Show simple item record

dc.contributor.authorณัฐพล แสงอรุณ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-01-25T06:59:59Z
dc.date.available2019-01-25T06:59:59Z
dc.date.issued2018
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/507
dc.description.abstractโครงการวิจัย “การสร้างตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด” มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางและเป้าหมายสำหรับการจัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด (2) เพื่อสร้างตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์สำหรับการประเมินผลการบังคับใช้ตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดและวิธีการรวบรวมข้อมูลตามตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่แท้จริงของการดำเนินงานตามร่างกฎหมายดังกล่าว และ (3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการจัดเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น และพิจารณาถึงข้อจำกัดต่างๆ และทางเลือกข้อมูลที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะใช้เป็นตัวชี้วัด และข้อเสนอแนะในการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดให้เกิดขึ้นจริงได้ต่อไป โดยการศึกษาวิจัยดังกล่าวได้ดำเนินการภายใต้หลักการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องโดยเริ่มจากการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ทรงคุณวุฒิ/ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการจัดประชุมสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการศึกษาและวิพากษ์ร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ทั้งนี้สามารถสรุปตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้าน จำนวน 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1.ด้านการพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนประกอบด้วย 1.1 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 1.2 การดำเนินการของคณะกรรมการตาม (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด 2.ด้านการป้องกันและแก้ไข ประกอบด้วย 2.1 ระดับความสำเร็จของการควบคุมพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดเพื่อป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 2.2 การสร้างสภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.3 ความสำเร็จในการกำหนดเขตพื้นที่มาตรการพิเศษ และ 2.4 การสร้างความรับรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยาเสพติดแก่เด็กเยาวชนและประชาชน 3. ด้านการปราบปรามและสกัดกั้น ประกอบด้วย 3.1 การสกัดกั้นปริมาณยาเสพติด 3.2 การจับกุมปราบปราม 3.3 ผลสำเร็จการดำเนินคดี และ 3.4 การดำเนินการทางทรัพย์สิน 4. ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ประกอบด้วย 4.1 การนำผู้ต้องสงสัยว่าติดยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการคัดกรองเพื่อการบำบัดรักษา 4.2 อัตราผู้เสพรายใหม่ต่อจำนวนผู้เข้ารับการบำบัด 4.3 อัตราผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดและสามารถหยุดเสพได้ 4.4 จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดที่ติดยาถึงขนาดต้องพึ่งพายาเสพติด 4.5 อัตราการกลับมาบำบัดซ้ำ 4.6 ขีดความสามารถในการให้บริการบำบัดรักษา (Capacity) 4.7 การให้การช่วยเหลือ/สงเคราะห์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม 4.8 อัตราการกระทำผิดซ้ำของผู้กระทำผิดในคดียาเสพติด 4.9 อัตราการคงอยู่ของผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูในระบบบำบัดรักษาทุกระบบ (Retention rate) และ 4.10 การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (Harm Reduction) โดยมีข้อเสนอแนะ คือ (1) การจัดทำตัวชี้วัดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดในหลายตัวจำเป็นจะต้องปรับลักษณะการรวบรวมข้อมูล เช่น ให้มีการใช้ข้อมูลย้อนหลังหลังจากคดีเสร็จสิ้นแล้วมาใช้แทนการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในการดำเนินคดีภายในรอบปี เป็นต้น ดังนั้นการจัดทำตัวชี้วัดตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด จึงไม่สามารถนำตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติมาใช้แทนกันได้ในทุกประเด็นในตัวชี้วัดบางตัวจำเป็นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงให้ตรงกับบริบทหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบและรูปแบบการรายงาน (2) การกำหนดตัวชี้วัดเป็นการประเมินตามเป้าประสงค์ของ (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติดในภาพใหญ่เป็นหลัก ทั้งนี้หากมีการดำเนินการตามมาตรการควบคุมพิเศษก็ควรมีการวางระบบการประเมินผลการดำเนินการปลีกย่อยในแต่ละมาตรการไว้ควบคู่ด้วยและ (3) ตัวชี้วัดมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อประเมินผลการดำเนินการป้องกัน ปราบปราม บำบัดฟื้นฟู และแก้ไขปัญหายาเสพติดภายหลังจากมีการประกาศใช้และบังคับใช้กฎหมายแล้วth
