Show simple item record

dc.contributor.authorพิภพ อุดรth
dc.date.accessioned2020-04-30T08:39:16Z
dc.date.available2020-04-30T08:39:16Z
dc.date.issued2020-04-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/779
dc.description.abstractโครงการประเมินผลระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ปี 2561เป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากปี 2560 โดยมีเป้าหมายประเมินระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนใน 3 ระดับ คือระดับที่ 1 ชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 29 ชุมชน ระดับที่ 2 ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง จำนวน 40 ชุมชน และระดับที่ 3 ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน จำนวน 50 ชุมชน รวม 119 ชุมชนโดยในระดับที่ 1 และ 2 การเคหะแห่งชาติ (กคช.) เป็นผู้ประเมินชุมชนและสำรวจกลุ่มตัวอย่างในชุมชน ส่วนในระดับที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นผู้ประเมินชุมชนและสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง การประเมินใช้ตัวชี้วัด 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านผู้นำและการบริหารจัดการชุมชน มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม รวมตัวชี้วัด 8 ตัวชี้วัด คะแนนเต็ม 100 คะแนน หากพิจารณาจากคะแนนรวมทุกมิติ การประเมิน 119 ชุมชนในปีนี้ พบว่า ชุมชนระดับที่ 1 จำนวน25 ชุมชนจาก 29 ชุมชน ระดับที่ 2 จำนวน 30 ชุมชนจาก 40 ชุมชน และระดับที่ 3 จำนวน 50 ชุมชน รวมทั้งสิ้น 105 ชุมชน ผ่านเกณฑ์การประเมิน หรือชุมชนระดับที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 4 ชุมชน ชุมชนระดับที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 10 ชุมชน ส่วนชุมชนระดับที่ 3 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกชุมชน ในภาพรวม ชุมชนระดับที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 62.69 คะแนนโดยมีคะแนนต่ำสุดที่ 20.5 คะแนนและคะแนนสูงสุดที่ 96 คะแนน (เกณฑ์ผ่านคือ 50 คะแนน) ชุมชนระดับที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ย 69.86 คะแนน โดยมีคะแนนต่ำสุดที่ 36 คะแนน และคะแนนสูงสุดที่ 93 คะแนน (เกณฑ์ผ่านคือ 60 คะแนน) ส่วนชุมชนระดับที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ย 79.38 คะแนน โดยมีคะแนนต่ำสุดที่ 70 คะแนน และคะแนนสูงสุดที่ 100 คะแนน (เกณฑ์ผ่านคือ 70 คะแนน) สำหรับชุมชนระดับ 3 ซึ่ง กคช.พยายามผลักดันนั้น การประเมินในครั้งนี้พบว่ามีชุมชนจำนวน 5 ชุมชนที่ได้คะแนนประเมินตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไป นับว่าเป็นชุมชนที่ควรเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นเรียนรู้ โดยเฉพาะชุมชนเอื้ออาทรระยอง (วังหว้า) ที่มีคะแนนประเมินเต็ม 100 คะแนน ส่วนชุมชนที่มีคะแนนระดับ 70-74 ซึ่งถือเป็นกลุ่ม “คาบเส้น” แม้จะผ่านการประเมินก็ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษเพื่อมิให้ระดับการพัฒนาถดถอยลง หากพิจารณาในรายละเอียดของคะแนนจะพบว่าตัวชี้วัดที่ชุมชนจำนวนมากมีคะแนนไม่ผ่านเมื่อเทียบกับตัวชี้วัดอื่นๆ ได้แก่ตัวชี้วัดในมิติเศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะยังขาดการรวมตัวของคนในชุมชนให้เป็นกลุ่มอาชีพและกลุ่มออมทรัพย์ เนื่องจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนของ กคช.ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่โยกย้ายเข้ามาจากต่างพื้นที่กันเพื่อเข้ามาหาแหล่งงาน ทำให้การรวมตัวในประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มออมทรัพย์ที่ต้องอาศัยความไว้วางใจกัน และมักจะเผชิญการแข่งขันจากการออมหรือการให้กู้ยืมในรูปแบบอื่นๆ ที่อยู่ภายนอกชุมชน จากภาพรวมของการประเมินชุมชนนำมาสู่ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะการประเมินชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานต่อไปในอนาคตดังนี้ • เลือกมิติในการทุ่มเทพัฒนา โดยพัฒนาลงลึกในบางมิติที่เป็นจุดแข็งของชุมชน ทั้งนี้เพราะแต่ละชุมชนมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน การพัฒนาให้ทุกชุมชนไปในทิศทางเดียวกัน เป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ • เพิ่มตัวเลือกของตัวชี้วัด เพื่อให้รับกับธรรมชาติที่แตกต่างของชุมชน เนื่องจากชุมชนมีความแตกต่างกันทั้งประเภท จุดกำเนิด และอายุชุมชน ทำให้การประเมินโดยใช้เกณฑ์วัดชุดเดียวกันเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะเคหะชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุโครงการเกิน 20 ปี บางแห่งเป็นการปลูกสร้างบ้านเองจากการถูกไล่รื้อมาจากพื้นที่อื่นในอดีต จึงมีรูปแบบการบริหารจัดการ สาธารณูปโภค และสภาพของผู้อยู่อาศัยที่แตกต่างอย่างมากจากโครงการบ้านเอื้ออาทรซึ่งมีอายุราว 10 ปีเศษ ดังนั้นจึงไม่ควรนำโครงการประเภทเคหะชุมชนเข้ามาร่วมประเมินด้วย หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ ภายใต้การคงหมวดหลักของตัวชี้วัดไว้ตามเดิมที่ 3 