Show simple item record

dc.contributor.authorภิญญ์ ศิรประภาศิริ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2014-10-13T07:17:19Z
dc.date.available2014-10-13T07:17:19Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/81
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ความพยายามระหว่างประเทศในการควบคุมการลดอาวุธเล็กและอาวุธเบส โดยการศึกษาทั้งในแง่องค์การที่มีบทบาทสำคัญ เวที กรอบการเจรจาสนธิสัญญาและข้อตกลง รวมถึงศึกษาความสอดคล้องของกฎหมายไทยต่อความพยายามดังกล่าว ทั้งนี้ งานวิจัยมุ่งให้ความสำคัญต่อประเด็นเรื่องสนธิสัญญาว่าด้วยการค้าอาวุธ (Arms Trade Treaty) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการจำกัดอาวุธเล็กและอาวุธเบา และอยู่ระหว่างเปิดให้ประเทศต่างๆ ร่วมลงนามและให้สัตยาบันเป็นรัฐภาคี งานวิจัยฉบับนี้พบว่า เวทีการประชุมหรือเวทีแลกเปลี่ยนขนาดใหญ่ในระดับพหุภาคีในภาพรวมไม่มีความก้าวหน้าที่มีนัยยะสำคัญมากว่าทศวรรษแล้ว ในส่วนประเด็นเรื่องอาวุธเล็กและอาวุธเบา ที่ผ่านมา แนวทางการควบคุมอาวุธดังกล่าวได้แก่ การพยายามที่จะสร้างความโปร่งใสและความรับผิดชอบในการขนส่งอาวุธ ทำลายอาวุธที่เกินความจำเป็น ควบคุมนายหน้าหรือพ่อค้าคนกลางที่ค้าอาวุธอย่างผิดกฎหมาย ควบคุมการครอบครองอาวุธโดยพลเรือน และห้ามการขายอาวุธให้กับตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบ รวมถึงมีกฎหมายที่มีเนื้อหาและแนวทางปฏิบัติ ที่สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศในประเด็นเรื่องการควบคุมดูแลและการนำเข้าและส่งออกอาวุธ อันได้แก่ พันธกรณีห้ามเคลื่อนย้ายอาวุธทั่วไป หากเป็นการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศ การประเมินความเสี่ยงก่อนส่งออกหรือเคลื่อนย้ายอาวุธยุทธภัณฑ์ต่างๆ การสร้างมาตรการด้านการขนผ่าน (transit) หรือการถ่ายลำอาวุธ (trans-shipment) และการควบคุมผู้ใช้ปลายทาง (End-use) อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมเกี่ยวกับนายหน้าค้าอาวุธโดยเฉพาะ อุปสรรคหลักที่ผ่านมาของประเทศไทยในประเด็นเรื่องการควบคุมอาวุธ ได้แก่ (1) การขาดจุดยืนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนสังคม ต่อประเด็นเรื่องการค้าอาวุธ (2) การขาดความรู้ความเข้าใจในตัวข้อตกลงและพันธกรณีต่างๆ (3) การขาดข้อมูลภายในและความร่วมมือด้านข้อมูลระหว่างประเทศ (4) การขาดมาตรการในการยับยั้งการถอนตัวออกจากความร่วมมือระหว่างประเทศ (5) การขาดหน่วยงานและมาตรฐานการตรวจสอบที่เข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัยต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และ (6) การที่กฎหมายมีช่องโหว่ให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายหรือกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่รัฐสามารถละเมิดข้อตกลงได้ สำหรับข้อเสนอเรื่องท่าทีต่อประเด็นเรื่องการค้าอาวุธ งานวิจัยเสนอว่าประเทศไทยควรคำนึงถึงคือ การบังคับใช้กฎหมายในประเทศให้เป็นไปตามพันธกรณีที่ปรากฏในข้อตกลงระหว่างประเทศและตามปทัสถานที่นานาประเทศยึดถือปฏิบัติ โดยควรลงนามในข้อตกลงและสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ เพื่อแสดงความเห็นชอบในหลักการ และยื่นข้อสงวนในประเด็นที่ประเทศไทยอาจยังไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างสมบูรณ์th
dc.description.abstractThe research studies international attempts at controlling the transfer of small arms and light weapons (SALW) with a special emphasis on the Arms Trade Treaty which was adopted by the United Nations General Assembly on April 2, 2013. The Treaty aims at regulating the international trade in conventional arms, from small arms to battle tanks, combat aircraft and warships. The research also studies related Thai laws in order to produce a policy recommendation for the Thai authority regarding the stance on the arms control issue. The research finds that many international negotiations on arms control have not progressed for more than a decade. Regarding the small arms and light weapons, there have been attempts at creating a more transparent and socially-responsible transfer standard, at destroying arms surplus, at controlling illicit arms brokers, at controlling arms possession by civilians, and at prohibiting arms transfer to non-state actors. Thailand has a few related authorities handling arms control issue and has related laws that are compatible with international laws such as the law concerning the arms transfer to other countries, standards for arms transit and trans-shipment, and end-user control. Thailand, however, do not have a specific law dealing with arms brokers. The main obstacles for Thailand regarding arms control are (1) the lack of common ground among state, private section, and civil society on arms trade; (2) the lack of knowledge on existing international law on arms trade; (3) the lack of information sharing mechanism among countries; (4) the lack of mechanism to prevent countries from resigning from international agreement; (5) the lack of institution and standard strict and effective enough to handle the changing nature of arms trade; and (6) the loophole in arms-related laws that allow non-state actors and terrorists to commit their wrong doings.th
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการควบคุมและการลดอาวุธth
dc.subjectอาวุธเล็กth
dc.subjectอาวุธเบสth
dc.subjectอุปสรรคth
dc.subjectการค้าอาวุธth
dc.subjectกรอบการเจรจาth
dc.subjectสนธิสัญญาและข้อตกลงth
dc.titleกรอบการเจรจา ข้อตกลง และสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการควบคุมการลดอาวุธตามแบบ อาวุธเล็ก อาวุธเบา และอาวุธชนิดอื่นๆ
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2556A00159
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record