Show simple item record

dc.contributor.authorธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชาth
dc.contributor.authorธันยพร สุนทรธรรมth
dc.date.accessioned2020-01-21T07:20:32Z
dc.date.available2020-01-21T07:20:32Z
dc.date.issued2561-01-21
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/698
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาแนวคิดหรือวิธีการมองอนาคต (Foresight) ที่ได้การยอมรับในวงการวิชาการในระดับนานาชาติ ด้วยการสำรวจวรรณกรรมและงานวิจัยทางด้านอนาคตศาสตร์และการมองอนาคตที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ และนำข้อมูลวิจัยที่ได้มาจัดทำชุดเครื่องมือการมองอนาคตที่ประกอบด้วยแนวคิดการมองอนาคต 9 เครื่องมือ วิธีการศึกษาประกอบด้วย 1) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ประเภทบทความทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI Web of Science และ Scopus ระหว่างปี พ.ศ. 2550 – 2561 (ค.ศ. 2013 – 2018) เพื่อสำรวจ วิเคราะห์ และจัดอันดับเทคนิคการมองอนาคตที่ได้รับความนิยมสูงสุด 9 อันดับแรกในกลุ่มนักวิชาการด้านอนาคตศาสตร์ และ 2) นำเทคนิคการมองอนาคตทั้ง 9 เครื่องมือมาจัดทำเป็นชุดบทเรียนเพื่อถ่ายทอดแก่กลุ่มบุคคลทั่วไปในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้น 2 ครั้ง แล้วจึงปรับปรุงชุดบทเรียนตามความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า งานวิจัยทางด้านอนาคตศาสตร์และการมองอนาคตแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ 1) การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 2) ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม 3) ความมั่นคง สวัสดิการสังคม และการศึกษา 4) เทคโนโลยีอุบัติใหม่และผลกระทบ 5) อนาคตของอาชีพและองค์กร และ 6) วิถีชีวิต เมืองแห่งอนาคต และการยกระดับคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังพบว่า นโยบายสาธารณะและธรรมาภิบาลการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นอุบัติใหม่ (Emerging Issue) ที่ปรากฏในงานวิจัย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มความมั่นคง สวัสดิการสังคม และการศึกษา กลุ่มอนาคตของอาชีพและองค์กร และกลุ่มวิถีชีวิตเมืองในอนาคตและการยกระดับคุณภาพชีวิต สำหรับเทคนิคการมองอนาคตที่คณะผู้วิจัยพบว่า ได้รับความนิยมสูงสุดในงานวิจัยข้างต้น 9 อันดับแรก คือ 1) การกำหนดวิสัยทัศน์ (Visioning) 2) เทคนิคเดลไฟ (Delphi) 3) การสร้างและวิเคราะห์ฉากทัศน์ (Scenario Building and Analysis) 4) การสร้างตัวแบบจากนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction Prototyping) 5) การวิเคราะห์แนวโน้มและแนวโน้มระดับโลก (Trend and Megatrend Analysis) 6) การสร้างแบบจำลอง (Modeling and Simulation) 7) การพยากรณ์ย้อนหลัง (Backcasting) 8) แผนที่นำทางเทคโนโลยี (Technology Roadmap) และ 9) บรรณมิติ (Bibliometrics) This research aims to identify the foresight techniques typically utilized by international futurists through an extensive review of literature on futures studies and foresight. The expected output is a collection of nine (9) foresight tools that can be used to educate the public about futures studies and foresight. Research methods in this study are: 1) documentary research that involves reviewing scholarly and scientific articles published in journals indexed in the ISI Web of Science and SCOPUS from 2013-2018, and 2) trials of the nine (9) foresight tools with volunteers from public and private organizations, as well as higher education institutions. The first research method provides us with the nine (9) foresight techniques currently popular among foresight scholars and practitioners. The second research method allows the researchers to improve the foresight tool box and design training curriculum in foresight and futuristic thinking for the National Innovation Agency. The literature review yields six (6) main research areas: 1) economic and industrial transformation, 2) environmental sustainability, 3) national security, social welfare, and education, 4) emerging technologies and consequences, 5) futures of work and organization, and 6) lifestyle, cities of futures, and quality of life. We also find that environmental issues, specifically environmental policy and governance, are the most important emerging issues in foresight research, cutting across four (4) main research areas: 1) environmental sustainability, 2) national security, social welfare, and education, 3) futures of work and organization, and 4) lifestyle, cities of futures, and quality of life. Finally, nine (9) most widely used foresight tools are identified as follows:1) visioning, 2) delphi, 3) scenario building and analysis, 4) science fiction prototyping, 5) trend and megatrend analysis, 6) modeling and simulation, 7) backcasting, 8) technology roadmap, and 9) bibliometrics.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการมองอนาคตและอนาคตศาสตร์th
dc.subjectการพยากรณ์ย้อนหลังth
dc.subjectการสร้างและวิเคราะห์ฉากทัศน์th
dc.subjectFutures Studies and Foresightth
dc.subjectBackcastingth
dc.subjectScenario Building and Analysisth
dc.titleพัฒนาชุดเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools Box)th
dc.title.alternativeCompiling and Developing Foresight Tools Boxth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2561A00497th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการศึกษา (Education sector : ED)th
turac.contributor.researcherสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนาชุดเครื่องมือการมองอนาคต (Foresight Tools Box)th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record