จัดทำแนวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งมรดกที่มีคุณค่าความโดดเด่นในระดับสากลสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
by โรจน์ คุณเอนก; สมบูรณ์ กีรติประยูร; วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ; มารุต สุขสมจิตร; จิรวัฒน์ รุ่งเลิศตระกูลชัย; ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน
จัดทำแนวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งมรดกที่มีคุณค่าความโดดเด่นในระดับสากลสู่สังคมคาร์บอนต่ำ | |
Project on Establishing the Eco-tourism Trail in the outstanding Universal Value Fleritage for Being Low Carbon Society | |
โรจน์ คุณเอนก
สมบูรณ์ กีรติประยูร วิลาวัณย์ ภมรสุวรรณ มารุต สุขสมจิตร จิรวัฒน์ รุ่งเลิศตระกูลชัย ไตรเทพ วิชย์โกวิทเทน |
|
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
2015 | |
สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
โครงการจัดทำแนวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งมรดกที่มีคุณค่าความโดดเด่นในระดับสากล สู่สังคมคาร์บอนต่ำ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งมรดกที่มีคุณค่า เพื่อให้การคุ้มครอง และปกป้องแหล่งฯ ให้คงคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล (Outstanding Universal Value) นำไปสู่วิถีชุมชนสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเพื่อจัดทำสื่อเผยแพร่ความสำคัญด้านคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของแหล่งมรดกที่เป็นพื้นที่นำร่อง ตลอดจนเพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล และการอนุรักษ์และคุ้มครองแหล่งและสภาพโดยรอบแหล่งมรดกที่มีคุณค่าในระดับสากล รวมถึงการตั้งรับและปรับตัวกับกาiเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพโดยรอบของแหล่งมรดกที่มีคุณค่าในระดับสากล การดำเนินงานตามโครงการฯ มีพื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานที่ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แล้วนำมาจัดทำแนวเส้นทางฯ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล อาทิ แผนที่ แนวเส้นทาง สัญลักษณ์ การสื่อความหมาย และคำอธิบายประกอบ จากนั้นจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพในการอนุรักษ์ คุ้มครองแหล่งมรดกที่มีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล โดยจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ คุ้มครองสภาพโดยรอบแหล่งมรดกโลก ทั้งการเผยแพร่ความรู้เบื้องต้นในเรื่องมรดกโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการตั้งรับและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล และการส่งเสริมเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่นำร่อง สู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในท้ายที่สุดจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อจัดทำเอกสารเผยแพร่และสื่อประชาสัมพันธ์ของแหล่งมรดกที่มีคุณค่าความโดดเด่นในระดับสากล ผลการศึกษาพบว่า มีเส้นทางที่เหมาะสมแก่การใช้จักรยาน ซึ่งเป็นพาหนะที่เหมาะสมสำหรับสังคมคาร์บอนต่ำ จำนวน 5 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางแม่น้ำภาชี-ไทยประจัน ระยะทาง 31.8 กิโลเมตร เส้นทางแก่งกระจาน ระยะทาง 1.1 กิโลเมตร เส้นทางป่าละอู ระยะทาง 4 กิโลเมตร เส้นทางกุยบุรี ระยะทาง 4 กิโลเมตร และเส้นทางสำโหรง ระยะทาง 8.9 กิโลเมตร ทั้งนี้เส้นทางทั้งหมดได้มีการทดลองใช้จักรยาน และผ่านการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว จึงได้มีการจัดทำเอกสารเผยแพร่จำนวน 32 หน้าที่ประกอบด้วยความรู้ทั่วไป และความสำคัญของแหล่งมรดกกลุ่มป่าแก่งกระจาน ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้จักรยาน และรายละเอียดของเส้นทางที่ประกอบไปด้วยภาพ และแผนที่ประกอบการใช้จักรยาน นอกจากนี้ยังได้มีการแปลเอกสารแปลเอกสารหมายเลข 37 ขององค์การยูเนสโก (no. 37 - May 2014 Climate Change Adaptation for Natural World Heritage Sites – A Practical Guide) เพื่อเป็นเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการตั้งรับและปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพโดยรอบของแหล่งมรดกที่มีคุณค่าในระดับสากลด้วย |
|
สังคมคาร์บอนต่ำ
แนวเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ แหล่งมรดกโลก |
|
บทความ | |
Text | |
application/pdf | |
tha | |
เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | |
https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/334 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View no-fulltext.doc ( 21.50 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
Collections
|