส ศตสุข | |
2022-10-25 | |
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
|
เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในปี 2562 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ได้ริเริ่มดำเนินโครงการเฉลิมพระเกียรติ ภายใต้ "โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน ในโรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก" ในการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในอาคารของกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ จำนวน 6 แห่ง ซึ่งมีผลประหยัดเป็นจำนวน 456,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อปี เทียบเท่า 1,915,000 บาทต่อปี และเพื่อเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กระทรวงพลังงานจึงมอบหมายให้ พพ. มีการดำเนินกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในปี 2563 ภายใต้ "โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน กลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติ" โรงเรียนที่เหลืออีกจำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพราชานุสรณ์, โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย, โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์, โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม, โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2 กำแพงเพชร, โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี, โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 1 อุดรธานี, โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา และโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3 ฉะเชิงเทรา
จากข้อมูลการสำรวจรายละเอียดอุปกรณ์ในโรงเรียน พบว่าอุปกรณ์ที่มีผลต่อการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระบบไฟฟ้าแสงสว่างและระบบปรับอากาศ อีกทั้งยังขาดระบบบริการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ทั้งนี้หากมีการดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานแล้ว จะทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอาคาร และสอดคล้องกับการดำเนินการตามนโยบายด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศอีกด้วย
โดยดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคา จำนวน 444.16 กิโลวัตต์, ปรับเปลี่ยนระบบแสงสว่าง LED จำนวน 12,191 หลอด ปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน (Spilt type) จำนวน 6,378,000 BTU/hr ระบบปรับอากาศแบบแปรผันตามน้ำยา 3,834,000 BTU/hr และติดตั้งระบบบริหารจัดการพลังงาน จำนวน 9 ระบบ
จากการวิเคราะห์ข้อมูลด้านไฟฟ้าและพลังงานของแต่ละระบบจะพบว่าผลประหยัดรวมทุกระบบ เท่ากับ 1,112,188.01 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี คิดเป็นเงิน 4,671,189.62 บาทต่อปี |
|
ประสิทธิภาพพลังงาน
อนุรักษ์พลังงาน |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1122 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View No fulltext.docx ( 12.11 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|