dc.description.abstractThe objectives of the research project on ‘The Study on Indicators for Evaluation of Narcotic Prevention and Suppression and Drug Addict Rehabilitation under the New Narcotic Code’ are (1) to analyze the data related to the determination of direction and goals for the making of the indicators for the evaluation in accordance with the code of narcotics laws (draft); (2) to build indicators and criteria for evaluation the outcomes from the enforcement of the code of narcotics laws (draft) and data collection method that is based on the indicators and cab truly reflect the efficiency and effectiveness of the operations as in the aforementioned drafted law; and (3) to assess the feasibility of the data collection based on the developed indicators; and to consider the constraints and suggestions for the development of indicators in accordance with the code of narcotics laws (draft) to actually happen in the future. This research project is conducted under the principle of the participation from all the related parties, which includes the focus group interview, the in-depth interviews with academics/experts, and the seminar to present research findings and critique the complete research report. In conclusion, the indicators can be divided into 4 categories with 20 indicators, namely, 1. Development and Drive of Policy Mechanism, including 1.1 National Policy and Plan for the Prevention, Suppression and Solution to Narcotics Problem and 1.2 Operation of the Committee in Accordance with the Code of Narcotics Law (Draft); 2. Prevention and Solution, consisting of 2.1 Level of Success in Controlling the Risk Areas in a Province for Preventing Group of Risk People from Involving with Narcotics, 2.2 Building of Environs for and Participation in Preventing and Solving Narcotics Problems, 2.3 Success in Determining Areas for Implementing Special Measures, and 2.4 Building of Awareness and Understanding of Narcotics to Youths and People; 3. Suppression and Prevention consisting of 3.1 Limitation to Amount of Narcotics, 3.2 Suppression, 3.3 Success of Legal Prosecutions and 3.4 Property-related Operations; and 4. Rehabilitation of Drug-addicted People consisting of 4.1 Registration of Drug-addicted Suspected People to the Screening Process to Receive Rehabilitation, 4.2 Ratio of New Narcotics Users per Rehabilitated People, 4.3 Rate of Drug-addicted People Receiving Rehabilitation and Able to Stop Using Narcotics, 4.4 Number of Rehabilitated People Severely Addicted to Narcotics and Having to Use Narcotics, 4.5 Rate of People Receiving Re-rehabilitation, 4.6 Capacity of the Rehabilitation, 4.7 Assistance/Rehabilitation of Social Status, 4.8 Rate of Repeated Offenses by Offenders in Narcotics Cases, 4.9 Retention Rate of People Receiving Rehabilitation in All Rehabilitation Systems, and 4.10 Reduction of Harms from Narcotics Use. The suggestions are as follows.(1) To develop many indicators in accordance with the concept of code of narcotics laws (draft) needs the modification of data collection process such as the use of retrospective data after the cases are over instead of the action happening in the courses of case executions in the year. Thus, in the development of indicators in accordance with the code of narcotics laws (draft), not all the indicators can substitute one another in all issues. Some indicators need modification or refinement in order to concur with contexts, or system and report method should be adjusted. (2) The determination of the indicators is the evaluation mainly against the objectives of code of narcotics laws (draft). In case where there are operations in accordance with specific controlling measures, there should also be the specific evaluation for each measure. (3) The main objective of the indicators is to evaluate the operations to prevent, suppress, rehabilitate and solve problems of narcotics after the laws are publicized and enacted.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานกิจการยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการสร้างตัวชี้วัดth
dc.subjectการประเมินผลth
dc.subjectยาเสพติดth
dc.titleดำเนินการสร้างตัวชี้วัดการประเมินผลการดำเนินงานด้านการป้องกัน ปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟูการแก้ไขผู้ติดยาเสพติด ตามแนวคิด (ร่าง) ประมวลกฎหมายยาเสพติด
dc.title.alternativeThe Study on Indicators for Evaluation of Narcotic Prevention and Suppression and Drug Addict Rehabilitation under the New Narcotic Code
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานกิจการยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2561A00043
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานกิจการยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record