Show simple item record

dc.contributor.authorภาวิณี เอี่ยมตระกูล
dc.contributor.authorพีรดร แก้วลาย
dc.contributor.authorทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า
dc.contributor.authorมานัส ศรีวณิช
dc.contributor.authorดารณี จารีมิตร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-10-31T07:51:10Z
dc.date.available2017-10-31T07:51:10Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/354
dc.description.abstractแนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development) เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้น โดยมีรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเดินเท้าในรัศมี 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงการใช้มาตรการอื่นที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางราง กลายเป็นทางเลือกที่สำคัญของรัฐบาลที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาจราจรติดขัดและเพิ่มศักยภาพในการเดินรถ นอกจากนี้เนื่องจากการที่ประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะเป็นจุดศูนย์กลางของอาเซียน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ทำให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาหรือยกระดับระบบขนส่งทางราง ประกอบกับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางยังมีบทบาทต่อการปรับปรุงการขนส่งและสอดคล้องกับการพัฒนาความเป็นเมือง (Urbanization) ดังนั้นในการพัฒนาเมือง จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบการขนส่งของเมืองเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างเมืองศูนย์กลางต่างๆ ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางรางได้กลายเป็นทางเลือกที่สำคัญของรัฐบาลที่ถูกนำมาใช้ในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดและเพิ่มศักยภาพในการเดินรถ และเพื่อให้มีระบบการเชื่อมต่อการเดินทางรองรับการพัฒนาดังกล่าวได้อย่างเหมาะสม ปัจจุบันพบว่า ในพื้นที่เมืองเชื่อมต่อทางทิศเหนือของกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ย่านรังสิต จังหวัดปทุมธานี มีอัตราการเดินทางสูงมาก อีกทั้งจำนวนผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวปริมาณการจราจรอยู่ที่วันละ 315,000 คัน ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรที่คับคั่งแน่นหนาเป็นอย่างมาก และไม่มีความสะดวกในการเดินทาง ส่งผลให้เกิดความต้องการระบบขนส่งรถไฟฟ้า รวมถึงรัฐบาลมีโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารจากระบบขนส่งมวลชนระยะที่ 1 เขตพื้นที่จังหวัดปทุมธานี อันนับเป็นบริบทใหม่ของแผนการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่เชื่อมต่อการเดินทาง นอกจากนี้ จะเห็นว่าพื้นที่รังสิตมีศักยภาพในการพัฒนาค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นหัวเมืองที่มีอัตราการเจริญเติบโตของที่อยู่อาศัยค่อนข้างสูงมาก อีกทั้งยังเป็นประตูทางออกสู่ภาคเหนือ ภาคอีสานของประเทศไทย และยังเป็นที่ตั้งของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมและที่ตั้งของมหาวิทยาลัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการศึกษาเพื่อการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ตามหลักการของแนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบรางจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นพื้นที่ จึงทำให้เกิดการศึกษาพื้นที่ทั้งหมด 5 ด้าน แบ่งออกเป็น 5 โครงการย่อย ได้แก่ 1. กรอบการวิเคราะห์นโยบายและการวางแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 2. การวางแผนโครงข่ายคมนาคมขนส่งระบบรองและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างที่ส่งเสริมการเชื่อมต่อการใช้ระบบขนส่งมวลชนระบบรางของคนทุกกลุ่ม 3. กลยุทธ์การวางแผนเมืองและออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาบริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบราง 4. แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีเพื่อสร้างความเป็นย่านศูนย์กลางธุรกิจและการค้าแห่งศตวรรษที่ 21 อย่างยั่งยืน 5. แนวทางการออกแบบวางผังที่อยู่อาศัยและพื้นที่สาธารณะบริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชน หรือ Transit-Oriented Development (TOD) อันประกอบด้วย 5 แนวทางของการพัฒนาในบริเวณพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ถือเป็นแนวทางที่สำคัญ ในการบรรเทาปัญหาด้านการจราจรและขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะก่อให้เกิดการส่งเสริมการเดินทางของประชาชนด้สยระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพสูง มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การใช้พื้นที่และการเดินทาง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประสิทธภาพสูง ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ จะนำไปสู่การเป็นต้นแบบของจังหวัดต่างๆ ในเขตปริมาณฑลของกรุงเทพมหานครได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมในพื้นที่ได้อีกทางหนึ่งด้วย.th
dc.description.abstractThe concept of Transit Oriented Development (TOD) has been accepted internationally, with an intense development scheme. The guidelines comprise of developing the residential and commercial centre in an area surrounding a mass transit station. It has been designed with an aim to enhance an efficient accessibility to mass transit and to promote non-motorised transport, particularly walking within 800 meters radius from a transit station. In addition, mass transit development has become a crucial solution which the government implements for traffic congestion problems. Besides, Thailand aims to become the center of ASEAN countries (Office of the National Economic and Social Development Boad), causing Thai government to prioritise mass transport development which play a big role in urbanization. In addition, urban development needs to cooperate with urban transport development in order to connect different urban centers together. Nowadays, the northern area of Bangkok Metropolitan Region (BMR) in particular, Rangsit, Pathumthani Province, has a high transport rate of 315,000 cars per day. Resulting in a high level of traffic congestion and inconvenient travel experience. These problems represent the needs of mass transit development in the area. Leading to the Regional transit development route (Red Line) from Bang-sue, Rangsit to Thammasat University (Rangsit) which supports a passenger connectivity from the first phase of mass transit development in Pathumthani province. Additionally, Rangsit has a high development potential due to a high residential growth, the location as a door to connect Bangkok with the Northern and Nort-eastern region of Thailand and number of industrial Estates and various University. Therefore, It is essential to research and develop the planning scheme in the area in order to response the sustainable urban development in 5 aspects which are 1. Guideline for transit Oriented Development (TOD) to Enhance Transit Ridership towards Sustainable Urban Development 2.Planning of Feeder Network and Built Environment Enhancing Connectivity Towards Propensity to Use Mass Rapid Transit Across Groups 3. Urban Planning and Environmental Design Strategies for Encouraging Transit-Oriented Development (TOD) 4. Development Guideline for Station Area to Create A Prototype of Sustainable Business and Commercial District 5. Design and planning guidelines for Transit Oriented Development (TOD) to housing and public space: A case study study of Thammasat University, Rangsit Campus Therefore Transit-Oriented Development (TOD) which is comprised of 5 development schemes in the area surrounding Thammasat University (Rangsit), is an important approach to reduce traffic congestion, leading to an efficient travel connection and urban environment. It can also become a development prototype for other provinces to study and adopt the transport network plan.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectสถานีขนส่งมวลชนระบบรางth
dc.subjectระบบขนส่งสาธารณะth
dc.subjectแนวทางการพัฒนาพื้นที่th
dc.subjectTransit Oriented Developmentth
dc.titleแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
dc.title.alternativeGuideline for Transit Oriented Development (TOD) to Enhance Transit Ridership towards Sustainable Urban Development
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
cerif.cfProj-cfProjId2558A00518
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record