การขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4
by หาญพล พึ่งรัศมี
การขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 4 | |
Promoting of Carbon footprint for organization phase 4 | |
หาญพล พึ่งรัศมี | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนนั้น เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มากเกินไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) จึงเป็นแนวคิดในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นการวัดผลกระทบด้านภาวะโลกร้อนที่ปล่อยจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของแต่ละองค์กรและคำนวณออกมาให้อยู่ในหน่วย “คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent) ซึ่งจะทำให้ทราบว่าองค์กรนั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณเท่าใด การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรนั้นยังทำให้เราทราบถึงจุดที่ทำให้เกิดผลกระทบด้านภาวะโลกร้อนที่มากที่สุดในองค์กรของเรา ทำให้เราสามารถหาแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรเราได้อย่างตรงจุดอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นผู้ดูแลโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อนของประเทศไทย ได้พัฒนาแนวทางการประเมินคาร์บอน
ฟุตพริ้นท์องค์กรของประเทศไทยขึ้นมา โดยกระบวนการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นกระบวนการที่ทำให้มั่นใจได้ว่าการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรที่แต่ละองค์กรจัดทำนั้นสอดคล้องกับหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ ความตรงประเด็น ความครบถ้วน ความไม่ขัดแย้ง ความถูกต้อง ความโปร่งใส รวมถึงการจัดการคุณภาพข้อมูลที่ดีและเป็นไปตามแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของประเทศไทย โดยในโครงการนี้ได้ทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรทั้งหมด 3 บริษัท ดังนี้ 1. ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขาขอนแก่น) 2. ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขาปราจีนบุรี) 3. บริษัท แก่นขวัญ จำกัด สรุปผลการดำเนินงาน: สรุปผลการดำเนินงานทั้ง 3 บริษัทดังนี้ - ได้จัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขาขอนแก่น) โดยมีขอบเขตการประเมินดังนี้ ระดับการรับรองแบบจำกัด(Limited assurance) ขอบเขตการประเมินเป็นแบบการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control) และได้จัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับการทวนสอบเรียบร้อยแล้ว - ได้จัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (สาขาปราจีนบุรี) โดยมีขอบเขตการประเมินดังนี้ ระดับการรับรองแบบจำกัด(Limited assurance) ขอบเขตการประเมินเป็นแบบการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control) และได้จัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับการทวนสอบเรียบร้อยแล้ว -ได้จัดทำการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรของบริษัท แก่นขวัญ จำกัด โดยมีขอบเขตการประเมินดังนี้ ระดับการรับรองแบบจำกัด(Limited assurance) ขอบเขตการประเมินเป็นแบบการควบคุมการดำเนินงาน (Operational Control) และได้จัดทำรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อเตรียมพร้อมรับการทวนสอบเรียบร้อยแล้ว |
|
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร
ก๊าซเรือนกระจก |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/433 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|