Show simple item record

dc.contributor.authorชัยวัฒน์ อุตตมากร
dc.contributor.authorวีริศ อัมระปาล
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-11-06T04:40:16Z
dc.date.available2018-11-06T04:40:16Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/469
dc.description.abstractโครงการจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน มีวัตถุประสงค์ดังนี้ • เพื่อยกระดับคุณภาพงานวางแผน ติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้ฯ ของกรมทางหลวงชนบท • เพื่อประเมินผลลัพธ์ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานโครงการเงินกู้ฯ • เพื่อพัฒนาระบบงานในการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศในการสำรวจ จัดเก็บ วิเคราะห์ แสดงผล และจัดทำรายงานข้อมูลเชิงพื้นที่และเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมทางหลวงชนบท ให้มีความทันสมัยและสามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์พกพา • เพื่อพัฒนาระบบงานในการติดตามความก้าวหน้าให้สามารถรองรับโครงการในงบประมาณประจำปี แนวทางการพัฒนาระบบงานในการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ ดำเนินงานโดยสรุป แนวทางการดำเนินงานจาก ECM 1.0 ประกอบด้วย การบริหารโครงการ (Delivery Essential), การพัฒนาระบบพื้นฐานโครงสร้าง (Infrastructure for Development) และการพัฒนาระบบงาน ซึ่งจะต้องทำงานควบคู่กันไปทั้งสามแนวทาง ซึ่งทั้งหมดจะประกอบด้วย 6 ระยะ คือ • ระยะการวางแผน (Plan Stage) เป็นระยะที่ต้องทำความเข้าใจความต้องการเบื้องต้น, การวางแผนการดำเนินงานทั้งหมด, การจัดสรรบุคลากร, การเตรียมแผนสำหรับบริหารความเสี่ยง, การเตรียมแผนสำหรับการบริหารความเปลี่ยนแปลง • ระยะการวิเคราะห์ (Analyze Stage) เป็นระยะที่ต้องทำการวิเคราะห์ระบบงานเดิม และระบบงานใหม่ เข้าใจความต้องการอย่างละเอียด พิจารณาถึงผลกระทบต่างๆ, จัดทำเอกสารขอบเขตการทำงาน และจัดทำเอกสารกระบวนการทำงานต่าง ๆ • ระยะการออกแบบ (Design Stage) เป็นระยะที่ต้องทำการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ, การออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูล, การออกแบบส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (UI), การออกแบบสภาพแวดล้อมของระบบที่ใช้พัฒนา และสภาพแวดล้อมของระบบจริง, การพัฒนาแผนการทดสอบ • ระยะการพัฒนา (Build Stage) เป็นระยะของการพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับเอกสารการออกแบบ รวมถึงการทดสอบระบบเบื้องต้น (Unit Test) • ระยะการทดสอบ (Test Stage) เป็นระยะของการทดสอบ ซึ่งมีการพัฒนาเอกสารการทดสอบ (Test script), การทดสอบ, การแก้ไขปัญหา และการแก้ปัญหา ทั้งนี้อาจรวมถึงการทดสอบเพื่อการยอมรับจากลูกค้า (UAT) ด้วย • ระยะการติดตั้ง และนำไปใช้ (Deploy Stage) เป็นระยะของการถ่ายทอดความรู้และการติดตั้งเพื่อไปใช้งานจริง เนื่องจากโครงการนี้เป็นการประยุกต์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (CBMS) และพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งานของ กรมทางหลวงชนบท ดังนั้น ทางที่ปรึกษาจึงแนะนำการใช้วิธีการดำเนินงานโครงการของ ECM (Ecartstudio Connected Method) ระยะการทำงานก็ได้ปรับให้สอดคล้องกับระยะการส่งมอบงานของทางกรมทางหลวงชนบท ที่ปรึกษาได้เพิ่มกิจกรรมงาน ชุดงาน และงาน เพื่อเสริมแนวทางของวิธีการ CBMS อาทิเช่น การกำหนดขอบเขตงานของโครงการในรายละเอียด กลยุทธ์สำคัญของโครงการ การจัดการในส่วนของส่วนที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติมจากความสามารถมาตรฐานของ CBMS แนวทางการดำเนินโครงการที่ตระหนักถึงประโยชน์ของโครงการฯ การบริหารความปลอดภัยและการควบคุม ด้วยวิธีการ ECM (Ecartstudio Connected Method) เป็นวิธีการหลักการสำรวจความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน ได้จัดทำเกณฑ์ประเมินผลโดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยมีการสุ่มเลือกโครงการตามทฤษฎีของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 90% จะได้ 97.29 โครงการ แสดงว่า จะต้องดำเนินการสำรวจความพึงพอใจ ไม่น้อยกว่า 97 โครงการจากทั้งหมด 1,761 โครงการ โดยคัดเลือกจังหวัดละ 2 โครงการ รวม 73 จังหวัด (ยกเว้น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) รวมทั้งสิ้น 146 โครงการ จำแนกเป็นมีกิจกรรมยกระดับทางหลวงชนบทจังหวัดละ 1 โครงการ (รวม 73 โครงการ) และมีกิจกรรมบำรุงรักษาทางหรืออำนวยความปลอดภัยจังหวัดละ 1 โครงการ (รวม 73 โครงการ) โดยใช้วิธีสุ่มเก็บตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โครงการละไม่น้อยกว่า 30 ตัวอย่าง และมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการดังนี้ 