Show simple item record

dc.contributor.authorพรทิพย์ พิมลสินธุ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2015-06-22T04:13:57Z
dc.date.available2015-06-22T04:13:57Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/50
dc.description.abstractThe assessment per the official endorsement of the Public Relations Department, the indicator at 1.4 with percentage of the target audience accepting good image of the Public Relations Department as the institute of professional mass communication and public relations at the national level. The objectives of the research were: 1) To explore opinion of the target audience who are the recipients of the information services to public through the Public Relations Department’s radio broadcasting and television, toward the image of the Public Relations Department as the statute of professional mass communication and public relations at the national level. 2) To survey the target audience who are the recipients of Public Relations plan, toward the image of the Public Relations Department as the institute of professional mass communication and public relations at the national level. 3) To survey the target audience who are the clients, trainees of Public Relations Training Institute, toward the image of the Public Relations Department as the institute of professional mass communication and public relations at the national level. 4) To use the survey result as an official reference for the performance commitment of the Public Relations Department as a guide to improve and develop the future process of its Department. Three target groups have been identified: the general public at 1,602 samples, the government sectors/local government agencies as recipients for the public relations services from the Public Relations Department at 253 samples and those trained by the Institute of Public Relations at 255 samples. 1. Image of The Public Relations Department as the institute of professional mass communication and public relations at the national level: Positive image in all aspects have been received, with an average of image higher than other areas such as personnel (3.84), professional mass communication and public relations (3.83). Image on the professional mass communication and public relations: The minor issues which use as a measure of all matters received an average score of positive image. The main issue which received the highest average score is the Public Relations Department as the institute of professional mass communication at national level (3.95) and the Public Relations Department as the professional public relations at national level (3.94) Image on the operation process: The main issue which received higher score than others is the Public Relations Department is the institute of public dissemination of information at the national level (3.94). Operation process on mass communication and public relations of the Public Relations Department takes interest of the nation into account as main important (3.91). Image of the Personnel: The main issue which received higher score than others is the personnel of the Public Relations Department have the knowledge and expertise of public relations at national level (3.90). 2. Providing information to the public through radio broadcasting and television of The Public Relations Department: The general public has the opinion of agreement level at “very much” (3.89). The information service of the Public Relations Department is complete, accurate, unbiased, neutral, reliable, fast and up-to-date events with diverse content and interesting to follow throughout the programme. 3. Providing service of public relations plan: The government sectors/local government agencies have the opinion of agreement level at “very much” (3.58). Providing the public relations plan is accurate, reliable, achievable and modern. It is also appropriate to the organization with good strategy which makes corporate PR operations process successful. 4. Providing training service by the Institute of Public Relations: The groups trained by the Institute of Public Relations have the most satisfactory level (4.21). The Training Institute of Public Relations is more on the credibility of the speaker, practical use, service quality of the staff and standards of the course content. The sampling group were most satisfied. 5. Recommendation from the research: 1. Providing information to the public through radio broadcasting and television of The Public Relations Department: 1.1) Presentation of information should find the strong points as highlights in order to compete with rivals. (Entertainment content, content diversity, content designed to benefit audience and can be applied to practical use). 