Show simple item record

dc.contributor.authorวินัย รักสุนทร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-10-30T08:50:12Z
dc.date.available2018-10-30T08:50:12Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/462
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ และป้ายแบบเปลี่ยนข้อความได้ (Variable message sign, VMS) ควบคู่กับการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรอีกด้วย การศึกษานี้ยังพบอีกว่า การพัฒนาและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพการจราจรที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ศึกษามี 4 รูปแบบหลัก คือ (1) ระบบการให้ข้อมูลผู้เดินทางขั้นสูง (Advanced traveler information systems, ATIS), (2) การจัดการจราจรตามแนวสายทาง (Corridor traffic management), (3) ระบบตรวจจับอุบัติการณ์อัตโนมัติ (Automated incident detection, AID) และ (4) การวัดประสิทธิภาพของสายทาง (Performance measurement)th
dc.description.abstractThis research is to study and develop an intelligent transportation system (ITS) on the Department of Rural Roads’s road and bridge networks in Bangkok and metropolitan areas. Based on the data collected, traffic sensor and data communication network, basic equipment in the development of the intelligent transportation system, were not found in the study area. This study also found that microwave radar, video image processing, and wire communication are more suitable for road and bridge networks in this study area. However, traffic surveillance equipment, variable message signs, and weather stations are also needed. Moreover, four proper ITS applications were recommended for this study: (1) advanced traveler information systems, ATIS, (2) Corridor traffic management, (3) Automated incident detection, AID, and (4) Performance measurement.th
dc.description.sponsorshipกรมทางหลวงชนบท
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectITSth
dc.subjectITS’s applicationth
dc.titleศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
dc.title.alternativeITS Development on the Department of Rural Roads’s Road and Bridge Networks in Bangkok and Metropolitan Areas
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมทางหลวงชนบท
cerif.cfProj-cfProjId2556A00261
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientกรมทางหลวงชนบท
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record