1) เป็นโครงการที่ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและมีการตรวจรับงานเป็นที่เรียบร้อย และ 2) เป็นโครงการที่ผ่านพื้นที่ที่มีประชาชนอาศัยอยู่สองข้างทางเป็นจำนวนมากหรืออยู่ในเขตชุมชนหนาแน่น เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจคือ “แบบสำรวจประเมินผลความเชื่อมั่นและความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินงานโครงการเงินกู้” โดยนำแนวคิด “5S” (ห้าเอส) ซึ่งเป็นกรอบการประเมินผลการให้บริการแก่ประชาชนที่ใช้ถนนของกรมทางหลวงชนบทมาเป็นแนวทางในการตั้งคำถามในแบบประเมิน ประกอบด้วย 1) ด้านความสะดวกสบาย (Service) 2) ด้านถนนสวยงาม (Scenic) 3) ด้านความชัดเจนและเพียงพอของป้ายจราจร (Sure) 4) ด้านความปลอดภัย (Safe) และ 5) ด้านสังคม (Social) ผลการสำรวจในภาพรวมและแยกเป็น 3 ประเภทโครงการ (ยกระดับ บำรุงทาง และอำนวยความปลอดภัย) ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ไม่ใช่มากที่สุด เนื่องจากมีบางโครงการที่ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจน้อย สาเหตุอาจจะเนื่องมาจากจำนวนสายทางที่มีการดำเนินงานมีจำนวนมาก ทำให้กรมทางหลวงชนบทได้ว่าจ้างผู้รับเหมาเป็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้นการควบคุมและการตรวจสอบคุณภาพงาน อาจไม่สมบูรณ์ ครบถ้วน และเกิดข้อผิดพลาดได้ ส่วนความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในด้านการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เพียงพอ ที่ได้คะแนนน้อยที่สุดนั้น นอกจากสาเหตุที่ได้กล่าวมาข้างต้นว่า กรมทางหลวงชนบทมีงบประมาณที่จำกัด ทำให้ไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยให้เพียงพอตามความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ รวมทั้งงบประมาณที่จำกัดในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของสายทางและสะพาน และอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ แล้ว อาจจะมีสาเหตุอื่นด้วย ได้แก่ • การดำเนินงานของกรมทางหลวงชนบท อาจจะยังไม่ตอบสนองถึงความคาดหวังที่มากของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านความปลอดภัย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและส่งผลต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยตรง รวมทั้งยังเป็นประเด็นที่รัฐบาลรณรงค์และมีนโยบายที่ชัดเจนในการลดอุบัติเหตุและความสูญเสียบนท้องถนน • ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจจะยังไม่คิดว่าถนนมีความปลอดภัยที่เพียงพอจากการรับรู้จากประสบการณ์ของตนเอง และจากข่าวสารที่ได้รับว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลก โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ (องค์การอนามัยโลก 2558) • เรื่องการอำนวยความปลอดภัยบนท้องถนนนั้น ต้องได้รับความร่วมมือและมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ในบางเรื่องก็อยู่นอกเหนือหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท เช่น ราวกั้นทางรถไฟ กรมทางหลวงชนบทมีหน้าที่ในการติดตั้งราวกั้นให้เรียบร้อย แต่การเปิดใช้และควบคุมการใช้งานนั้นเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งกระบวนการประสานงานในการส่งมอบราวกั้นทางรถไฟให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยนั้น บางครั้งใช้เวลาค่อนข้างนาน • กรมทางหลวงชนบท อาจจะยังขาดข้อมูลเรื่องความคาดหวังของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นปัจจุบันว่า คาดหวังหรือมีความต้องการในเรื่องของถนนอะไรบ้าง โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย ทำให้ไม่สามารถสร้างและ/ หรือบำรุงรักษาถนนได้ตามความคาดหวัง/ ความต้องการของประชาชน ข้อเสนอแนะ/ ข้อที่ควรปรับปรุงถึงแม้ว่าผู้ถูกสำรวจส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการถนนดีทั่วไทยอยู่ในระดับมาก กรมทางหลวงชนบทก็ควรที่จะมีการปรับปรุงในบางด้านเพื่อให้การดำเนินงานโครงการต่าง ๆ สร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจให้แก่ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากยิ่งขึ้น ดังนี้ • กรมทางหลวงชนบท ควรมีการศึกษาความคาดหวัง/ ความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้รถใช้ถนนอย่างเป็นรูปธรรมและทันสมัย เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาวางแผนการดำเนินงานในการก่อสร้าง บำรุงทาง และอำนวยความปลอดภัยให้ดียิ่งขึ้น • กรมทางหลวงชนบทควรมีการวางแผนการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในอนาคตอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเปิดใช้ถนนและอำนวยความปลอดภัยต่าง ๆ • กรมทางหลวงชนบทควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการก่อสร้างทาง/ สะพานและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้นและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมทั้งมีการศึกษาถึงผลกระทบจากการใช้วัสดุ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์นั้นอย่างรอบด้านก่อนนำมาใช้จริง • กรมทางหลวงชนบทควรมีการติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เพียงพอและตรงกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะบริเวณจุดเสี่ยงและการปรับปรุงทางเพื่อความปลอดภัย เช่น ไฟส่องสว่างตลอดสายทาง ป้ายเตือนจุดอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งถนนมีเครื่องหมายจราจรบนผิวทางที่ชัดเจน • กรมทางหลวงชนบทควรมีการปรับปรุงความสวยงามในทัศนียภาพสองข้างทาง เช่น การตัดหญ้าที่รก การปลูกต้นไม้เพื่อให้เกิดความสวยงามตลอดสายทาง เป็นต้น • ในอนาคตกรมทางหลวงชนบทควรมีการคัดเลือกสายทางที่จะดำเนินการก่อสร้างที่สามารถช่วยเหลือประชาชนในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมากขึ้น เช่น ทางลัด ทางเลี่ยงต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อย่นระยะเวลาและระยะทางในการเดินทาง จากการดำเนินงานโครงการฯ สายทางทั้งหมด มีการตัดผ่าน/ หรือเข้าถึงแหล่งที่พักอาศัยจำนวน 425,430 ครัวเรือน สถานศึกษาจำนวน 1,617 แห่ง สถานพยาบาลจำนวน 658 แห่ง ชุมชนจำนวน 2,804 ชุมชน แหล่งเพาะปลูก จำนวน 14,807 แหล่ง เช่น ข้าว ยางพารา ไร่อ้อย ข้าวโพด สตรอเบอรี่ ทุเรียน ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น แหล่งอุตสาหกรรมจำนวน 180 แห่ง เช่น โรงงานแป้งมัน โรงสีข้าว ฟาร์มโคนม นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น เขตการค้าชายแดนจำนวน 360 เขต เช่น เขตการค้าชายแดนด่านโกลก เขตการค้าชายแดนด่านสุไหงโกลก เขตการค้าชายแดนตลาดมูโน๊ะ เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวจำนวน 409 แหล่ง เกิดการจ้างงานอย่างเป็นรูปธรรมจำนวน 5,763 คน แบ่งเป็นนายช่าง 837 คน พนักงานธุรการ 476 คน และคนงาน 4,450 คน และเข้าถึงแหล่งการค้า/ ตลาด จำนวน 565 แหล่ง เช่น ตลาดโกลก ตลาดปาเสมัส ตลาดชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น ในภาพรวมการดำเนินงานของโครงการฯ สายทางทั้งหมด ช่วยส่งเสริมการจ้างงาน การกระจายรายได้ เกิดแหล่งชุมชนใหม่ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการกระจายความเจริญจากในเมืองไปสู่ระดับท้องถิ่น การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการศึกษาและ การแพทย์ได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น และเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศด้วย The Development of Tracking and Evaluation System for Water Resources Management and Road Transportation Loan Project has the objectives as follows: • To improve the quality of planning, tracking, and evaluating the Water Resources Management and Road Transportation Loan Project of DRR • To evaluate the results of satisfaction survey of the people and other stakeholders towards the Water Resources Management and Road Transportation Loan Project • To develop the progress tracking system of the Water Resources Management and Road Transportation Loan Project by using geographic information system to survey, collect, analyze, display, and report the location-based data. It improves the efficiency of DRR’s IT system and be able to use with the mobile devices. • To develop the progress tracking system that supports annual budget projects. To develop the progress tracking system of the Water Resources Management and Road Transportation Loan Project, operational guidelines summarize the guidelines from the ECM 1.0 contains project management (Essential) Delivery, the development of the basic system structure (Infrastructure for Development) and the development of systems that must run parallel to these three guidelines, all of which are composed of six phases. • Long-term planning (Plan Stage), a stage that requires understanding the basics, The planning of all operations, recruitment, preparation, risk management plan, a plan for change management. • The analysis phase (Analyze Stage) is a term that requires analyses systems, new systems and existing jobs. A detailed understanding of the needs, Consider the various effects, documenting