สิทธิของประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 51 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... มาตรา 45
by สมคิด เลิศไพฑูรย์
สิทธิของประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐให้ปฏิบัติตามหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 51 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ... มาตรา 45 | |
Rights of People and Communities according to Article 51 of the Constitution of Thailand B.E. 2560 and Article 45 of Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. …. in Taking Legal Proceedings Against State Agencies to Have Them Perform Their Duties | |
สมคิด เลิศไพฑูรย์ | |
2020-03-31 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติหมวดหน้าที่ของรัฐ (หมวด 5) โดยบทบัญญัติมาตรา 51 ได้บัญญัติให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ ในกรณีที่บทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่ของรัฐนั้นเป็นการกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ประกอบกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 45 ได้บัญญัติให้บุคคลหรือชุมชนซึ่งเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยตรงจากการ ทำหน้าที่ของรัฐ และได้รับความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ หรือการปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องครบถ้วนหรือล่าช้าเกินสมควร มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญได้ แต่เนื่องจากหลักดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่ที่ถูกกำหนดไว้เป็นครั้งแรก จึงนำมาซึ่งเหตุผลและความจำเป็นในการศึกษาถึงหลักการของหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญและหลักเกณฑ์การฟ้องร้องให้รัฐดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐเพื่อให้องค์กรที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจของตนได้อย่างถูกต้อง คณะที่ปรึกษาจึงได้ดำเนินการศึกษาศึกษาความเป็นมาและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา 51 ของของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 ความหมายและเจตนารมณ์ของหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญ หลักเกณฑ์การฟ้องคดีต่อศาลรัฐธรรมนูญและกระบวนพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของประเทศต่าง ๆ กล่าวคือ สาธารณรัฐตุรกี ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐอินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี ตลอดจนศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการฟ้องร้องของประชาชนและชุมชนตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว รวมถึงแนวทางในการแก้ไขสภาพปัญหาและผลกระทบดังกล่าวด้วย ผลการศึกษาและข้อเสนอของคณะที่ปรึกษาจะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามมาตรา 51 ของของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มีความเข้าใจถึงหลักการของบทบัญญัติดังกล่าวและมีแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว อันจะเป็นผลให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของตนและปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ The Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560, is the first constitution that includes the Duty of State (Chapter V). According to Section 51, people and community have the rights to take legal proceedings against a state agency if the act is for the direct benefit of the people. This is subjected to rules and procedures set out by laws, together with Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. 2561, which rules that people or community, who would have direct benefit from the act of Duty of State, that are affected by failure to carry out the Duty of State or inappropriate delay in carrying out the Duty of the State, have the right to submit a petition to request the Constitutional Court to examine according to the Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. 2561. Since this principle is new and is legislated for the first time, there is the need to study the principle of the Duty of State according to the Constitution and the rules for taking legal proceedings against the state so that they carry out their duty, so the relevant organization will exercise their authority and duty in the right way. For this reason, the Counseling Committee has studied the background and purpose of Section 51 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 and Section 45 of the Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. 2561, the meaning and purpose of Duty of the State according to the Constitution, the rules for taking legal proceedings to the Constitutional Court and the procedure of the Constitutional Court, by analyzing in comparison with the rules of the other countries, namely, Turkey, Spain, India, and the Republic of Korea. Furthermore, the study shall also cover the issues and effects arising from legal proceedings taken by people and community according to the legislation, including finding the solutions for such issues. The result of this study will help the Constitutional Court and the organizations related to the operation according to Section 51 of the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 and Section 45 of the Organic Act on Procedures of the Constitutional Court B.E. 2561, to understand the principles of the provisions and the solutions to the issues which may arise from execution of these provisions, which will help the Constitutional Court and relevant organizations to efficiently carry out their duty and authorities and protect the rights and freedom of the people. |
|
สิทธิของประชาชนและชุมชน
การฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐ |
|
รายงานวิจัย | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้ | |
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/762 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|