Show simple item record

dc.contributor.authorพีระ เจริญพรth
dc.date.accessioned2019-12-11T07:55:11Z
dc.date.available2019-12-11T07:55:11Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/688
dc.description.abstractการดำเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนในปัจจุบัน มีรูปแบบการแข่งขันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าในอดีตอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งนวัตรรมและทรัพย์สินทางปัญญาได้รับการยอบรับว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจ เห็นได้จากประเทศที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ได้มาก จะมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจให้เกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้มากกว่าประเทศในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาที่น้อยกว่า จึงอาจกล่าวได้ว่า นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกุญแจสำคัญที่สร้างการเชื่อมต่อระหว่างภาคการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ด้านการวิจัยและพัฒนา กับภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นผู้ที่นำผลงานการสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงกับระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นใจให้ผู้สร้างสรรค์ว่า ผลงานการสร้างสรรค์ของตนได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นแรงจูงใจให้เกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ เพิ่มเติมให้กับสังคมต่อไปในอนาคตในส่วนของประเทศไทย ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับสังคมโลกอย่างไม่สามารถแบ่งแยกได้การตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ บนพื้นฐานของนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างรายได้ให้กับภาคธุรกิจ SMEs และประชาชนทั่วไปอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายประเทศไทย ๔.o (Thailand 4.0) ที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ ปฏิรูปการวิจัยและพัฒนาของประเทศบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ ประเทศไทยสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ทางเศรษฐกิจในระดับปานกลางที่พึ่งพาการเป็นฐานการผลิตสินค้าให้กับต่างประเทศ ไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูงอย่างแท้จริง กรมทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะหน่วยงานหลักด้านทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมผลักดันการดำเนินนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลให้ ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม จึงเห็นควรให้มีการศึกษาวิจัยในเชิงลึกเพื่อรับทราบบทบาทของทรัพย์สินทางปัญญาแต่ละประเภทที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งข้อขอเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำนโยบายการส่งเสริมการสร้างสรรค์สินค้าและบริการบนพื้นฐานนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ที่ตรงตามความต้องการของภาคเอกชน รวมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุนเพื่อให้ภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญา ในฐานะเครื่องมือในการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการของตน และใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เหมาะสมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ เปิดโอกาสทางการค้าและสร้างความสามารถในการแข่งขันในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร สิทธิบัตรการออกแบบ อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ และสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์บทบาทและแนวทางการพัฒนาบทบาทของอุตสาหกรรมเหล่านั้นต่อการพัฒนาศักยภาพ ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ตลอดจน การจ้างงานของประเทศ 2) เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับผลผลิต (Output) มูลค่าเพิ่ม (Value Added) ค่าแรง (Wages) และมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (Trade) ในอุตสาหกรรมเหล่านั้น เป็นสัดส่วนเท่าใดของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) ดำเนินการศึกษาบทบาทของหน่วยธุรกิจที่จัดตั้งในประเทศไทย ที่มีการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อแสดงผลศักยภาพทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของประเทศซึ่งจะศึกษาครอบคลุมทรัพย์สินทางปัญญา 5 ประเภท ประกอบด้วย (1) เครื่องหมายการค้า (2) สิทธิบัตรอนุสิทธิบัตร (3) สิทธิบัตรการออกแบบ (4) ลิขสิทธิ์ และ (5) สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยใช้วิธีการศึกษาตามแนวทางของรายงานการศึกษาเรื่อง “Intellectual Property Rights Intensive Industries :Contribution to Economic Performance and Employment in the European Union” โดยสำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (European Patent Office : EPO) และสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Property Office : EUIPO) โดยแนวทางการวัดมูลค่าอุตสาหกรรมที่ใช้ทรัพย์สินทางปัญญาเข้มข้น (Intellectual Property Rights Intensive Industries) จะเป็นไปตามแนวทางของ EUIPO โดยเชื่อมโยงข้อมูลระดับอุตสาหกรรม (Industrial Level) ทั้งด้านการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญากับผลการดำเนินงานทางเศรษฐกิจ (Economic Performance) At the present, business and investment are more complicated than they were in the past, and innovations and intellectual property are accepted to be the important factors used in raising business competitiveness. This can be witnessed from the countries with strong ability to create innovations and utilize their knowledge’s to the maximum that they could develop their economies much more than those that have less. It can be said that innovation and intellectual property are keys that connect an education sector which acts as social analysts and developers with business sector. The countries that could commercialize their creative works protected by intellectual property would be able to bring more benefit to their economic and social systems. Furthermore, intellectual property is also a tool that makes creators confident that their works will be appropriately protected against misappropriations, and in turn shall motivate them to create new creativities for the society in the future. For Thailand, our economy links closely with the global society and cannot be divided, therefore, it is very important that the Thai government and public in general recognize the importance of developing the competitiveness of the country based on innovation and intellectual property and use them as tools to further enhance innovation capability, generate income for SMEs and general public, reduce social inequality and create economic fairness in the country in an sustainable way. It is to our delight that the Thai government has prioritized the development of the country’s intellectual property ecosystem and use them as a leading tool to ensure that its Thailand 4.0 policy which emphasizing on driving the country's economic system with innovation and creativity becomes true. A lot of effort allocating at reforming the country’s research and development based on science, technology, human resource, education and various environmental factors have also put in place so that Thailand can take advantage of its innovations and step away from the trap of countries with moderate economic income that rely on being a production base for foreign products and become a truly high-income country. Department of Intellectual Property, the primary government authority responsible for intellectual property system of the country, realizes the importance of its roles in implementing the policy to the success and decided to commence an in-depth research to acknowledge the role each types of intellectual property have to the national economy as well as to provide suggestions on how to further develop Thai industries that use intellectual property as tools. The study is also aimed at providing information to other related government agencies on how to create policies that would support Thai products and services based on innovation and creativity that meet the needs of private sector. It is also beneficial to private sector to realize the importance of intellectual property as a tool that adds value to their products and services and how to use them to further develop their businesses, create new trade opportunities and competitiveness. 1) To obtain information and statistics on industries that are using intellectual property namely, trademarks, patents, designs, petty patents, copyright and geographical indications as key factors and analyse the roles of each types of intellectual property to the businesses, as well as to make suggestions on how to improve the roles of those industries to the economic, trade, investment and employment of the country. 2) To obtain information and statistics on outputs, value added, wages and trade value that those industries has been contributing to the country’s Gross Domestic Product. Study the role of business units in Thailand that use intellectual property as main factor in their operations to show the economic potential, trade and investment of the country covering 5 major types of intellectual property protected in Thailand namely, trademarks, patents, designs, copyright and geographical indications with method of study based on the study report “Intellectual Property Rights Intensive Industries: Contribution to Economic Performance and Employment in the European Union” by European Patent Office: EPO and European Union Intellectual Property Office: EUIPO. The value measurements of the intellectual property rights intensive industries in this study will follow the EUIPO’s method which connected with the industrial level of information both the registration of intellectual property rights and economic performance.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาth
dc.titleวัดมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในการประกอบธุรกิจth
dc.title.alternativeThe Valuation of Intellectual property Rights in Thai Businessth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมทรัพย์สินทางปัญญาth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00302th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous sector : MS)th
turac.contributor.clientกรมทรัพย์สินทางปัญญา
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleวัดมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาในการประกอบธุรกิจth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record