ศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงการสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 3
by ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน
ศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง และออกแบบโครงการสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 3 | |
Study and survey for public transport infrastrvcture assessment and universal desian suggestions for better a ccessibility of disabled people,child and elderly-phase 3 | |
ศรีศักดิ์ พัฒนวศิน | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2017 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สืบเนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงกาหนดลักษณะ หรือการจัดให้มีอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ และบริการขนส่ง เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ พ.ศ. 2556 กระทรวงคมนาคมจึงมีนโยบายทำการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่มีโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะอยู่ในความรับผิดชอบ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการศึกษา สำรวจ เพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการสำรวจโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะของกระทรวงคมนาคม และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งระบบการขนส่งทางน้ำ ทางบก ทางราง และทางอากาศ โดยมีเป้าหมายดำเนินโครงการให้ครอบคลุมทั่วทุกภาคของประเทศไทย กระทรวงคมนาคมมีภารกิจในการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะ รวมถึงการจัดสิ่งอำนวย ความสะดวก เป็นไปตามหลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design: UD) เพื่อให้คนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุสามารถเดินทาง และเข้าถึงอาคารสถานที่ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ได้อย่างปลอดภัยและ มีมาตรฐาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงคมนาคมให้มีองค์ความรู้ด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และการบริการให้แก่คนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ให้เป็นไปตามหลักการออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design: UD) โครงการศึกษา สำรวจเพื่อการประเมินและให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ของกระทรวงคมนาคม ระยะที่ 3 นี้ ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง รวม 15 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลาปาง แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สุพรรณบุรี และ ลพบุรี และใช้พื้นที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นพื้นที่โครงการนำร่องต้นแบบในการพัฒนาและออกแบบโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะสาหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุตามมาตรฐาน ผลการสำรวจประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ใน 15 จังหวัด แบ่งออกเป็นระบบขนส่งสาธารณะทางอากาศ 5 สถานี ระบบขนส่งทางราง 12 สถานี ระบบขนส่งทางบก 16 สถานี และระบบขนส่งทางน้ำ 1 สถานี พบว่า ระบบขนส่งสาธารณะทางอากาศได้จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการที่ได้มาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 13 ระบบขนส่งทางรางได้มาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 8 ระบบขนส่งทางบก ได้มาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 2 และระบบขนส่งทางน้ำได้มาตรฐาน เฉลี่ยร้อยละ 0 (สำรวจประเมินจากท่าเรือโดยสารเพียง 1 สถานี ซึ่งเป็นทั้งท่าเรือโดยสารและท่าเรือขนส่งสินค้า) หากพิจารณาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน ที่ต้องจัดให้คนพิการเข้าถึงได้ตามมติ ครม. เรื่องการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ใน 5 รายการ ได้แก่ ทางลาด ห้องน้ำ ที่จอดรถ ป้ายและสัญลักษณ์ และจุดบริการข้อมูลข่าวสาร พบว่า สิ่งอำนวยความสะดวกประเภทจุดบริการข้อมูลข่าวสารยังไม่ได้จัดให้มีมากที่สุด ผลการประเมินคุณภาพการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในด้านการรับรู้ของผู้ให้บริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการใน 34 สถานี ของ 15 จังหวัด พบว่า ระบบขนส่งสาธารณะทางอากาศมีระดับการรับรู้ของผู้ให้บริการ ที่ร้อยละ 58 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ร้อยละ 82 ระบบขนส่งสาธารณะทางราง มีระดับการรับรู้ของผู้ให้บริการที่ร้อยละ 40 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ร้อยละ 68 ระบบขนส่งสาธารณะทางบกมีระดับการรับรู้ของผู้ให้บริการที่ร้อยละ 39 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ร้อยละ 47 และระบบขนส่งสาธารณะทางน้ำมีระดับการรับรู้ของผู้ให้บริการที่ร้อยละ 23 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่ร้อยละ 24 จากการวิเคราะห์การประเมินคุณภาพฯ ในกรณีศึกษานำร่อง (Case Study) ของปี พ.ศ. 2560 ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมในระดับกรมและระดับผู้ให้บริการที่ได้ประเมินตนเอง (Self-Asssessment) ใน 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายและแผนงาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการปฏิบัติงาน และด้านการพัฒนาบุคลากร พบว่า หน่วยงานการขนส่งทางอากาศมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ B หรือระดับดี หน่วยงานการขนส่งทางราง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ B หรือระดับดี หน่วยงานการขนส่งทางบกมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ D หรือระดับต่ำ หน่วยงานการขนส่งทางน้ำมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ C และภาพรวมของกระทรวงคมนาคมอยู่ในระดับ C หรือระดับปานกลาง ผลการดำเนินงานในด้านการสำรวจประเมินโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ และผลการประเมินคุณภาพการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานฯ ทำให้กระทรวงคมนาคมมีข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานฯ และมีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงแนวทางการยกระดับคุณภาพการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งสาธารณะเพื่อคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ของกระทรวงคมนาคม นอกจากนี้ ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นที่ได้จากการสัมมนารับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการศึกษาของโครงการฯ จะเป็นข้อมูลให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ ที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ เป็นระบบ เป็นรูปธรรม และได้มาตรฐานสากลต่อไป According to the Ministry of Transport has issued the regulations for defining the characteristics or equipment, facilities, or services in building, place, vehicle and transportation service that for disabled can access and utilize. In 2013, Ministry of Transport has the policy to survey the public transport infrastructure under the responsibility of Ministry of Transport, Local Administration, and other agencies with public transport infrastructure are in charge. The study and survey project for assessment and recommendation to improve public transport infrastructure for disabled, children and elderly were assigned to Office of the Permanent Secretary of Ministry of Transport for processing. This project is aimed to conduct the survey on the public transport infrastructure of Ministry of Transport and Local Government Organizations that including the water public transport system, the road public transport system, the rail public transport system, and the air public transport system. The goal is cover all areas of Thailand. Ministry of Transport is responsible for the development and improvement of the public transport infrastructure, served the facilities for the needs of all people (Universal Design: UD, for disabled, children and elder can travel, and the buildings of the agencies under the Ministry of Transport are safe and standard. Including, the development of the Ministry of Transport's personnel to provide facilities and services to the disabled, children and elder are in the principles of Universal Design (UD). The study and survey project for assessment and recommendation to improve public transport infrastructure for disabled, children and elderly were assigned to the Office of the Permanent Secretary of Transport for processing, Phase 3 is covered 15 provinces that including the northern and central of Thailand. There are Chiang Rai, Chiang Mai, Lampang, Phrae, Sukhothai, Phitsanulok, Tak, Phetchabun and Kamphaeng Phet, Phichit, Nakhon Sawan, Phranakhon Si Ayutthaya, Saraburi, Suphan Buri and Lopburi. In this project has Mae Fah Luang International Airport, Chiang Rai province for a pilot project area. The pilot project is the development and design of public transport infrastructure for people with disabilities, children and older people in accordance with standards. The survey and assessment result of the infrastructure and the facility for disabled, children, and elder in the 15 Provinces are divided into 5 stations of the air public transport system, 12 stations of the rail public transport system, 16 stations of the land public transport system, and 1 stations of the water public transport system. The results show the facilities for disabled. There are the average score of the public transport systems that based on the standard. The air public transport system is 13 percentage. The rail public transport system is 8 percent. The land public transport system is 2 percent. And, the water public transport system is 0 percent. (The water transport system of this project is for the freight only.) If considering the basic facilities that need to be provided to the disabled by the cabinet resolution on the management of facilities for the disabled on 19 May 2009 in 5 items. There are bathroom ramps, parking lots, signs and symbols, and information service points. It’s found the facilities of the information service has not been provided with the most. The assessment of the quality of the infrastructure improvement and the customer satisfaction in 34 stations is found the air public transport system is the most perceived service value by 58 percent and customer satisfaction by 82 percent, the rail public transport system is perceived service value by 40 percent and customer satisfaction by 68 percent, the land public transport system is perceived service value by 39 percent and customer satisfaction by 47 percent, and the water public transport system is perceived service value by 23 percent and customer satisfaction by 24 percent. From the analysis of the quality assessment in the case study of the year 2017 of the agencies under Ministry of Transport at the department level and self-service level that are self-assessment in 4 aspects. There are Policy and Planning, Management, Operations, and Development of Personnel. It’s found that the air public transport agencies have an average score of B or a good level, the rail public transport agencies have an average score of B or a good level, the land public transport agencies have average scores in D or low levels, the water public transport agencies has an average score of C, and the overall average scores of Ministry of Transport is at C level or moderate level. The operations result in the survey and assessment of the infrastructure and the facility for disabled, children, and elder and the assessment of the quality of the infrastructure improvement is let Ministry of Transport have the basic data for the infrastructure improvement and the way for the improvement and the quality enhancement of the infrastructure improvement for disabled, children, and elder of Ministry of Transport. In addition, the suggestions and comments from the seminar, the opinions and public relations of the project results will be information to Ministry of Transport to improve the infrastructure and facilities for disabled, children, and elder are suitable, efficient, and systematic to meet the international standards. |
|
ระบบขนส่งสาธารณะ
โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก คนพิการ เด็ก และผู้สูงอายุ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/445 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|