Now showing items 21-25 of 25

    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ – โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จังหวัดสงขลา 

      วรรัตน์ ปัตรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคใต้ เพื่อให้การใช้พลังงานของโรงเรียนฯเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทางโรงเรียนฯได้รับการสนับสนุนเปลี่ยนอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานผ่านกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ในปีงบประมาณ 2560 โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ทางโรงเรียนฯได้ทำการเปลี่ยนเครื่องปรับอากาศไปเป็นเครื่องปรับอากาศประสิทธิภาพสูง (Inverter) จำนวน 46 เครื่อง และเปลี่ยนหลอดไฟประสิทธิภาพสูง LED จำนวน 2,060 หลอด ส่งผลให้โรงเรียนฯ ...
    • type-icon

      ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของแข็งจากขี้เส้นยางพาราเพื่อทดแทนการใช้ถ่านหิน:งานวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์วัสดุเหลือทิ้งจากยางธรรมชาติเพื่อกระบวนการผลิตเหล็กกล้าแบบยั่งยืน 

      สมยศ คงคารัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่ของประชากรมาจากภาคการเกษตร เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน อ้อย และยางพารา ขยะจากภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกับปริมาณการผลิตพืชผลทางการเกษตรที่สูงขึ้นซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเหมาะสม ยางพาราเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจหลักของไทย ซึ่งเก็บเกี่ยวโดยกระบวนการกรีดน้ำยาง ซึ่งจะได้น้ำยางที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมเหนียว โดยในการกรีดยางแต่ละครั้งจะได้เปลือกยางที่มีลักษณะเป็นเส้นและมีส่วนของเนื้อยางพาราติดอยู่ โดยชาวสวนยางเรียกว่า ขี้เส้น (Rubber tree bark, ...
    • type-icon

      กำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยเมื่อพิจารณาผลกระทบด้านความถี่ 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) กำหนดเป้าหมายการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าทุกประเภท แต่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีความไม่แน่นอนของกำลังผลิตซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลังโดยเฉพาะเสถียรภาพด้านความถี่ นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงพื้นที่ที่ไม่สามารถคาดการณ์ตำแหน่งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองด้านความถี่เพิ่มขึ้น ในการศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างก ...
    • type-icon

      ปรับปรุงสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กสเตนเลสโดยการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนและสารผสมแกรฟีนสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแผ่นขั้วไฟฟ้าในเซลล์เชื้อเพลิง แบตเตอรี่และตัวเก็บประจุยิ่งยวด 

      อรรฆวัชร รวมไมตรี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      โครงการวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงสมบัติความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าของเหล็กสเตนเลสโดยการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนและสารผสมแกรฟีนสำหรับประยุกต์ใช้เป็นแผ่นขั้วไฟฟ้า โดยการเคลือบแกรฟีนและโลหะไทเทเนียมจะใช้วิธีการเคลือบผิวด้วยไอเคมีและวิธีสปัตเตอริ่ง ตามลำดับ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนคุณภาพสูงสามารถช่วยปรับปรุงความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าของเหล็กสเตนเลสได้อย่างมาก โดยพบว่าเหล็กสเตนเลสที่ผ่านการเคลือบผิวด้วยแกรฟีนจะมีความต้านทานการกัดกร่อนและการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงสุด 94.92% และ 12.36% ตามลำดับ ยิ่งไปกว่านั้นการเคลือบแกรฟีน ยัง ...
    • type-icon

      ส่งเสริมการดำเนินมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้วยกลไกการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายในโรงงานควบคุม (พื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก) 

      นพพร ลีปรีชานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-04)

      1. ที่มาและความสำคัญ ตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและ พ.ศ.2552 ได้กำหนดให้โรงงานควบคุมและต้องดำเนินการจัดการพลังงานทุกรอบปี และจัดส่งผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคม ทั้งนี้รายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและต้องได้รับการตรวจสอบโดยพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบกับ พพ. 2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1) เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้โรงง ...