1.2) From the survey results, it also found that there were some opinions and comments about being neutral in disseminating information by the Public Relations Department. The sampling group commented that the Department was actually the speaker of the government and politicians. In order to build up a better corporate image, the Public Relations Department needs to find way to present and demonstrate to public that they are an agency of the nation and to act with neutrality. 1.3) The majority of the sampling groups are interested in the contents concerning ASEAN Community. Therefore, the contents and presentation format should be of interest to the target groups. In order to reach the target groups, the information on what benefits each group will gain, must be included in the presentation. 1.4) If the information has issues from multiple sides, the presentation of information should then be covering all aspects, and should not present only one side. 2. Providing service of public relations plan: 2.1) A survey of the government sectors/local government agencies found that these sampling groups have comments and opinion about the information dissemination of the Public Relations Department dominated by the politicians, with no freedom to operate. Therefore the Public Relations Department should find ways to build the confidence to the public of its freedom with neutral stance and independent of operation. 2.2) The Public Relations Departments needs to have modern equipment in disseminate information. 2.3) To improve the information and data systems to enable public access in a more and larger area 3. Providing training service by the Institute of Public Relations: 3.1) To adjust course in accordance with duration, training to go in full details with depth information on each topic, in order for participants to put the training into the practical use. 3.2) Adjustment of the programme must be suitable for the need of the participants attending the training. Some of courses do not meet the requirement of the participants. Therefore the curriculum should be adjusted to suit the needs of the trainees accordingly. 3.3) Should provide opportunities for students or general public who are interested to be trained. A short course with the lower cost should be considered to offer. 3.4) To increase some familiarization trips to the actual location at both government sectors and private enterprises which relate to the courses, for inspiration and training recognition purposes. 3.5) Should have the key, important technologies for people to be trained adequately and evenly such as office equipment, Internet, etc., to search for required information easily and quickly.en
dc.description.abstractการประเมินผลตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของกรมประชาสัมพันธ์ ตัวชี้วัดที่ 1.4 ร้อยละของผู้รับบริการที่ยอมรับภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์ในความเป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ วัตถุประสงค์ของการวิจัย (1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับบริการข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ต่อภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์ในความเป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ (2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับบริการด้านแผนการประชาสัมพันธ์ ต่อภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์ในความเป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ (3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับบริการฝึกอบรมของสถาบันการประชาสัมพันธ์ ต่อภาพลักษณ์ที่ดีของกรมประชาสัมพันธ์ในความเป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ (4) เพื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นไปใช้ประกอบการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมประชาสัมพันธ์ และใช้เป็นแนวทางปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือกลุ่มประชาชนทั่วไป 1602 ตัวอย่าง กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับบริการด้านแผนการประชาสัมพันธ์จากกรมประชาสัมพันธ์ 253 ตัวอย่าง และกลุ่มผู้ผ่านการอบรมจากสถาบันการประชาสัมพันธ์ 255 ตัวอย่าง 1. ภาพลักษณ์ของกรมประชาสัมพันธ์ ในความเป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ มีภาพลักษณ์เป็นภาพบวก ทุกด้านได้รับคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์เป็นภาพบวก ด้านที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์สูงกว่าด้านอื่นๆ คือ ด้านบุคลากร (3.84) รองลงมาคือ ด้านความเป็นมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ (3.83) ภาพลักษณ์ด้านความเป็นมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ ประเด็นย่อยที่ใช้เป็นตัวชี้วัดทุกประเด็นได้รับคะแนนเฉลี่ยภาพลักษณ์เป็นภาพบวก ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ กรมประชาสัมพันธ์เป็นสถาบันมืออาชีพด้านการสื่อสารมวลชนระดับชาติ (3.95) และกรมประชาสัมพันธ์เป็นสถาบันมืออาชีพในการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ (3.94) ภาพลักษณ์ด้านการดำเนินงาน ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าประเด็น คือ กรมประชาสัมพันธ์เป็นสถาบันที่มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระดับชาติ (3.94) การดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ (3.91) และการดำเนินงานด้านการสื่อสารมวลชนของกรมประชาสัมพันธ์คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ (3.91) ภาพลักษณ์ด้านบุคลากร ประเด็นที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าประเด็นอื่นๆ คือ “บุคลากรของกรมประชาสัมพันธ์มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญด้านการประชาสัมพันธ์ระดับชาติ” 2. การให้บริการข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ของ กรมประชาสัมพันธ์ กลุ่มประชาชนทั่วไปมีความคิดเห็นที่เห็นด้วยมาก (3.89) เกี่ยวกับการให้บริการข้อมูลข่าวสารของกรมประชาสัมพันธ์ มีความครบถ้วน ถูกต้อง เป็นกลาง น่าเชื่อถือ ทันสมัย รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ เนื้อหาสาระมีความหลากหลาย และมีความน่าสนใจในการติดตามรายการตลอดจนจบรายการ 3. การให้บริการด้านแผนการประชาสัมพันธ์ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความคิดเห็นที่เห็นด้วยมาก (3.58) เกี่ยวกับการให้บริการด้านแผนการประชาสัมพันธ์ แผนมีความถูกต้อง ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีความน่าเชื่อถือ มีความทันสมัย มีความเหมาะสมต่อองค์กร มีการวางกลยุทธ์ที่ดี ทำให้การดำเนินงานการประชาสัมพันธ์ขององค์กรประสบความสำเร็จ 4. การให้บริการจัดฝึกอบรมของสถาบันการประชาสัมพันธ์ กลุ่มผู้ผ่านการอบรมจากสถาบันการประชาสัมพันธ์ มีความพึงพอใจมากที่สุด (4.21) เกี่ยวกับการให้บริการจัดฝึกอบรมของสถาบันการประชาสัมพันธ์ มีความน่าเชื่อถือของวิทยากร การนำความรู้จากการอบรมไปใช้ประโยชน์ได้จริง คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ มาตรฐานของเนื้อหาในหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจมากที่สุด 5. ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลวิจัย 5.1 การให้บริการข้อมูลข่าวสารสู่สาธารณะผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย 5.1.1 การนำเสนอข้อมูลข่าวสารนั้นควรหาจุดเด่นในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการประชาสัมพันธ์เพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ (เนื้อหาสาระด้านบันเทิง เนื้อหาสาระที่หลากหลาย เนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ) 5.1.2 จากผลการสำรวจ ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างบางรายมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าเป็นกรมประชาสัมพันธ์เป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาล และนักการเมือง ดังนั้นเพื่อสร้างภาพลักษณ์องค์กรให้ดีขึ้น จึงควรหาวิธีการนำเสนอหรือแสดงให้ประชาชนเข้าใจว่ากรมประชาสัมพันธ์เป็นหน่วยงานของประเทศชาติ ที่ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง 5.1.3 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน จึงควรหาเนื้อหาสาระวิธีการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ ที่น่าสนใจ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่ม ซึ่งการนำเสนอนี้จะต้องให้ข้อมูลด้วยว่าการเข้าสู่ประคมอาเซียนนี้ แต่ละกลุ่มเป้าหมายจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง 5.1.4 ถ้าข้อมูลข่าวสารมีประเด็นที่มาจากหลายด้าน การนำเสนอข้อมูลข่าวสารควรนำเสนอครอบคลุมทุกด้าน ไม่ควรนำเสนอข่าวสารเพียงด้านเดียว 5.2 การให้บริการด้านแผนการประชาสัมพันธ์ 5.2.1 จากการสำรวจกลุ่มหน่วยงานภาครัฐ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้มีความเห็นเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของกรมประชาสัมพันธ์ที่ผ่านมาถูกครอบงำโดยนักการเมือง ไม่มีอิสระในการดำเนินงาน ดังนั้น กรมประชาสัมพันธ์จึงควรหาแนวทางวิธีการในการ นำเสนอให้ประชาชนได้รับทราบว่า กรมประชาสัมพันธ์มีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน มีจุดยืน มีความเป็นกลาง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากประชาชนth
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectกรมประชาสัมพันธ์th
dc.subjectตัวชี้วัดth
dc.subjectการประเมินผลการปฏิบัติราชการth
dc.subjectคำรับรองการปฏิบัติราชการth
dc.subjectภาพลักษณ์th
dc.subjectแผนการประชาสัมพันธ์th
dc.titleจ้างที่ปรึกษาประเมินผลตัวชี้วัดคำรับรองการปฏิบัติราชการกรมประชาสัมพันธ์ ตัวชี้วัดที่ 1.4 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjId2557A00333
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientกรมประชาสัมพันธ์
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record