Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-01-25T08:46:29Z
dc.date.available2019-01-25T08:46:29Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/527
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นออกแบบและจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดเป้าหมายที่ 16 เฉพาะตัวชี้วัดที่ ตัวชี้วัดที่ 16.1.3 สัดส่วนของประชากรที่ได้รับความรุนแรงทางร่างกาย จิตใจหรือทางเพศ ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ตัวชี้วัดที่ 16.1.4 สัดส่วนประชากรที่รู้สึกปลอดภัยเมื่อเดินบริเวณพื้นที่ที่อาศัยเพียงลำพัง และตัวชี้วัดที่ 16.3.1 สัดส่วนของเหยื่อความรุนแรงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งได้รายงานการกระทำอันรุนแรงนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงาน/เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในการแก้ปัญหาเหล่านี้ จากการศึกษาถึงแนวทางการเก็บข้อมูลในต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย จีน มาเลเซีย สหภาพยุโรป และกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาใต้ มีพบว่าประเทศ การจัดเก็บข้อมูลส่วนใหญ่เป็นการเก็บโดยใช้แบบสำรวจ เนื่องจากปัญหาสำคัญสามประการ ประการแรก คือ การประสบปัญหาข้อมูลซ้ำซ้อนกันของหน่วยงานต่างๆ จนไม่สามารถจะแยกได้ว่า จะนำข้อมูลเหล่านี้มารวบรวมกันอย่างไร โดยไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ประการที่สอง ข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมีวิธีการจัดเก็บที่ต่างกัน และมักจะล่าช้ากว่าเหตุการณ์จริง จึงไม่สามารถสะท้อนภาพที่เป็นปัจจุบันได้ ประการสุดท้าย การใช้สถิติทางการไม่สามารถสะท้อนภาพสถานการณ์จริงได้ เพราะไม่ผู้ประสบเหตุบางส่วนที่จะเข้ามาแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานเองก็มักจะรอให้มีผู้เข้ามาแจ้ง (Passive Data Collection) ข้อมูลทางการจึงเป็นค่าที่มักจะต่ำกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้แล้ว เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทย ยังไม่มีค่าเป้าหมายกลายของตัวชี้วัดทั้ง 3 ตัว การประเมินว่าการดำเนินการของประเทศไทยได้บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่ จึงต้องมีการกำหนดค่าเป้าหมายที่เหมาะสมขึ้นมา จากการประมาณค่าด้วยตัวแบบทางสถิติ เพื่อพยากรณ์ค่าเป้าหมายที่ควรจะเป็นเทียบกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยพบว่า สำหรับตัวชี้วัดที่ 16.1.3 ข้อมูลที่แสดงในตารางที่ 1 เป็นผลจากการศึกษา ส่วนค่าที่ได้จากผลการสำรวจในการศึกษาครั้งนี้เท่ากับ 0.314 จึงถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว ตัวชี้วัดที่ 16.1.4 มีค่าเป้าหมายเท่ากับร้อยละ 57.57 ค่าที่ได้จากผลการสำรวจในการศึกษาครั้งนี้เท่ากับ 81.99 จึงถือว่าบรรลุเป้าหมายแล้ว ส่วนตัวชี้วัดที่ 16.3.1 นั้น มีค่าเป้าหมายเท่ากับร้อยละ 64.54 แต่ค่าที่ได้จากโครงการสำรวจข้อมูลสถิติอาชญากรรมภาคประชาชนของสำนักงานกิจการยุติธรรมในปี 2559 มีค่าเท่ากับ 38.63 จึงถือว่ายังไม่บรรลุตามเป้าหมายth
dc.description.abstractThe aim of this study is to design and collect data related to the achievement of Sustainable Development Goal 16, especially indicator 16.1.3 Proportion of population subjected to physical, psychological or sexual violence in the previous 12 months; indicator 16.1.4 Proportion of population that feel safe walking alone around the area they live; and indicator 16.3.1 Proportion of victims of violence in the previous 12 months who reported their victimization to competent authorities or other officially recognized conflict resolution mechanisms. Based in international review of literature on the topic from Germany, Canada, Japan, South Korea, Australia, Singapore, China, Malaysia, EU and countries in South Africa, it was found that data used to assess the progress of these indicators are collected via field survey. This is because of the nature of the issue. Only those who are willing to report the incidence would go to public offices to do so. A great many of them did not make a report. Thus data from official sources tend to underestimate the true nature of the issue. In addition, different offices use different coding for the same data and data tend to be overlapped. Another critical issue for Thailand is that, the country does not have a clear target value for these three indicators. Thus ,the research team had to develop statistical models to calculated appropriate values of indicators, taking into account international differences in developmental status. Based on these models, it was found that Thailand has already achieved indicator 16.1.3 and 16.1.4; indicator 16.3.1, however, was far below the target.th
dc.description.sponsorshipสถาบันพระปกเกล้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดด้านสันติภาพth
dc.subjectวัดระดับสันติภาพในสังคมไทยth
dc.titleพัฒนาหลักเกณฑ์ตัวชี้วัดด้านสันติภาพ จัดเก็บข้อมูลด้านสันติภาพและวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย
dc.title.alternativePeace Index
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพระปกเกล้า
cerif.cfProj-cfProjId2561A00404
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขามาตรฐานคุณภาพ (Quality Standard sector : QS)
turac.contributor.clientสถาบันพระปกเกล้า
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record