Show simple item record

dc.contributor.authorภัณณิน สุมนะเศรษฐกุลth
dc.date.accessioned2020-04-27T07:25:28Z
dc.date.available2020-04-27T07:25:28Z
dc.date.issued2020-04-27
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/775
dc.description.abstractเอกสารนี้เป็นรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงการที่ปรึกษาด้านวิชาการเพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาคอาเซียน (ซึ่งในที่นี้เรียกว่า “โครงการ”) ซึ่งให้การสนับสนุนด้านวิชาการจากภายนอกในการวางกรอบวิเคราะห์อนาคตระยะยาวที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดำเนินการอยู่ ให้มีความทันต่อสถานการณ์และมีความต่อเนื่อง งานดังกล่าวเกี่ยวข้องกับรายงานให้หน่วยงานต่าง ๆ ของราชอาณาจักรไทยทราบถึงความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความรับผิดชอบด้านต่าง ๆ ของหน่วยงานเหล่านั้น การศึกษานี้เป็นการสำรวจภัยความมั่นคงรูปแบบใหม่ (nontraditional security threats) เนื่องจากรูปแบบของภัยคุกคามเหล่านี้ค่อนข้างจะเป็นเชิงระบบมากกว่าภัยความมั่นคงรูปแบบเก่าที่อิงอยู่กับตัวแทน ด้วยเหตุนี้ ในรายงานจึงครอบคลุมแนวโน้มทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม แม้ว่าแนวโน้มในขอบเขตเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นภัยคุกคามความมั่นคง แต่สามารถแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งนี้ในการวิเคราะห์ได้นิยามความไม่มั่นคงว่า เป็นความเสี่ยงที่ไม่สามารถบริหารจัดการได้ อีกทั้ง ในการศึกษายังได้นำกรอบการวิเคราะห์แบบหลายขั้นตอนมาใช้เพื่อกลั่นกรองประเด็นปัญหาสำคัญที่ประเทศไทยเผชิญอยู่อย่างเป็นระบบ โดยเริ่มต้นด้วยการสำรวจรายละเอียดตามขอบเขตความรู้จนวิเคราะห์ออกมาเป็นคลัสเตอร์ของแนวโน้ม 5 กลุ่ม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่สำคัญมากที่สุดต่อประเทศไทย อันได้แก่ การปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (The 4th Industrial Revolution) สังคมอายุยืน (The Longevity Society) ยุคมนุษย์ครองโลก (The Anthropocene) ความวุ่นวายระดับโลกและภูมิภาค (Global and Regional Tumult) และการแตกแยกทางสังคม (Social Fragmentation) ภายในคลัสเตอร์แต่ละกลุ่ม จะจำแนกแนวโน้มที่มีความสำคัญสูงออกมา และเลือกความเสี่ยงที่มาพร้อมกับแนวโน้มเหล่านั้น ข้อมูลที่ได้ในแต่ละคลัสเตอร์เป็นการวิเคราะห์ความด้านความมั่นคงในประเด็นเฉพาะ โดยพิจารณาผลกระทบเชิงลบที่เป็นไปได้ต่อความอยู่ดีมีสุขของพลเมือง บูรณาภาพแห่งดินแดนและ เขตแดนของประเทศ ระบบการกำกับดูแล ตลอดจนเอกลักษณ์ของชาติและวิถีชีวิต ในแต่ละคลัสเตอร์จะมีการเลือกชุดข้อมูล 6 ชุดเพื่อนำไปประเมินความก้าวหน้าและชนวนเหตุที่น่าจะเป็นไปได้ของความเสี่ยง ที่สำคัญและซุกซ่อนอยู่ในการศึกษาได้ให้ความสำคัญกับการติดตามพัฒนาการ เพราะเมื่อความเสี่ยงขยายความรุนแรงของตัวเองได้อย่างเต็มที่แล้วการบริหารจัดการจะทำได้ยาก ดังนี้ การวิเคราะห์อนาคตระยะยาว จึงมีความสำคัญยิ่ง อีกทั้งข้อค้นพบของการศึกษานี้ยังชี้ถึงความจำเป็นของการสื่อสารระหว่างหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวให้กับสังคมไทยโดยรวม เพราะความสามารถในการฟื้นตัว ถือเป็นยุทธศาสตร์หลักเมื่อต้องเผชิญความเสี่ยงที่ไม่มีความแน่นอน This document is the final report of the Technical Assistance for the Strategic Foresight Study on Security in ASEAN project ('the Project'). The Project provides external and academic support for updating and further framing the ongoing foresight work of the National Security Council (NSC). That work involves informing the agencies of the Kingdom of Thailand about emerging challenges that may affect their areas of responsibility. The study looks at nontraditional security threats. Because these types of threat tend to be more systemic then more traditional agent-based security threats the study includes social, political, economic, technological, environmental, and cultural trends. Trends within these areas are not necessarily security threats but they do present risks which require government management. This analysis defines insecurity has unmanaged risk. A multi staged analytical framework has been utilized in order to provide a systematized distillation of key issues facing Thailand. Beginning with a wide-ranging horizon scanning, the analysis developed five clusters of trends which seemed to present the most important risks for the Kingdom: The 4th Industrial Revolution, The Longevity Society, The Anthropocene, Global and Regional Tumult, and Social Fragmentation. Within each cluster high priority trends are identified and select risks associated with these trends discussed. The output for each of the clusters is an analysis of specific areas of security concern in terms of negative effects on Thailand's citizens' well-being, its border and territory integrity, governance systems, and national identity and way of life. For each cluster a selection of six data points to gauge the progress and potential triggering of underlying risks is presented. The advanced tracking is in important because when risks fully manifest themselves they are more difficult to manage. Thus, foresight is crucial. The findings of this study also point to the need for Inter agency communication within the Thai government in order to increase the overall resilience of Thai society. Resilience is a central strategy in facing uncertain risks. The critical role of the government in mitigating risk brings the political sphere to the forefront in addressing emerging risks. In this regard, trends at the international and ASEAN levels provide important contexts for government action. Recommendations are made concerning how to balance great power rivalry. The main conclusion of this study is the critical importance of ASEAN as a filter between Thailand and dangerous global trends. ASEAN coherence is a bedrock upon which Thai security should be built.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสถานการณ์ด้านความมั่นคงth
dc.subjectภูมิภาคอาเซียนth
dc.titleวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาคอาเซียนth
dc.title.alternativeTechnical Assistance for the Strategic Foresight Study on Security in ASEANth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00421th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleวิเคราะห์สถานการณ์ด้านความมั่นคงระยะยาวในภูมิภาคอาเซียนth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record