ศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม
by ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
ศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม | |
Sustainable transportation plan for Asian highway connectivity towards a model city of development and improvement of an energy transport system | |
ภาวิณี เอี่ยมตระกูล | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเงินที่เกิดจากการขนส่งทางถนนจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อจัดทำแผนการจัดการขนส่งที่ยั่งยืน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์สำหรับเมืองต้นแบบ เพื่อศึกษาความเหมาะสมของแผนงานโครงการพัฒนาเมืองยั่งยืน ในการนำไปใช้ในพื้นที่จริงและทำการตรวจวัดประเมินผลการดำเนินงานของแผนงาน เพื่อนำไปใช้กับเมืองชายแดนอื่นๆ ในแนวเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ต่อไป การศึกษานี้ได้ทำการคัดเลือกเมืองต้นแบบจาก 11 จังหวัด 12 พื้นที่ของเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ โดยการวิเคราะห์ผลกระทบด้านวิศวกรรม ด้านเศรษฐกิจและสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการวิเคราะห์แบบลำดับชั้น (Analytic Hierarchy Process, AHP) ผลจากการวิเคราะห์พบว่า อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายเป็นเมืองต้นแบบ เพื่อนำร่องในการศึกษาแผนงานโครงการพัฒนาเมืองยั่งยืน โดยจัดทำแผนการพัฒนาเมืองนำร่องตามแผนการขนส่งยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 5 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ ในเขตเทศบาลหนองคาย 2) โครงการพัฒนาเส้นทางจักรยานพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครอบคลุมทั้งโครงข่ายพื้นที่เมืองหนองคาย 3) โครงการพัฒนาพื้นที่ Park & Pedal (Bike/Walk) บริเวณสวนสาธารณหนองถิ่น 4) โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณศาลากลางหลังเก่าเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทาง 5) มาตรการเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนาเทศบาลเมืองหนองคาย จากการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาเมืองนำร่อง เพื่อการติดตามประเมินผลประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง โดยกระบวนการการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification, MRV) ประกอบด้วย 2 รูปแบบ คือวิธีการ Top-down และ Bottom-up ได้นำมาใช้วิเคราะห์ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) โดยพบว่า วิธีการ Top-down ใน ปี พ.ศ. 2557 จังหวัดหนองคาย มีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่งทั้งหมด 77,302,635 ลิตรต่อปี และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งหมด 181,130 ตัน CO2 และวิธีการ Bottom-up ซึ่งในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งจังหวัดหนองคายมีปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในภาคขนส่งทั้งหมด 121,401,679 ลิตรต่อปี และมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ทั้งหมด 298,474 ตัน (CO2) อนึ่ง การประเมินผลประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่ง เพื่อให้สามารถรายงานปริมาณการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างถูกต้องจากกระบวนการการตรวจวัดรายงาน และทวนสอบนั้น สามารถดำเนินการจัดทำแผนงานจัดการขนส่งที่ยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพอันช่วยให้สถานการณ์เท่าทันต่อการใช้พลังงานสำหรับเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ ด้วยการพิจารณาโครงการ และมาตรการต่างๆ ตามบริบทของเมือง ท้ายนี้จากการกำหนดเป้าหมายปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้อย่างเหมาะสม สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนงานการพัฒนาการขนส่งยั่งยืนในพื้นที่ได้ เพื่อกำหนดเป้าหมายปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยแนวทางการลดการส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชุมชน รวมถึงเกิดเป็นข้อเสนอแนะในการที่จะสนับสนุนให้กลุ่มจังหวัดตามพื้นที่แนวเส้นทางเชื่อมต่ออาเซียนไฮเวย์นำไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยการส่งเสริมให้มีการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลดปัญหามลพิษในบริเวณพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเกิดกระบวนการติดตามและตรวจสอบที่ได้มาตรฐานในการดำเนินโครงการเพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานในภาคคมนาคม พร้อมทั้งแผนบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
|
แผนจัดการขนส่ง
เมืองต้นแบบ |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/383 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|