Show simple item record

dc.contributor.authorหาญพล พึ่งรัศมี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-07-13T02:21:05Z
dc.date.available2018-07-13T02:21:05Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/435
dc.description.abstractปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นเกิดจากการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มากเกินไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) จึงเป็นแนวคิดในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อม คำนวณออกมาให้อยู่ในหน่วย “คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)” ซึ่งจะทำให้ทราบว่าองค์กรนั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าใด นอกจากนี้การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรนั้นยังทำให้เราทราบถึงจุดที่ทำให้เกิดผลกระทบด้านภาวะโลกร้อนที่มากที่สุดในองค์กรของเรา ทำให้เราสามารถหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเราได้อย่างตรงจุดอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนของประเทศไทย ได้พัฒนาแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของประเทศไทยขึ้นมา โดยกระบวนการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นกระบวนการที่ทำให้มั่นใจได้ว่าการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรที่แต่ละองค์กรจัดทำนั้นสอดคล้องกับหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ความตรงประเด็น ความครบถ้วน ความไม่ขัดแย้ง ความถูกต้อง ความโปร่งใส รวมถึงการจัดการคุณภาพข้อมูลที่ดีและเป็นไปตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของประเทศไทย โดยในโครงการนี้ได้ทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรทั้งหมด 6 บริษัท ดังนี้ 1. บริษัท กรีนสปอต จำกัด (โรงงานรังสิต) 2. บริษัท พีคิว เคมิคอลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท อธิมาตร จำกัด 4. บริษัท เอ็นเอ็มบี-มินีแบ ไทย จำกัด (โรงงานลพบุรี) 5. บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (โรงงานผลิตสารโพรพิลีน) 6. บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอส์ จำกัด (โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีน)th
dc.description.abstractNowadays, climate change and global warming have drastic effects on the earth and increasing threaten to the planet. Global warming is primarily caused by the increase of greenhouse gases produced through human activities and added to the atmosphere. According to this kind of situation, Carbon Footprint for Organization is a concept for measuring the exclusive total amount of greenhouse gases emissions that is directly and indirectly caused by an human activities, expressed as carbon dioxide equivalent “CO2 equivalent”. This measure helps the organization to know exactly how much the GHG from the organization is emitted. Morever, an organizational footprint will help to understand the organization’s critical source of GHG emissions, so we are able to identify the direct solutions to reduce the organization’s GHG emissions and develop the management principles to reduce the GHG emissions effectively. Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) who is responsible for projects concerning Climate change and Global Warming in Thailand has developed Thailand Carbon Footprint Organization Verification system to assure the consistency between Carbon Footprint Organization Assessment of each organization and the 5 key principles which are; Relevency, Completeness, Consistency, Accuracy, Transparency, including good data quality management and be in line with Carbon Footprint Organization Assessment in Thailand. In this project, Carbon Footprint Organization Assessment is conducted in 6 organizations which are; 1. Green Spot Co.,Ltd. (Pathumthani Factory) 2. PQ Chemicals (Thailand) Co.,Ltd. 3. Athimart Co.,Ltd. 4. NMB – Minebea Thai Ltd. (Lopburi Factory) 5. HMC Polymers Co.,Ltd. (PP Plant) 6. HMC Polymers Co.,Ltd. (PDH Plant)th
dc.description.sponsorshipสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรth
dc.titleขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 6
dc.title.alternativeCarbon Footprint for Industrial Organizations Project Phrase 6
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2560A00295
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)
turac.contributor.clientสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record