ศึกษา Apparent Losses เนื่องจาก Meter Inaccuracy
by ธีร เจียศิริพงษ์กุล
ศึกษา Apparent Losses เนื่องจาก Meter Inaccuracy | |
Study of Apparent Losses due to Meter Inaccuracy | |
ธีร เจียศิริพงษ์กุล | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ในกิจการของการประปา เราไม่สามารถกล่าวได้ว่ามาตรวัดน้ำทุกเครื่องสามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้องเช่นเดียวกับเครื่องมือวัดอื่นๆ เมื่อทำการติดตั้งแล้ว มาตรวัดน้ำมักไม่สามารถอ่านค่าปริมาณการใช้น้ำของผู้ใช้น้ำได้อย่างถูกต้อง บ่อยครั้งที่ปริมาณน้ำเหล้านี้ไม่ถูกเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำ กรณีเช่นนี้เรียกว่ามาตรวัดน้ำอ่านค่าได้น้อยกว่าความเป็นจริง ความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดน้ำถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของน้ำสูญเสียจากการบริหารจัดการ ความไม่เที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ขนาดของมาตรวัดน้ำ ชนิดของมาตรวัดน้ำ การติดตั้งมาตรวัดน้ำที่ไม่เหมาะสม อายุการใช้งาน แรงดันน้ำ เป็นต้น ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การหาปริมาณน้ำสูญเสียจากความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดน้ำของผู้ใช้ในพื้นที่ให้บริการของการประปานครหลวง โดยทำการติดตั้งมาตรวัดน้ำสอบเทียบอนุกรมเข้ากับมาตรวัดน้ำเดิม แล้วทำการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำที่ไหลผ่านมาตรและแรงดันน้ำทุกๆ 1 นาที เป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน สำหรับมาตรวัดน้ำขนาดเล็ก (½ นิ้ว ถึง 1½ นิ้ว) และอย่างน้อย 3 วัน สำหรับมาตรวัดน้ำขนาดใหญ่ (2 นิ้ว ถึง 12 นิ้ว) ซึ่งมาตรวัดน้ำสอบเทียบที่เลือกใช้ในงานวิจัยนี้เป็นแบบอัลตร้าโซนิค ที่มีความแม่นยำระดับ R500 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้คำนวณโดยใช้สูตรของ Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (จำนวนมาตรวัดน้ำทั้งหมด 2,465,349 เครื่อง จากข้อมูลของการประปานครหลวงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561) จากการสุ่มเก็บข้อมูลจำนวน 4.3 ตัว (เป็นมาตรวัดน้ำขนาดเล็กจำนวน 197 ตัว และเป็นมาตรวัดน้ำขนาดใหญ่จำนวน 206 ตัว) ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของมาตรวัดน้ำขนาดเล็กเท่ากับ -2.76% และของมาตรวัดน้ำขนาดใหญ่เท่ากับ -7.55% ดังนั้นค่าเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์ของมาตรวัดน้ำทั้งหมดจึงมีค่าเท่ากับ -4.35% โดยความไม่เที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำนี้ก่อให้เกิดการสูญเสียน้ำที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมด 65,772,489 ลบ.ม./ปี เทียบเท่ากับรายได้สูญเสียประมาณ 797,162,563 บาท/ปี (คิดในอัตรา 12.12 บาท/หน่วย) เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความไม่เที่ยงตรงของมาตรวัดน้ำที่สำรวจมีขนาดใหญ่เกินความจำเป็น (oversized) 72.2% มีขนาดเหมาะสม (properly sized) 26.6% ละมีขนาดเล็กเกินไป (undersized) 1.2% โดยมาตรวัดน้ำที่มีขนาดใหญ่เกินจำเป็นมีความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์มากกว่ามาตรวัดน้ำที่มีขนาดเหมาะสม มาตรวัดน้ำระดับ class B ก็มีความคลาดเคลื่อนสัมพัทธ์เฉลี่ยมากกว่ามาตรวัดน้ำระดับ class C อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับระยะท่อตรงก่อนมาตรและหลังมาตรมีผลต่อความคลาดเคลื่อนในการวัดอย่างชัดเจน โดยระยะท่อตรงก่อนมาตรช่วยลดผลของการผิดเพี้ยนของการกระจายตัวของความเร็ว ส่วนระยะท่อตรงหลังมาตรช่วยลดการหมุนวนหรือความปั่นป่วนในบริเวณใบพัดของมาตรวัดน้ำเนื่องจากแรงดันย้อนกลับที่ปลายน้ำ สำหรับอายุมาตรและแรงดันน้ำในการศึกษานี้ ไม่ปรากฏความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเที่ยงตรงในการวัดของมาตรวัดน้ำ |
|
มาตรวัดน้ำ
Apparent Losses Meter Inaccuracy |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
การประปานครหลวง | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/595 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|