Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมีth
dc.date.accessioned2020-02-20T03:55:29Z
dc.date.available2020-02-20T03:55:29Z
dc.date.issued2563-02-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/728
dc.description.abstractการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันที่เกิดขึ้น ทุกประเทศทั่วโลกเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดแคลนน้ำ และการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาประเทศกับการดูแลกำกับและรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน จึงนำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เรียกว่า “หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency) ของระบบผลิตภัณฑ์หรือบริการ” เพราะฉะนั้น องค์การสุรา กรมสรรพสามิต จึงต้องการศึกษาการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยใช้หลักการการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ เพื่อให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันอย่างสมดุล โดยการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ระบุวิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นการขับเคลื่อนการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม การลดก๊าซเรือนกระจก การใช้ทรัพยากรอย่างคุมค่า การลดการใช้น้ำและส่งเสริมการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ สามารถคำนวณได้จากคุณค่าของระบบผลิตภัณฑ์ (Product System Value) หารด้วยผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impacts) ที่สนใจ ซึ่งการคำนวณตัวชี้วัดประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจขององค์การสุรา กรมสรรพสามิต แบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับองค์กร และระดับผลิตภัณฑ์ สำหรับการประเมินคุณค่าระบบผลิตภัณฑ์ ระดับองค์กร และระบบผลิตภัณฑ์ คิดจาก “ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ทั้งหมด ในปีงบประมาณ 2561” ซึ่งการประเมินทั้ง 2 ระดับจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและผลกระทบทางด้านการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity) ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) จากการศึกษาวิจัย พบว่าค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับองค์กร ขององค์การสุรา กรมสรรพสามิตเมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าเท่ากับ 0.37 ลิตร/kgCO2eq. และเมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการความขาดแคลนน้ำมีค่าเท่ากับ 7.64 ลิตร/m3 และสำหรับค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจระดับผลิตภัณฑ์เมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีค่าอยู่หว่าง 0.23 – 0.38 L/kgCO2eq. โดยผลิตภัณฑ์ที่มีค่า EE สูงที่สุดคือ D70 เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบหลัก (แอลกอฮอล์ตั้งต้นผสม) น้อยกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ และเมื่อพิจารณาผลกระทบทางด้านความขาดแคลนน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 5.83 – 10.46 L/m3 โดยผลิตภัณฑ์ D70 ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีค่า EE สูงที่สุดที่ 10.46 L/m3 ด้วยเหตุผลไปในแนวทางเดียวกับค่า EE ที่พิจารณาผลกระทบทางด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งแนวทางลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรมุ่งเน้นในประเด็นเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัตถุดิบ (กากน้ำตาล) ไอน้ำ และการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่ำ รวมถึงการจัดการน้ำเสีย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์สูง Economic growth and industrial development from the past up until present across the world are ones of the causes of environmental problems, i.e., climate change, water shortage, and natural resource reduction. Therefore, in order to create the balance between national development and environmental conservation at the same time, the sustainable development concept called “the principles of eco-efficiency assessment of products or services” was applied. Liquor Distillery Organization, Excise Department as a state enterprise conducted eco-efficiency assessment in compliance with the sustainable development concept, the 20-Year National Strategy (2017-2036), and the Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). The vision of the 20-Year National Strategy frame is “to become a developed country with security, prosperity, and sustainability in accordance with the Sufficiency Economy Philosophy.” It aims to drive and support SDGs Development Goals); environmental impact reduction, greenhouse gas reduction; worthy use of resources; water use reduction; and promotion of sustainable production as well as consumption. The eco-efficiency assessment could be processed from the Product System Value divided by the interesting Environmental Impacts. The calculation of the eco-efficiency indicator of Liquor Distillery Organization, Excise Department could be divided into 2 levels which are organizational level and product level. For the assessment of Product System Value at the organizational level and the product level, it could be calculated from “total product produced in the fiscal year of 2018”. The two-leveled assessment will consider the environmental impact of greenhouse gas emission and water scarcity in accordance with Life Cycle Assessment. Based on the study, it was found that eco-efficiency at the organizational level of Liquor Distillery Organization, Excise Department, considering the impact of greenhouse gas emission, is 0.37 liters/kgCO2eq., considering from the impact from water scarcity, is 7.64liters/kgCO2eq. In regards to the eco-efficiency at the product level, considering the impact of greenhouse gas emission is during 0.23 – 0.38 liters/kgCO2eq. and the highest EE is D70 due to the product containing raw materials (alcohol precursors) fewer than other products; considering from the impact from water scarcity, the eco-efficiency at the product level is during 5.83 – 10.46 L/m3 whereas D70 product still has the highest EE at 10.46 L/m3. The reason is similar to the aforementioned of the EE considering the impact of greenhouse gas emission. The reduction pathway of environmental impact should focus on the increase of efficiency in using raw materials (molasses), steam, eco-friendly package selection, and wastewater treatment management, due to the fact that they are the factors that highly affect the environmental impact of product.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectนิเวศเศรษฐกิจth
dc.subjectEco-Efficiencyth
dc.titleประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency)th
dc.title.alternativeEco-efficiency assessment project 2020, Liquor Distillery Organization, Excise Department, Ministry of Financeth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderองค์การสุรา กรมสรรพสามิตth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00072th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientองค์การสุรา กรมสรรพสามิต
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Efficiency)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record