Show simple item record

dc.contributor.authorปกรณ์ เสริมสุข
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-10-30T08:59:01Z
dc.date.available2018-10-30T08:59:01Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/464
dc.description.abstractกรมทางหลวงชนบท เป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการดูแลรับผิดชอบโครงข่ายทางหลวงชนบทให้ใช้การได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ตามวิสัยทัศน์ “พัฒนา เพิ่มคุณค่า เติมต่อโครงข่ายทางให้สมบูรณ์ อย่างพอเพียงและยั่งยืน เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน” และพันธกิจ “พัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมือง อย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางต่อเชื่อม (Missing Link) ทางเลี่ยง (Bypass) และทางลัด (Shortcut) รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) การพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนพัฒนาองค์กรตาม ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย” ซึ่งปัจจุบันมีโครงข่ายสายทางอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้โครงข่ายสายทางดังกล่าวเกิดการใช้ประโยชน์สูงสุด จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพและดำเนินการในทิศทางที่สอดคล้องกันทุกสำนัก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารงานเพื่อให้เกิดการจัดการงานระบบโครงข่ายเชิงบูรณาการทั้งระบบ กรมทางหลวงชนบทจึงจัดทำคลังข้อมูลทางหลวงชนบท (Data Warehouse) เพื่อบูรณาการข้อมูลจากระบบสารสนเทศภายในกรมทางหลวงชนบท ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2545 ซึ่งมีลักษณะสารสนเทศแบบกระจาย (Distributed) ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทไอซีทีของกระทรวงคมนาคมฉบับปัจจุบัน ที่เน้นในเรื่องการพัฒนาระบบบริหารและบริการโดยให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี ที่ต้องการผลสัมฤทธิ์หลักในเรื่อง ความโปร่งใส (Transparency) ประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย(Participation) และการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน (Accessibility) โดยสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุวิสัยทัศน์ กรมทางหลวงชนบทจำเป็นต้องปรับปรุงงานด้านพันธกิจ ด้านการปฏิบัติการ และด้านทรัพยากรบุคคล โดยภายหลังจากทุกสำนักได้นำแนวคิดในการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติแล้ว จะต้องมีการบูรณาการข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารระดับสำนักใช้ในการติดตามและประเมินแผน-ผลการปฏิบัติงาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะถูกติดตามในการประชุมผู้บริหารระดับสูง ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี เป็นต้น 1. ขอบเขตการบูรณาการข้อมูล วัตถุประสงค์แรกของการจัดทำคลังข้อมูลทางหลวงชนบท (Data Warehouse) คือ เพื่อบูรณาการข้อมูลภายในกรมทางหลวงชนบท เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บ และให้เกิดมาตรฐานข้อมูลกลางที่เป็นทรัพย์สินของกรมทางหลวงชนบท เช่น สายทาง สะพาน เครื่องกล และบุคลากร โดยจากการศึกษาและสำรวจระบบสารสนเทศทั้งหมดของกรม สามารถแบ่งกลุ่มงานเป็น 4 กลุ่ม และมีสารสนเทศทั้งสิ้น 36 ระบบ 1.1. ระบบสารสนเทศตามภารกิจหลักของกรมทางหลวงชนบท 1.2. ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการและงบประมาณ 1.3. ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรภายในกรมทางหลวงชนบท 1.4. ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานและ Back Office ภายในกรมทางหลวงชนบท แต่เนื่องจากบางระบบงานได้เริ่มดำเนินการในปี 2556 หรือยังไม่ได้เริ่มใช้งานจริง รวมถึงบางระบบงานเป็นระบบพื้นฐาน ซึ่งไม่มีข้อมูลที่นำไปใช้ในการวิเคราะห์หรือตัดสินใจสำหรับผู้บริหาร ขอบเขตข้อมูลที่จำเป็นต้องบูรณาการเข้าสู่คลังข้อมูลทางหลวงชนบท (Data Warehouse) จึงประกอบด้วย 22 ระบบงาน ซึ่งในปีงบประมาณ 2556 นี้ ที่ปรึกษาได้ประสานงานเพื่อนำเข้าแล้ว 9 ระบบงานรวมถึงประสานงานในการนำข้อมูลภายนอกที่สนับสนุนการคาดการณ์ของกรม 2. การวิเคราะห์เพื่อจัดทำรายงานประกอบการบริหารจัดการของผู้บริหาร เมื่อบูรณาการข้อมูลจากทั้ง 22 ระบบงานเรียบร้อยแล้ว ที่ปรึกษาจะดำเนินการจัดทำโครงสร้างข้อมูลสำหรับรายงาน (Data Model for Reporting) เพื่ออำนวยความสะดวกต่อนักวิเคราะห์ในการสร้างรายงานตามความต้องการ แต่ในเบื้องต้นที่ปรึกษาได้จัดทำรายงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้บริหารของกรมทางหลวงชนบท รวมถึงกระทรวงคมนาคม โดยผู้บริหารสามารถวิเคราะห์ “ผลการดำเนินงาน” “ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ” “Workload ของบุคลากรภายในกรมทางหลวงชนบท” และ “ผลกระทบต่อกรมทางหลวงชนบท” จากคลังข้อมูลทางหลวงชนบท ผ่านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ อุปกรณ์สื่อสาร โดยกลุ่มข้อมูลในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ดังนี้ 1.5. โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ซึ่งเบื้องต้นประกอบด้วย สายทาง สะพาน เครื่องกล 1.6. งบประมาณและการเบิกจ่าย 1.7. การพัฒนาองค์กร ซึ่งครอบคลุม ข้อมูลบุคลากร และคำรับรองราชการ 1.8. เหตุฉุกเฉิน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการสร้างและซ่อมสายทาง-สะพานโดยตรง 1.9. สถิติมหภาค ซึ่งจะทำให้กรมทางหลวงชนบทสามารถคาดการณ์ผลกระทบต่อกรม 3. การวิเคราะห์กลุ่มผู้ใช้งาน เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งานคลังข้อมูลทางหลวงชนบท ครอบคลุมผู้บริหารภายในกรมทางหลวงชนบททั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ดังนั้นเพื่อให้ข้อมูลที่จัดเก็บในคลังข้อมูล ครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานดังกล่าวทั้งในระดับกรม กระทรวง และประเทศ ที่ปรึกษาจึงได้ทำการวิเคราะห์จากนโยบายสู่การปฏิบัติงานจริงให้ได้ครบถ้วนมากที่สุด จึงได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์จากยุทธศาสตร์กระทรวง กรม และระเบียบ/ข้อกำหนดที่กระทรวงคมนาคมระบุให้กรมทางหลวงชนบทดำเนินการ Department of Rural Roads (DRR), under the Thai Government’s Ministry of Transport (MOT), is responsible for rural road networks of the country as for convenience and safety. Its vision has been defined to reflect its stances of “Development, Value Addition, Extension to Completion of Road Networks with Sufficiency and Sustainability for the Well-being of the Thai Citizens”. Its missions include “Develop and Leverage Standards of Rural Roads for Supporting Transportation, Tourism, Border Development, City Development for Integration and Sustainability and Solving Road Congestion by development of Missing Link, Bypass, Shortcut) and Mentoring Highway Development for Local Autonomous Agencies and Organization Development accordingly to the Thai Civil Service System Development Strategy”. At present, road networks are increasingly accumulated, hence integrated efficient management of road networks for which is in-line with all operational bureaus under the department is needed. DRR, therefore has developed Data Warehouse of Rural Roads to integrate internal data form its information systems, starting from the year 2002, in a distributed manner which conforms to the present ICT Master Plan of Ministry of Transport. The master plan emphasizes on development of front-end and back-end systems that render citizen and stakeholders centered approach, as compiled to good governance principles of Transparency, Efficiency and Effectiveness, Participation and Accessibility. In driving its development strategies to succeed its vision, DRR needs to improve its missions in both operations and human resource. When all strategies have been in places, data integration is essential for allowing high level management and bureau-directors to use for monitoring and appraising operational performances. Such data will be reported during executive meetings as defined under an annual action plan as for good example. 1. Scope of Data Integration Primary objective of Data Warehouse development is to integrate internal data, reduce repetition and standardize centralized data which consists of assets such as roads, bridges, mechanical equipment and employees. According to this paper study and analysis, all information systems of DRR can be divided into 4 groups, containing 36 information categories, as follows: 1.1. Information Systems of Main Functions of DRR 1.2. Information Systems of Projects and Budgets 1.3. Information Systems of Personnel of DRR 1.4. Information Systems of Infrastructure and Back Office Items of DRR Since, some information systems have been implemented from 2013 or some have not yet been deployed, therefore, none of data has been stored which caused partial emptiness in such quarters of the Data Warehouse, totally 22 systems. Within fiscal year of 2013, eventually the consulting team under this project managed to fill up the gap of totally 9 systems and in addition the team also coordinated to bring in some external data that needed to produce required forecasts. 2. Analysis for Producing Executive Reports to Assist Administration After succession of data integration of the 22 information systems, under a well-structured Data Model for Reporting, Executive Reports to Assist Administration have been analyzed and designed to facilitate executives of DRR and MOT to have analytical views of operational performances as well as budget spending performances, workloads of personnel and drawbacks to DRR, directly from DRR Data Warehouse via personal computer or connected devices. Five data groups ready for the specified analysis are: 1.5. Infrastructure: Roads, Bridges and Mechanical Equipment (In the beginning period) 1.6. Budget and Spending 1.7. Organizational Development, including Personnel Dara and Certified Administration Document 1.8. Emergency that affects directly to roads and bridges construction and repair 1.9. Macro Statistics for Strategic Forecasts 3. User Groups Analysis As user groups of DRR covered executives of DRR both in head and regional offices as well as MOT executives, the consulting team did carefully analyze from level of policy down to real situation hands-on works to capture all related strategic points in the level of ministry, department and rules/ provisions as defined by MOT and to be executed by DRR, in order to fulfil all those user groups ranging from department up to country levels.th
dc.description.sponsorshipกรมทางหลวงชนบท
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectData Warehouseth
dc.titleจัดทำคลังข้อมูลทางหลวงชนบท (Data Warehouse)
dc.title.alternativeData Warehouse
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมทางหลวงชนบท
cerif.cfProj-cfProjId2556A00277
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientกรมทางหลวงชนบท
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record