Show simple item record

dc.contributor.authorวาสินี วรรณศิริ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-01-29T04:18:10Z
dc.date.available2019-01-29T04:18:10Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/529
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบการติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของจังหวัดที่เข้าร่วมในโครงการพัฒนาแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจข้อมูลระยะไกล และจัดทำชุดข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งหมด 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี น่าน ภูเก็ต สงขลา สมุทรปราการ สระบุรี และอุดรธานี โดยประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนสะสมของชีวมวลจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ประเภทหลัก ได้แก่ ป่าไม้ เกษตรกรรม พื้นที่ทุ่งหญ้า พื้นที่น้ำ พื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง และพื้นที่อื่นๆ และจำแนกพื้นที่เกษตรกรรม ออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ นาข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรรมอื่นๆ ซึ่งการติดตามการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ใช้วิธีการแปลตีความภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat จำนวน 4 ช่วงเวลา และประเมินปริมาณการปล่อยและกักเก็บก๊าซเรือนกระจกโดยใช้วิธีตามมาตรฐานการคำนวณตามคู่มือ Global Protocol for Community-Scale Greenhouse Gas Emission Inventories (GPC) และ 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventory (2006 IPCC) ซึ่งสรุปผลการศึกษาแยกเป็นรายจังหวัด ดังนี้ จังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่าไม้ ในอดีตมีอัตราการรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรค่อนข้างสูง พื้นที่เชิงเขารวมถึงพื้นที่บนภูเขาส่วนใหญ่จะปลูกยางพารา และข้าวโพด อย่างไรก็ตามด้วยนโยบายการรักษาป่าของจังหวัดในปัจจุบัน ทำให้พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นจาก 4.77 ล้านไร่ ในปี 2557 เป็น 4.86 ล้านไร่ ในปี 2560 ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของจังหวัดลดน้อยลง โดยมีปริมาณ 1,792,385 1,978,363 และ 1,593,093 tCO2 ในปี 2558 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดสมุทรปราการ การใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้าง มีการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรและอาคารพาณิชย์ตามแนวรถไฟฟ้าและรอบสนามบินสุวรรณภูมิเป็นจำนวนมาก พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณแนวชายฝั่งมีแนวโน้มลดลง โดยพบว่าส่วนใหญ่มีการถมดินเตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมและที่อยู่อาศัยอย่างไรก็ตาม สมุทรปราการยังมีพื้นที่สีเขียวและป่าชายเลนที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ ซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ระดับหนึ่ง ทำให้จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับ 41,801 57,786 และ 66,898 tCO2 ในปี 2558 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดสระบุรี จากการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม ในช่วงปี 2557 ถึงปี 2560 พบว่ามีพื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงมาจากพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ว่างเปล่า ส่งผลให้จังหวัดสระบุรีมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1,493,025 2,399,388 และ 2,971,070 tCO2 ในปี 2558 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น นาข้าว และพืชไร่ พื้นที่ป่าไม้มีไม่มากนัก บริเวณขอบป่าพบว่ามีการปรับเปลี่ยนไปปลูกยางพาราและพืชอื่นๆ ค่อนข้างมาก ภาพรวมของจังหวัดมีค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ 3,891,560 4,404,972 และ 5,057,676 tCO2 ในปี 2558 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ กรุงเทพมหานครร้อยละ 80 เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้าง มีพื้นที่สีเขียว เช่น สวนสาธารณะ และพื้นที่เกษตรกรรมเล็กน้อย โดยในช่วงปี 2555 ถึงปี 2560 พบว่ามีพื้นที่อยู่อาศัยและสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เปลี่ยนมาจากพื้นที่ยังไม่ได้มีการทำประโยชน์ เช่น พื้นที่ว่างเปล่า พื้นที่ทิ้งร้าง จากการประเมินก๊าซเรือนกระจกการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนสะสมของชีวมวลจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรุงเทพมหานคร พบว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ 140,128 261,282 และ 97,577 tCO2 ในปี 2556 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดนนทบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่เมืองและสิ่งปลูกสร้างค่อนข้างสูง โดยมีรูปแบบการขยายไปตามเส้นทางรถไฟฟ้าและถนนสายหลัก พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นาข้าว และสวนผลไม้เล็กน้อย ส่งผลให้มีการสะสมตัวของชีวมวลค่อนข้างน้อย ด้วยสถานการณ์การขยายตัวของเมืองเข้ามาทดแทนพื้นที่เกษตรอย่างรวดเร็วจึงทำให้จังหวัดนนทบุรีซึ่งไม่ได้มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากนัก แต่ก็มีแนวโน้มปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ค่อนข้างสูง โดยปล่อยปริมาณ 23,754 94,697 และ 142,069 tCO2 ในปี 2557 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดภูเก็ต มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะมีพื้นที่ราบที่เป็นสามารถตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตรได้ค่อนข้างจำกัด แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าในช่วงปี 2555 – 2560 การขยายตัวของสิ่งปลูกสร้างเพื่อรองรับการท่องเที่ยวก็ยังมีเพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยลง ด้วยลักษณะทางกายภาพของจังหวัดภูเก็ตเป็นเกาะและปกคลุมไปด้วยป่าไม้ จึงทำให้ภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกปริมาณ -31,788 -67,829 และ -91,766 tCO2 ในปี 2557 ปี 2559 และปี 2560 ตามลำดับ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่เกษตรกรรมเป็นยางพาราค่อนข้างมาก ประกอบกับมีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ จึงทำให้จังหวัดสงขลามีการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกสูงถึง -4,030,572 -3,679,593 และ -3,269,215 tCO2 ในปี 2558 2559 และ 2560 ตามลำดับ The objectives of this research were to study and develop a system for tracking land use and land use change by using remote sensing technology. Including to estimate the greenhouse gas emissions from land use change and land use change in all eight provinces, with composed of Bangkok, Nonthaburi, Nan, Phuket, Songkhla, Samut Prakarn, Saraburi and Udon Thani, were assessed. The main types of land use are Forest, Agriculture, Grassland, Wetland, Settlement and Other land. There are 4 subgroups of rice, rubber, oil palm in agriculture land. The monitoring of 4 years Land use and Land use change assessed by LANDSAT 8 satellite imagery interpretation. The inventory of greenhouse gas emissions and reduction using the Global Protocol for Community-Scale Greenhouse Gas Emission Inventories (GPC) and 2006 IPCC Guidelines for National Greenhouse Gas Inventory (2006 IPCC) methodology. The results of the study are summarized as follows: Nan Province is characterized by high mountainous terrain. The area is mostly forested resulting in a decrease in greenhouse gas emissions of 1,792,385, 1,978,363 and 1,593,093 tCO2 in 2015, 2016 and 2017 respectively. Samut Prakan has greenhouse gas emissions increase with 41,801, 57,786 and 66,898 tCO2 emissions in 2015, 2016 and 2017, respectively. Saraburi, has continuously increased in residential and building. Most of the changes come from forest areas. As a result, Saraburi has greenhouse gas emissions of 1,493,025, 2,399,388 and 2,971,070 tCO2 in 2015, 2016 and 2017, respectively. Udon Thani is a province with a large area. Most of them are agricultural areas. The province's overall net greenhouse gas emissions are 3,891,560 4,404,972 and 5,057,676 tCO2 in 2015, 2016 and 2017, respectively. The 80% of Bangkok land is a residential area and buildings. There are green areas, such as parks and small agricultural areas. The net greenhouse gas emissions are 140,128, 261,282 and 97,577 tCO2 in 2013, 2016 and 2017, respectively. Nonthaburi has a relatively high urban and building expansion due to the extension of the BTS and main roads. Most of the area is rice fields and orchards. There is a high probability of greenhouse gas emissions by releasing 23,754, 94,697 and 142,069 tCO2 in 2014, 2016 and 2017 respectively. The nature of Phuket is island and covered with forest. As a result, Phuket is the province where greenhouse gas reductions are kept at 31,788, 67,829 and 91,766 tCO2 in 2014, 2016 and 2017, respectively. Songkhla has a large of rubber plantation area and rich of forest. Songkhla Province has high greenhouse gas reduction of 4,030,572, 3,679,593 and 3,269,215 tCO2 in 2015, 2016 and 2017, respectively.th
dc.description.sponsorshipองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectพัฒนาระบบติดตามและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกth
dc.subjectเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลth
dc.titleการศึกษาและพัฒนาระบบติดตามและประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing)
dc.title.alternativeThe Use of Remote Sensing for Enhancing the Provincial Greenhouse Gases from Land Use Change
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
cerif.cfProj-cfProjId2561A00013
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)
turac.contributor.clientองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record