มิติ แต่ในแต่ละมิติอาจปรับกลุ่มตัวชี้วัดที่สามารถเลือกไปใช้ให้เหมาะสมกับธรรมชาติที่มีความแตกต่างกันของแต่ละประเภทชุมชน • ขยายเนื้อหาของตัวชี้วัดให้กว้างขวางขึ้น โดยเฉพาะตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ เช่น การออมภายในชุมชน อาจปรับนิยามการออมให้เน้นหนักที่การให้คนในชุมชนมีการออมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือกับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพื่อให้มีหลักประกันของชีวิต มากกว่าจะเน้นไปที่การจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน ซึ่งอาจเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะในชุมชนที่ใกล้เมือง หรือชุมชนที่มีผู้เช่าจำนวนมาก • ขยายผลการปฏิบัติของชุมชนที่ได้รับคะแนนสูงไปสู่ชุมชนอื่นๆ โดยพิจารณาจากมิติตัวชี้วัดแต่ละด้าน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างชุมชน เรียนรู้การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ของชุมชนอื่นๆ โดยเฉพาะในเรื่องบทบาทผู้นำชุมชน • เร่งรัดการมอบโอนสาธารณูปโภคให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นการลดภาระการดูแลของกคช. และของชุมชนเอง รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนได้รับการพัฒนาจากองค์กรส่วนท้องถิ่น • นำข้อเสนอแนะในปีก่อนๆมาดำเนินการให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เช่น การประชุมเตรียมความพร้อมก่อนการประเมิน การจัดทำป้ายบอกระดับความเข้มแข็งชุมชน การจับคู่ชุมชนพี่-ชุมชนน้อง The Assessment of Strong and Sustainable Community Development Project 2018 is a continuation from 2017. The scope this year covered 119 communities, 29 of level-1, 40 of level-2, and 50 of level-3, across the country. Assessment of Level-1 and level-2 communities were responsible by NHA while those of level-3 were conducted by Thammasat University. The framework of assessment comprised 3 dimensions i.e.,Leadership & Community Management, Economic, and Environment & Quality of Life, 8 indicators and results in a total score of 100. All level-3 communities passed the assessment criteria, compared with 30 out of 40 from level 2 and 25 out of 29 from level 1, a total of passed 105 out of 119. The scores of level-1 communities ranged from 20.50 to 96.00 with the average of 62.69; the passing criteria was 50. Level-2’s scores ranged from 36.00 to 93.00 with the mean of 69.86; the passing criteria was 60. The average score of Level-3 was 79.38 with the range between 70.00 to 100.00; the passing criteria was 70. Among level-3 communities, five of them scored over 90.00 and were capable to serve as a model for others to learn from, especially Rayong (Wang Wha) community. Meanwhile, level-3 communities whose scored between 70 to 75 were cautioned for their continual improvement so they could stay firmly in the level 3 Recommendations for further development of the communities are as follows: • Selective Development: The strengths and weaknesses of each community are different, therefore each must focus on their own weaknesses. One development policy for all will not work. • Alternative KPIs: The type, age, and size of communities are quite varied and that also creates a problem with a fixed set of KPIs. One solution is to provide a set of equivalent KPIs under each assessment criterion so that the communities can choose KPIs that fit with their history and characteristics. • Promoting Best Practices: Communities qualified as a role model for development should be promoted for knowledge sharing and site visits.• Expediting Infrastructure Transfer to Relevant Local Authority: This should be done as soon as possible for every community to relieve its burden and to invite participation from the local government authority.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินผลระดับความสำเร็จth
dc.subjectการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งth
dc.titleประเมินผลระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ปี 2561th
dc.title.alternativeThe Assessment of Strong Communities with Sustainable Self-Reliance Projectth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderการเคหะแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00186th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)th
turac.contributor.clientการเคหะแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินผลระดับความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ปี 2561th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record