Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมีth
dc.date.accessioned2020-05-15T02:35:55Z
dc.date.available2020-05-15T02:35:55Z
dc.date.issued2020-05-15
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/787
dc.description.abstractจากสถานการณ์ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ การลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ และการทำลายสิ่งแวดล้อม ล้วนมีผลมาจากการเติบโตของเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นจึงเกิดแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผนวกกับการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อสร้างสมดุลระหว่าง 2 ด้านนี้ จึงเกิดเป็นหลักการ การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ด้วยเหตุนี้ การยางแห่งประเทศไทย จึงต้องการศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้หลักการการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันอย่างสมดุล โดยการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ระบุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นการขับเคลื่อนการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การลดการใช้น้ำและส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาองค์กรในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพและมีแนวทางในการดำเนินงานที่ถูกต้อง มีการกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม ตรงประเด็นกับยุทธศาสตร์ของการยางแห่งประเทศไทย (ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างรายได้จากการบริการและดำเนินธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนายางพาราตลอดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่า ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและพัฒนาเพื่ออนาคต และยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ) และใช้ในการพัฒนาปรับปรุงและยกระดับอุตสาหกรรม ตอบโจทย์เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สามารถคำนวณได้จากคุณค่าของระบบผลิตภัณฑ์ (Product System Value) หารด้วยผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts) ที่สนใจ ซึ่งการคำนวณตัวชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของการยางแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์กร และระดับผลิตภัณฑ์ สำหรับการประเมินคุณค่าระบบผลิตภัณฑ์ ระดับองค์กร และระบบผลิตภัณฑ์ คิดจาก “ผลผลิตยางพาราต่อไร่ต่อปีของเกษตรกร” อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2561 และผลผลิตของผลิตภัณฑ์ ซึ่งการประเมินทั้ง 2 ระดับจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงาน และการใช้น้ำ ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) จากการศึกษาวิจัย พบว่าค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับองค์กรของการยางแห่งประเทศไทย เมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเท่ากับ 0.06 kg/kgCO2eq. ทางด้านการใช้พลังงาน 0.13 kg/TJ และเมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านกาใช้น้ำมีค่าเท่ากับ 3.06 kg/m3 และสำหรับค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับผลิตภัณฑ์ เมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีค่าอยู่หว่าง 0.73 – 4.78 kg/kgCO2eq. โดยผลิตภัณฑ์ที่มีค่า EE สูงที่สุดคือน้ำยางข้น เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้วัตถุดิบและทรัพยากรน้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สำหรับค่า EE ที่พิจารณาผลกระทบทางด้านการใช้พลังงานและการใช้น้ำของการยางแห่งประเทศไทย มีค่าอยู่ในช่วง 0.07-2.95 kg/MJ และ 0.003 – 0.43 kg/m3 ตามลำดับ โดยผลิตภัณฑ์น้ำยางเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจสูงสุด ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจเมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการศึกษาทั้งในระดับองค์กรและระดับผลิตภัณฑ์ พบว่าแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของการยางแห่งประเทศไทยควรมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการจัดเก็บข้อมูลในระดับองค์กรเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สะท้อนถึงกิจกรรมที่แท้จริง รวมถึงการลดใช้ทรัพยากรในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ไฟฟ้า และเชื้อเพลิง Regarding the current environmental problem around the world, whether it be climate change, water scarcity, decrease of natural resources, and environmental destruction, all of these are caused by the growth of economy and industrial development. Consequently, the pathway of sustainable development in combination with the industrial development for economic growth is needed for national development and environmental conservation. For the balances of these two dimensions, it results in the principles to assess the eco-efficiency. Therefore, Rubber Authority of Thailand needs to study sustainable development by using the principles of eco-efficiency assessment for the development of economy and environment. The assessment of eco-efficiency conforms to sustainable development according to the 20-years National Strategy (2017-2036) and the 12th National Economic and Social Development (2017-2021). The scope of the 20-years National Strategy indicates the vision, “Thailand has stability, prosperity and sustainability and will become a developed country through developments based on the sufficiency economy philosophy”, and to support Sustainable Development Goals: SDGs, which are the reduction of environmental impacts, of greenhouse gas, the well-use of resources, reduction of water use, and the promotion of sustainable production and consumption for the developing knowledge and organization in the eco-efficiency assessment to have the right practice, there should be the appropriate indicators in compliance with the strategies of Rubber Authority of Thailand (Strategy 1 Building income from Services and Business Operation; Strategy 2 Development of Rubber throughout the Supply Chain and the Value Chain, Strategy 3 Research and Development for Future; Strategy 5 Organizational Administration for Excellency), to be applied in the industrial improvement and elevation, to respond the goal of eco-friendly business operation and sustainable development. The eco-efficiency assessment could be processed from the Product System Value divided by the interesting Environmental Impacts. The calculation of the eco-efficiency indicator of Rubber Authority of Thailand could be divided into 2 levels which are organizational level and product level. For the assessment of Product System Value at the organizational level and the product level, it could be calculated from “Rubber production per rai per year” and “total product produced in the fiscal year of 2018”, respectively. The two-leveled assessment will consider the environmental impact of greenhouse gas emission energy consumption and water consumption in accordance with Life Cycle Assessment. According to the study, it was found that the eco-efficiency at the organizational level of Rubber Authority of Thailand, considering the impact of greenhouse gas emission, is 0.06 kg/kgCO2eq, the impact of energy use, is 0.13 kg/TJ, and the impact of water use, is 3.06kg/m3. For the eco-efficiency at the product level, considering the impact of greenhouse gas emission, it is during 0.73 – 4.78 kg/kgCO2eq. whereas the highest EE is concentrated latex due to using fewer raw materials and resources than other products. For EE, considering the impact of energy use and water use of Rubber Authority of Thailand, it is during 0.07-2.95 kg/MJ and 0.003 – 0.43 kg/m3, respectively, whereas the latex product is the product that contains the highest eco-efficiency. Similar to the eco-efficiency when considering the impact of greenhouse gas emission, from the study at the organizational level and the product level, it was discovered that the pathway to improving the eco-efficiency of Rubber Authority of Thailand should focus on the development data storage in the organizational level so that the data will reflect the real activities, including decreasing the use of resources in the factory, whether it be raw materials, electricity, and fuel.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจth
dc.subjectEco-efficiencyth
dc.subjectแนวทางปฏิบัติที่ดี ISO 14045th
dc.titleศึกษาและประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการยางแห่งประเทศไทย ตามแนวทางปฏิบัติที่ดี ISO 14045th
dc.title.alternativeEco Efficiency Assessment of Rubber Authority of Thailandth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderการยางแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00602th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientการยางแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาและประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-efficiency) ของการยางแห่งประเทศไทย ตามแนวทางปฏิบัติที่ดี ISO 14045th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record