the scope of the work and documentation processes. • Stage design (Design Stage) is a term that needs to be done to the system architecture design, Designing a database structure, design, user interface (UI), the design of systems that use environment, development and the environment of a real system, Test plan development • Long-term development (Build Stage), a stage in the development of the system in accordance with the document design including initial system tests (Unit Test). • The term test (Test Stage), a stage of testing, which has developed a document to test (Test script), testing, Troubleshooting and resolving the problem both tests for acceptance from the customer (UAT) by. • The term installation and use (Deploy Stage), a stage of knowledge transfer and Setup to go to actual use. Because this project is finished, the application of computer programs (CBMS) and to comply with the needs of the Department of rural roads. So then, we recommend the use of ECM project (Connected Ecartstudio Method), the term is consistent with the delivery time to Department of rural roads. The consultants increased its activities to strengthen the work and approach of how CBMS such as the scope of work of the project in detail, Strategic of the project. On the part of management to develop additional capabilities to the standard of the CBMS project approach that recognizes the benefits of practiced. The security management and control with the method of ECM (Connected Ecartstudio Method) is a method of primary. In order to survey the confidence and satisfaction of all stakeholders of this project, the consultants used the quantitative research by using the survey research method. Sampling process used the theory of Taro Yamane at 95% confidence level. It meant 146 projects were selected from 73 provinces. Each project had 3 main types as Road Improvement, Road Maintenance, and Road Safety Management. Simple random sampling was used and at least 30 respondents were surveyed for each project’s type. 5S concept was used to develop the questions in the questionnaire as Service, Scenic, Sure, Safe, and Social. Once considered the project generally and categorized into 3 types of projects (Road Improvement, Road Maintenance, and Road Safety Management), the people and other stakeholders are fairly satisfied, not strongly satisfied because they are slightly satisfied with some roads. The main cause should be the number of operating roads is very large and it makes DRR must hire many contractors too. So the controlling and monitoring of the road’s operation may not complete, accurate, and may cause some mistakes. The respondents’ satisfaction towards the installation of the road safety equipment has the lowest scores. Apart from the reason that mentioned above as DRR has limited budget so it cannot install safety equipment that satisfied the wants of the people and the road users, including limited research budget for road and bridge safety and safety equipment development, there may have other reasons as follows: • The project’s operation of DRR may not be able to satisfy the expectation of the people and other stakeholders in terms of road safety. The majority of people thought that road safety is very crucial and directly affect their lives and assets. Moreover, the government also encourages and has the clear policy for minimizing the road accidents and losses. • The people and other stakeholders may not think that the roads have enough safety as they judge from their own experience and the news that they have heard about Thailand is in the second rank of the world for the country that has the highest rate of death from the road accidents especially from the motorcycles (World Health Organization, 2015). • For road safety management, it is relevant and requires the cooperation from many parties. Some issues are beyond DRR’s responsibilities such as rail wood fence. DRR has the responsibility for rail wood fence