พัฒนาหลักสูตรการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยวิธีตกลง
by ภาวิณี เอี่ยมตระกูล
Title: | พัฒนาหลักสูตรการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยวิธีตกลง |
Other title(s): | In depth Accident Investigation course and Human Resource Development for Road Safety |
Author(s): | ภาวิณี เอี่ยมตระกูล |
Client: | กรมการขนส่งทางบก |
Contributor(s): | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Publisher: | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Research Sector: | สาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR) |
Project Type: | โครงการวิจัย |
Project ID: | 2560A00014 |
Project Status: | สิ้นสุดโครงการ |
Sponsorship: | กรมการขนส่งทางบก |
Abstract: |
สถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยทางถนนในโลก รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2558 (Global Status Report on Road Safety, 2015) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) การเสียชีวิตบนท้องถนนโดยแบ่งประเภทของผู้ใช้ถนนในแต่ละภูมิภาคของโลก และในภูมิภาคเอเชีย การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดกับยานพาหนะชนิด 2 ล้อ รวมถึง ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน (รองจากประเทศลิเบียที่เสียชีวิต 73.4 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน) โดยมีผู้เสียชีวิตตามที่คาดการณ์เท่ากับ 24,237 ราย (WHO, 2015) จากการทบทวนข้อมูลของฐานข้อมูล ศปภ. ซึ่งสะท้อนจานวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงของไทย บ่งชี้ว่า จำนวนอุบัติเหตุทางถนนยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และธนาคารโลก (World Bank) ได้ประมาณการความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ไว้ที่ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2016 คิดเป็นประมาณ 500,000 ล้านบาท ปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2557 และได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระยะ 8 ปี (พ.ศ.2558 – 2565) โดยมุ่งเน้นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม (2) การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (3) การสร้างโอกาสสาหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ (4) การเสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง รวมถึงกรมการขนส่งทางบก มีความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้จัดทำคู่มือหลักสูตรการวิเคราะห์อุบัติเหตุขึ้นในปี พ.ศ.2554 เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้การดำเนินงานตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุให้กับบุคลากร เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีทางการผลิตยานยนต์ที่มีความทันสมัย โครงข่ายทางถนนที่เข้าถึงมากขึ้น และพฤติกรรมส่วนบุคคลในการใช้รถใช้ถนน ทำให้ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุในปัจจุบันมีทั้งความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างออกไปจากในอดีต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2560 กรณีรถตู้ประจาทางเสียหลักข้ามเลนร่องเกาะกลางไปชนประสานงานกับรถกระบะที่วิ่งสวนทางมา ทาให้มีผู้เสียชีวิตถึง 25 ราย ในที่เกิดเหตุ ทันใดนั้นการสันนิษฐาน “ก่อนจะเกิดเหตุ - สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ” ก็ได้ทึกทักกันขึ้นมาจากคนหลายกลุ่มว่า คนขับรถตู้มีอาการหลับในขณะขับรถ แล้วสื่อสังคมออนไลน์ก็ได้นาเอาดุลยพินิจเหล่านั้นไปเผยแพร่ต่ออย่างรวดเร็ว ทั้งที่ยังหาข้อสรุปที่แท้จริงไม่ได้ ว่าในขณะนั้นเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นการสันนิษฐานจะต้องยังไม่สรุป ก่อนที่จะมีหลักฐานที่ตั้งอยู่ในพื้นฐานที่แท้จริง และส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือ “ผลที่ตามมา – สาเหตุของการสูญเสีย” ที่มาจากไฟไหม้ ประกอบกับคนที่ติดอยู่ในโครงรถที่พังยุบจากความเร็วชนปะทะของทั้ง 2 คัน ออกมาไม่ได้ จะต้องหาคาตอบว่า “ทำไมถึงเกิด” แล้วหาแนวทางแก้ไขที่ตรงประเด็น ทั้งนี้ในระยะเวลาดำเนินการ 150 วัน ที่ปรึกษาได้จัดฝึกอบรมฯ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 คน ใช้เวลา 3 วันต่อครั้ง ซึ่งรวมจำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้น 224 คน และได้รับการร่วมมือรวมถึง ดังนั้น การหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่แท้จริงนั้นจำเป็นจะต้องได้รับความรู้และการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่ถูกต้อง เมื่อมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแล้ว จะสามารถนำไปสู่การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ที่สามารถนาไปสู่การแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักการ. |
Keyword(s): | การสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึก
การพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย |
Resource type: | บทความ |
Type: | Text |
Language: | tha |
Rights: | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร |
Access rights: | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
Rights holder(s): | กรมการขนส่งทางบก |
URI: | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/352 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|