Show simple item record

dc.contributor.authorธีร เจียศิริพงษ์กุลth
dc.date.accessioned2020-01-07T03:17:43Z
dc.date.available2020-01-07T03:17:43Z
dc.date.issued2563-01-07
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/695
dc.description.abstractจากการศึกษาโครงการประเมินผลสัมฤทธิ์มาตรการที่ใช้บริหารจัดการความต้องการใช้น้ำอย่างยั่งยืนของการประปานครหลวงซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาแนวทางที่ใช้บริหารจัดการความต้องการใช้น้ำ (DSM Strategies) 3 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับการประปานครหลวง และศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำของกลุ่มเป้าหมายที่ตอบสนองกับมาตรการที่การประปานครหลวงนำมาใช้ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ และมาตรการประหยัดน้ำผ่านวิธีการใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ รวมถึงการเสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการน้ำในอนาคตให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด การศึกษาในครั้งนี้ มีการกำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย โดยวิธี t-test โดยวิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บข้อมูลความคิดเห็นการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าของการประปานครหลวงกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 พื้นที่ ได้แก่ สำนักงานท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สถาบันราชประชาสมาสัย โรงพยาบาลราชวิถี ศูนย์การค้าเมกกะบางนา โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ได้รับแบบสอบถามกลับคิดเป็นร้อยละ 93.63% ผลการศึกษาพบว่าการประชาสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่าของการประปานครหลวง ได้ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับทัศนคติและความรู้สึกในการใช้น้ำ โดยสำรวจทัศนคติก่อนและหลังได้รับการประชาสัมพันธ์ พบว่า ผลการเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 417 คน มีความคิดเห็นว่า การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ เป็นสิ่งช่วยยกระดับความตระหนักและส่งเสริมให้เกิดการปรับพฤติกรรมการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพิ่มมากขึ้นจำนวน 160 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 38.37 รองลงมาคือ “ความรู้ที่ได้จากการประชาสัมพันธ์นั้นมีผลทำให้ผู้ได้รับการประชาสัมพันธ์เกิดการวางแผนใช้น้ำใหม่ ที่มีแนวโน้มดีขึ้น” ได้มีผู้แสดงทัศนคติและความรู้สึกเพิ่มขึ้นหลังได้รับการประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 36.93 สำหรับลำดับถัดมา คือ “เรื่องท่านต้องการพูดคุย/ถ่ายทอด วิธีการประหยัดน้ำให้กับบุคคลรอบตัวเพื่อมีส่วนร่วมในการประหยัดน้ำ และการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ทำให้ท่านได้รับความรู้ ความเข้าใจในการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่ามากขึ้น” เป็นเรื่องที่มีจำนวนผู้แสดงทัศนคติเพิ่มขึ้นจำนวน 152 คน คิดเป็นร้อยละ 36.67 ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของโครงการ การประปานครหลวงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำ (DSM) ของการประปานครหลวงต่อไป The assessment about sustainable policies used in Demand Side Management (DSM) of Metropolitan Waterworks Authority (MWA) is studied. The objectives are to do the secondary data survey in DSM strategies for 3 countries: Singapore, Japan and Cape Town (South Africa) and to randomly study the behaviors of customers being in the area of MWA. The sustainable policies, public relations, saver-water-equipment and water management relating to necessary and sufficient demands, have been proposed. Moreover the demand side management for sustainability and high efficiency has also been suggested. The methodology has been in both Quantitative research and use of questionnaire with T-Test method. For the questionnaire all samples have been collected from 6 places given and suggested from MWA. There are the offices of Suvarnabhumi Airport, Raj Pracha Samasai Institute, Rajavithi Hospital, Mega-Bangna Department Store, Pranangklao Hospital and Nonthaburi Provincial Administration Organization. From 93.63% of 417 customers or samples who did the questionnaire the result shows that the public relations is the easy, effective and valuable method for MWA. The questionnaires have been distributed before and after the activities of public relations about DSM. 38.37% or 160 samples agree with activities of public relations that can build awareness and responsibility for water saving, 36.93% agrees with the knowledge from public relations that can convince the customers to have a well plan using water daily, and 36.67% or 152 sample agrees with the knowledge transfer about how to save daily used water or how to use water with high effectiveness. Finally MWA can use the results and suggestions in this study to plan and to develop policies for Demand Side Management (DSM).th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินผลสัมฤทธิ์th
dc.subjectการประปานครหลวงth
dc.subjectการใช้น้ำth
dc.titleการประเมินผลสัมฤทธิ์มาตรการที่ใช้บริหารจัดการความต้องการใช้น้ำอย่างยั่งยืนของการประปานครหลวงth
dc.title.alternativeEvaluation of Sustainable Demand Side Management (DSM) for Metropolitan Waterworks Authority (Thailand)th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderการประปานครหลวงth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00599th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการประปาและสุขาภิบาล (Water Supply and Sanitation sector : WS)th
turac.contributor.clientการประปานครหลวง
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleการประเมินผลสัมฤทธิ์มาตรการที่ใช้บริหารจัดการความต้องการใช้น้ำอย่างยั่งยืนของการประปานครหลวงth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record