installation only. But the operation of rail wood fence is the responsibility of State Railway of Thailand. The process of transferring these rail wood fences from DRR to State Railway of Thailand sometimes takes long time. • DRR may lack of the information about the expectation of the people and other stakeholders for the roads especially about road safety. This makes DRR is not able to build and/or maintain the roads followed to the expectation of the people. Recommendations; Although the majority of the respondents are fairly satisfied towards the good road project, DRR still should improve in order to assure that all projects’ operation will satisfy the people and other stakeholders much more than the past. The suggestions are as follows: • DRR should study and update about the expectation/ wants of people and other stakeholders for the use of road. In order to use this information for preparing the better operation plan of roads’ construction, maintenance, and safety management. • DRR should prepare the operation plan of the projects in the future more systematically and more efficiently, especially the cooperation with other related parties for the road operation and road safety management. • DRR should study about the safety of roads/ bridges construction and other related equipment regularly and to meet the international standard, including the study about the impacts from the use of any materials, tools, or equipment carefully before the actual use. • DRR should install enough safety equipment that satisfy the expectation and the wants of people especially the risk area and road safety improvement such as lights for the whole road, warning signs are risk points, and all roads should have the clear traffic signs on the road’s surface. • DRR should improve and keep the scenery on both sides of the roads to be beautiful all the times such as exceeded grasses, more trees, and etc. • DRR should select the roads for construction or improvement in the future that can help the people to reduce travelling costs, travelling time, and travelling distance such as short-cut roads, bypass, and etc. From the whole project’s operation, all roads can access 425,430 households, 1,617 educational institutions, 658 medical institutions, 2,804 local communities,14,807 agricultural areas (i.e. rice, rubber trees, sugarcane, corn, strawberry, durian, palm oil, etc.), 180 industrial areas (i.e. starch factories, rice mills, dairy farms, industrial parks, etc.), 360 border trades (i.e. Ko-Lok Checkpoint Border Trade, Sungaikolok Checkpoint Border Trade, Talad Moo-Noe Border Trade, etc.), 409 tourist attractions, 5,763 employments (837 engineers, 476 administrative staffs, and 4,450 workers), and 565 shopping areas/markets (i.e. Ko-Lok Market, Pasemus Market, local markets, etc.). Overview, the whole project’s operation supports employment, income distribution, new local communities creation that is one way to expand the prosperity from the big cities to local communities, people’s quality of life development that helps the people are able to access educational and medical services more conveniently and quickly, and directly and indirectly improves economic condition at local and national levels.th
dc.description.sponsorshipกรมทางหลวงชนบท
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลth
dc.subjectพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำth
dc.subjectโครงการเงินกู้th
dc.titleจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลโครงการเงินกู้เพื่อการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนน ระยะเร่งด่วน
dc.title.alternativeConsulting Project to develop the tracking and evaluating information system for Department of Rural Roads
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมทางหลวงชนบท
cerif.cfProj-cfProjId2558A00405
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientกรมทางหลวงชนบท
turac.fieldOfStudyโครงการที่ปรึกษา
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record