Show simple item record

dc.contributor.authorทวิดา กมลเวชชth
dc.date.accessioned2019-12-11T06:13:09Z
dc.date.available2019-12-11T06:13:09Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/678
dc.description.abstractภายหลังการประกาศใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ของรัฐบาลประเทศไทยได้เผชิญกับความท้าทายใหม่ ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ที่มีความซับซ้อนของปัญหาหรือภัยมากขึ้น ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ประเทศไทยเผชิญกับภัยแล้งรุนแรง จากปรากฏการณ์เอลนีโญที่ส่งผลกระทบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 และยังก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่าในหลายจังหวัดในปี พ.ศ. 2559 นอกจากนี้ตั้งแต่ปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ประเทศไทยเผชิญกับอุทกภัยกว่า 50 จังหวัด ด้วยเหตุนี้จะเห็นได้ว่า แนวโน้มสาธารณภัยที่เกิดขึ้นในรอบทศวรรษที่ผ่านมามีแนวโน้มที่จะมีความถี่เพิ่มสูงขึ้นมีระดับความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คน สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะและการพัฒนางานการศึกษานี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการติดตามและประเมินผลสัมฤทธิ์เบื้องต้นของแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา และประเมินผลการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 จากการศึกษาและวิเคราะห์การบรรลุถึงเป้าหมายการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย พบว่ายังไม่มีผลลัพธ์ที่มีนัยยะสำคัญในการประเมินประสิทธิผลของการลดความเสี่ยงสาธารณภัยอย่างเป็นรูปธรรม การศึกษาพบเพียงความตระหนักรู้ในความเสี่ยงสาธารณภัยที่มากขึ้นแต่ความเข้าใจในการลดความเสี่ยงสาธารณภัยยังแตกต่างกันอยู่มากในแต่ละกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการบริหารจัดการความเสี่ยงสาธารณภัย การติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนที่สำคัญ ระดับยุทธศาสตร์และภาพรวม พบว่ามีเพียงการดำเนินงานด้านการจัดการภาวะฉุกเฉิน ในมิติของการรับมือสถานการณ์ และการให้ความช่วยเหลือเท่านั้นที่มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ ส่วนปัจจัยความสำเร็จจะเห็นได้ชัดว่าเป็นเครือข่ายประชาสังคม ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญคือ อำนาจทางกฏหมายและองค์ประกอบต่างๆเชิงสถาบันของการจัดการสาธารณภัยของประเทศ และวัฒนธรรมการทำงานแบบแยกส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ที่ขัดขวางประสิทธิผลของการปฏิบัติงานในแบบบูรณาการ งานการศึกษาได้นำผลการวิเคราะห์นำไปสู่การทบทวน และมีข้อเสนอแนวทางในการปรับปรุง ยกร่างแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติฉบับต่อไป After the execution of the National Disaster Prevention and Mitigation Plan in 2015, Thailand has confronted with emerging threats of disaster risk management such as recurrent forest fire, recurrent but severer flood, stronger wind, and erosion. In addition, Thailand, especially mega city, has confronted with new form of emerging crises such as PM2.5 air pollution and search and rescue in unseen cave, which lead to more complication to handle with the existing institutional arrangement of Thailand’s disaster risk management. This study is to review, assess, and evaluate Thailand’s National Disaster Prevention and Mitigation Plan B.E. 2558 of its progress and key result in disaster risk reduction. The study finds the higher level of disaster risk awareness of both public and all sector, however, the understanding of disaster risk and risk reduction are varied. To the key results of systematic risk reduction is not clearly achieved. The plan does not state clearly in the first place how to measure the result and communicate well to the translation of each public agency’s operational plan. By all means, institutional arrangement and fragmentation norms of public multi-agency coordination cause the ineffectiveness, inefficiency, and create inequality in some respect as addressed in the report. All other findings together with core factors of failure and success of the plan is analyzed and proposed as alteration to the next national plan.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.titleประเมินผลการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558th
dc.title.alternativeThe Evaluation Of 2015 Nation At Disaster Prevention And Mitigation Planth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00749th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินผลการขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record