การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม
by ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม | |
Fairness and Humanity of Assets Forfeiture in Drug Cases | |
ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์ | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2016 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการศึกษาเรื่อง “การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติดกับความเป็นธรรมและมนุษยธรรม (Fairness and Humanity of Assets Forfeiture in Drug Cases)” มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อศึกษาแนวคิด ที่มาของพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เพื่อศึกษาว่าการริบทรัพย์สินตามาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติมาตรการในการ ปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 เมื่อเป็นทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 285 ศาลสามารถริบได้หรือไม่ และริบได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้งเพื่อเสนอแนวทางการริบทรัพย์สินตามาตรา 27 แห่ง พระราชบัญญัติมาตรการในการ ปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ที่คำนึงถึงหลักความเป็นธรรมและมนุษยธรรม โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า จากแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการริบทรัพย์ สามารถกล่าวได้ว่าในการริบทรัพย์นั้น ทรัพย์ที่จะต้องถูกริบนั้นมี 4 ประเภท ได้แก่ 1) สิ่งต้องห้าม สินค้าต้องห้าม (ของเถื่อน) 2) ทรัพย์ที่ได้จากการกระทำผิดทางอาญา ซึ่งหมายถึง ประโยชน์ รายได้ ทรัพย์สินทั้งหลายที่เกิดจากการประกอบการผิดกฎหมายทั้งทางตรงและทางอ้อม 3) ทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบอาชญากรรม และ 4) ทรัพย์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับองค์กรหรือบริษัทของผู้กระทำผิด โดยในการริบทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดในปัจจุบันนั้นมีการใช้กันอยู่ 3 มาตรการ ได้แก่ 1) มาตรการริบทรัพย์สินทางแพ่ง 2) การริบทรัพย์สินทางอาญา และ 3) มาตรการริบทรัพย์สินทางบริหาร เป็นกระบวนการทางแพ่งผสมกับกระบวนการทางการปกครองหรือบริหาร ข้อเสนอแนะจากการศึกษามีดังนี้ เชิงนโยบายและกฎหมาย 1.ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยให้มีการจำกัดขอบเขต เช่น คำว่า “ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด” 2. ควรแก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาที่เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงหรือผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถร้องขอคืนทรัพย์สิน ในมาตรา 30 3. ควรปรับปรุงกฎหมายเพิ่มระดับมาตรฐานของภาระการพิสูจน์และหน้าที่นำสืบของโจทก์หรือพนักงานอัยการ 4. ควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยการจำกัดอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการยึดอายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด กรณีตาม ปวิพ.มาตรา 285 และมาตรา 286 (เรื่องทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี) เชิงการบริหารจัดการ 5. หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายตาม พรบ.มาตรการปราบรามฯ ควรกำหนดแผนงานเชิงบริหารจัดการ โดยมองสิทธิและความเป็นธรรมของประชาชนเป็นตัวตั้ง 6. ในกรณีที่เป็นที่ทราบอย่างแน่ชัดว่าทรัพย์สินที่พนักงานอัยการร้องขอให้ศาลสั่งริบนั้นเป็นของบุคคลภายนอกซึ่งไม่มีโอกาสทราบว่าจะมีการกระทำความผิด พนักงานอัยการไม่ควรยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินดังกล่าว 7. พนักงานเจ้าหน้าที่ควรที่จะปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องการประกาศแจ้งการริบทรัพย์สินในหนังสือพิมพ์รายวันที่จำหน่ายในท้องถิ่น 8. ควรขยายระยะเวลาการขอคืนทรัพย์สินและแจ้งประกาศในสื่อที่หลากหลายให้ทายาททราบ กรณีผู้ต้องหา จำเลยตายระหว่างดำเนินคดี เชิงการปฏิบัติงาน 9. ควรมุ่งเน้นการฝึกอบรมเสริมสร้างความตระหนักให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าใจถึงความสำคัญของสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล มีจริยธรรมของการทำงาน 10. ควรวางระเบียบหรือข้อกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการส่งมอบทรัพย์สินที่ยึดมาได้แก่พนักงานสอบสวน/พนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 11. ควรพัฒนาเครื่องมือด้านเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบทรัพย์สินให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 12. ควรมีการจำแนกผู้ค้าในคดียาเสพติด เป็นรายเล็กและรายใหญ่ มีการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจของเจ้าหน้าที่ในการยึดอายัดทรัพย์ |
|
การริบทรัพย์สินของผู้กระทำผิด
คดียาเสพติด |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/345 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|