Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2020-11-30T06:24:57Z
dc.date.available2020-11-30T06:24:57Z
dc.date.issued2563-11-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/936
dc.description.abstractกรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายสายทางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 67,793 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นผิวทางลาดยาง 61,834 กิโลเมตร ผิวทางคอนกรีต 5,605 กิโลเมตร และผิวทางลูกรัง 354 กิโลเมตร ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง (Thailand Pavement Management System, TPMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายของทางผิวแอสฟัลต์มาใช้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงการทาง โปรแกรมดังกล่าววิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลสภาพทางที่ได้จากการให้เจ้าหน้าที่หมวดการทางที่ผ่านการฝึกอบรมเป็นผู้ทำการสำรวจความชำรุดเสียหายของผิวทางด้วยตา (Visual Inspection) และเครื่องมือง่าย ๆ เช่น Straight Edge เทปวัดระยะ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้มีโอกาสคลาดเคลื่อนหรือแตกต่างไปตามประสบการณ์ของผู้ประเมิน ส่งผลให้การกำหนดวิธีซ่อมบำรุงทางและการจัดทำแผนงานบำรุงทางไม่สอดคล้องหรือคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงในสนาม ทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าในการบำรุงรักษา ในปี 2550 กรมทางหลวงได้ทำการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสภาพความเสียหายของทางหลวงทั่วประเทศ เป็นระยะทาง 17,385 กิโลเมตร(ต่อ 2 ช่องจราจร)โดยใช้เครื่องมือที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชั้นสูง ซึ่งประกอบไปด้วยชุดเครื่องเลเซอร์ที่ใช้วัดค่าความขรุขระและร่องล้อบนผิวทาง พร้อมระบบจับพิกัดที่มีความผิดพลาดไม่เกิน 2.0 เมตร (DGPS) รวมทั้งกล้องถ่ายภาพวีดีโอที่มีความละเอียดสูงและได้ดำเนินการสำรวจอย่างต่อเนื่องในปี 2553 ถึง 2554 ในส่วนของทางหลวงสายหลักซึ่งมีปริมาณการจราจรสูงและมีการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว และทุก 2 ถึง 3 ปี ในส่วนของทางหลวงสายรองที่มีปริมาณการจราจรปานกลาง โดยในปี 2553 และ 2554 มีการสำรวจทางลาดยาว ไม่น้อยกว่า 33,000 และ 45,000 กิโลเมตร ตามลำดับ เพื่อปรับปรุงข้อมูลสภาพของโครงข่ายทางหลวงให้เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ จากการสำรวจได้ถูกนำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทาง (Central Road Database, CRDB) เพื่อให้บริการสืบค้นผ่านโปรแกรมสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) รวมทั้งให้บริการต่อหน่วยงานอื่น หรือเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ที่กรมทางหลวงกำลังดำเนินการพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อมูลมาประมวลผลในโปรแกรม TPMS เพื่อใช้ในการวางแผนงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงที่ได้รับในแต่ละปีกว่า 10,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในการวางแผนบำรุงทางอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีข้อมูลที่มีความละเอียดแม่นยำและทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้การจัดทำแผนงานบำรุงทางสอดคล้องกับสภาพความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่จริงในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว การสำรวจและจัดเก็บข้อมูลสภาพทางหลวงอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในโครงการนี้ จะมีการสำรวจผิวลาดยาง เป็นระยะทางสำรวจไม่น้อยกว่า 10,000 กิโลเมตร ในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 2, 3, 6, 7, 8, 9, 10, 13 และ14 ในส่วนของสำนักงานทางหลวงที่ 1, 4, 5, 11, 12, 15, 16, 17 และ 18 จะมีการสำรวจผิวทางลาดยาง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะทางสำรวจไม่น้อยกว่า 10,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ ในปี 2558 กรมทางหลวงมีแผนที่จะทำการสำรวจผิวลาดยางและผิวคอนกรีต เพิ่มเติมอีกเป็นระยะทางไม่น้อยกว่า 40,000 กิโลเมตร ซึ่งคาดการณ์ว่า เมื่อสำรวจเสร็จสิ้นแล้ว จะครอบคลุมระยะทางในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงทั้งหมด Department of Highways (DOH) has the major responsibility in maintaining the road network in country, in which 61,834 kilometers of the roads are asphalt, 5,605 kilometers are concrete, and 354 kilometers are dirt roads. In the past, the DOH utilized the Thailand Pavement Management System (TPMS) program to manage the road maintenance. The road data fed in the program derived from the high experience officers; this led to an inaccurate maintenance program, leading to the ineffective use of the maintenance budget. From 2007 onwards, the DOH started to use the high technology equipment to collect the road date to be used with the TPMS program to manage maintenance budget. This equipment can collect all necessary road data, such as roughness, texture depth, rutting, etc. The collected data will be processed and uploaded into the Central Road Database (CRDB), and linked to the Road Net website for public use. The data is also used with the TPMS program to plan for the road maintenance budget to ensure that the budget spent suits with the road conditions. This research study aims in surveying the asphalt, with a minimum of 10,000 kilometers, road within the 1, 4, 5, 11, 12, 15, 16, 17, and 18 districts. The high technology laser equipment is used to collect necessary road data, including roughness, rutting, texture depth, and crack, to be used with TPMS program. It is expected that the DOH utilizes the study results to effectively plan for road maintenance budget.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectวิเคราะห์สภาพทางหลวงth
dc.subjectสำรวจสภาพทางหลวงth
dc.subjectทางหลวงผิวแอสฟัลต์th
dc.titleสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2th
dc.title.alternativeThe Asphattic Highways maintenance management system 2014th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมทางหลวงth
cerif.cfProj-cfProjId2557A00202th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)th
turac.contributor.clientกรมทางหลวง
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record