Show simple item record

dc.contributor.authorเดชา สังขวรรณ
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-08-10T09:27:24Z
dc.date.available2018-08-10T09:27:24Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/456
dc.description.abstractรายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง “มาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ รวมถึงศึกษามาตรการกลไกการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุในปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มาตรการกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุที่เหมาะสมในสังคมไทย และแนวปฏิบัติที่มีความเป็นไปได้และเหมาะสมกับสังคมไทยในการผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการเพื่อช่วยป้องกันและลดปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ โดยดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุโดยการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus group) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งส่วนกลางและระดับภูมิภาค โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดการการให้ความช่วยเหลือกฎหมาย สิทธิมนุษยชน สวัสดิการ และสวัสดิภาพสาธารณะประเด็นการคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ ผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการด้านประชากรศาสตร์ นักจิตวิทยา ตำรวจ เจ้าหน้าที่จากศูนย์พึ่งได้ และศูนย์ประชาบดี นักกฎหมาย นักสังคมสงเคราะห์ แพทย์และพยาบาล รวมทั้งผู้แทนจากชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องที่มีประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์คนชรา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัด (พมจ.) และพยาบาล / เจ้าหน้าที่ศูนย์พึ่งได้ (OSCC: One Stop Crisis Center) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนในระดับชุมชน (อาสาสมัคร/ผู้ดูแล, ศาสนา, สถาบันการศึกษา, เครือข่าย/กลุ่มต่างๆ) และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆผลการศึกษาพบว่า การละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในสังคมไทยมีความหลากหลายในรูปแบบ ทั้งที่เป็นการละเมิดสิทธิที่มีความรุนแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจต่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ถูกละเมิดสิทธิจากบุคคลที่ใกล้ชิดซึ่งได้แก่สมาชิกในครัวเรือน ทั้งที่เป็นคู่สมรส บุตรหลานหรือเครือญาติอื่นๆ การละเมิดส่วนใหญ่มักเป็นการละเมิดทางวาจาที่มีผลกระทบต่อภาวะทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ ส่วนการละเมิดทางร่างกายนั้นพบว่ามีการละเมิดทั้งโดยการทำร้ายทางร่างกาย และยังมีกรณีที่เป็นการละเมิดทางเพศมักเกิดกับผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในภาวะของการพึ่งพิงอันเนื่องมาจากการมีโรคประจำตัว หรือมีภาวะความจำเสื่อม การแสวงประโยชน์จากผู้สูงอายุโดยเฉพาะในทางการเงินและทรัพย์สินมีปรากฎให้เห็นอยู่ประจำ โดยผู้กระทำการละเมิดโดยการแสวงประโยชน์จากผู้สูงอายุมีทั้งสมาชิกในครอบครัวทั้งที่เป็นลูกหลานหรือเครือญาติ และจากบุคคลภายนอกทั้งที่เป็นคนที่รู้จักและคนแปลกหน้า การละเมิดสิทธิผู้สูงอายุโดยการแสวงประโยชน์ปัจจุบันมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่นการหลอกลวงให้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ หรือการประกันสุขภาพหรือการประกันชีวิต ซึ่งปัจจุบันทิศทางการแสวงประโยชน์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่สูงมากขึ้นโดยเฉพาะการแสวงประโยชน์โดยผ่านเครื่องมือและช่องทางในการสื่อสารในรูปแบบใหม่ต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากยิ่ง ปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในอีกลักษณะหนึ่งที่พบมากขึ้นในสังคมไทยปัจจุบันได้แก่การทอดทิ้งผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนองได้ไว้ตามลำพังโดยปราศจากการช่วยเหลือดูแลตามความเหมาะสม การละเมิดสิทธิประเภทนี้มักเกิดขึ้นกับครอบครัวที่มีฐานะยากจน ลูกหลานออกจากบ้านไปทำมาหากินต่างถิ่นทำให้ขาดการติดต่อ ส่วนใหญ่มักถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังหรือให้อาศัยเพื่อนบ้านหรือเครือญาติในหมู่บ้านหรือชุมชน มีผู้สูงอายุบางรายถูกลูกหลานพาตัวไปทิ้งหรือให้ไปอยู่ในความดูแลของวัด ผู้เข้าร่วมการประชุมสนทนากลุ่มเห็นว่าการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่ถูกทอดทิ้งละเลยในสังคมไทยนับวันจะมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น สำหรับกลไกการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในสังคมไทยในปัจจุบัน ผู้ร่วมการประชุมสนทนากลุ่มเห็นว่ากลไกที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นกลไกการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่ไม่เป็นทางการนั่นหมายถึงว่าเป็นกลไกและมาตรการทางสังคมเป็นหลัก การให้ข้อมูลความรู้ทั้งผู้สูงอายุเองในการป้องกันสิทธิของตน หรือการให้ข้อมูลความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุตรหลาน เครือญาติและผู้ดูแลอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจและช่วยกันป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุนั้น ยังถือเป็นกลไกที่สังคมและชุมชนใช้อยู่เป็นหลัก ส่วนแนวทางในการปฏิบัติเกี่ยวกับกลไกการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการนั้น ผู้ร่วมประชุมสนทนากลุ่มยึดเอาแนวทางและมาตรการที่กฎหมายได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิของผู้สูงอายุ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุเป็นแนวทางในการสร้างกลไกในระดับปฏิบัติ อย่างไรก็ตามผู้ร่วมประชุมการสนทนากลุ่มตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับหมวดว่าด้วยสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุว่ากฎหมายยังไม่ได้มีการกำหนดบทลงโทษผู้ละเมิดสิทธิผู้สูงอายุไว้แต่ประการใด นอกเหนือจากการระบุว่าผู้สูงอายุที่ถูกละเมิดสิทธิจะได้รับการคุ้มครอง หรือรับการเยียวยาด้วยมาตรการต่างๆ ตามพฤติกรรมการถูกละเมิดในแต่ละกรณีไป และโดยภาพรวมผู้ร่วมประชุมการสนทนากลุ่มมีความเห็นว่ากลไกและมาตรการการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่มีอยู่ยังไม่มีประสิทธิภาพในเชิงป้องกันได้อย่างเพียงพอและเห็นว่าควรมีการพัฒนาหรือสร้างระบบหรือมาตรการกลไกในการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากลไกและมาตรการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะเชิงแนวคิดและนโยบาย 1.1 ข้อเสนอแนวคิดการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในการป้องกัน 1.2 ข้อเสนอแนวทางดำเนินงานแบบบูรณาการ 1.3 ข้อเสนอการทบทวนปรับปรุงและแก้ไขกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบต่างๆ สำหรับการพัฒนามาตรการและกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสถานการณ์และปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในสังคมไทยปัจจุบัน 1.4 ข้อเสนอการพัฒนายุทธศาสตร์และมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ - ด้านการป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ - ด้านการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและช่วยเหลือผู้สูงอายุ 2. ข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างและองค์ประกอบของกลไกและระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุ 2.1 ข้อเสนอแนะกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้สูงอายุระดับชาติ 2.2 ข้อเสนอแนะในการกำหนดโครงสร้างและองค์ประกอบของกลไกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในระดับจังหวัด 2.3 ข้อเสนอแนะการพัฒนาระบบการป้องกัน การคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและการช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3. ข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนท้องถิ่นและชุมชนโดยผ่านหน่วยงานและองค์กรจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 3.1 ดำเนินการรวบรวมข้อมูลและการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่และชุมชน 3.2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อจำกัดและปัญหาอุปสรรคในการป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุในระดับพื้นที่และชุมชน 3.3 ดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 3.4 ดำเนินการกำหนดมาตรฐานและการประเมินผลการดำเนินงานการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ 4. ข้อเสนอแนะในการดำเนินการโครงการทดลอง (Pilot Project) การพัฒนาระบบการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุที่มีความเหมาะสมในพื้นที่นำร่อง The objectives the research on “Preventive Measures for the Rights Violation of Older Persons” , which is a qualitative research work, are to study on the situations concerning the problems related to the violation against the elder’s rights; to study on the current measures and mechanisms to prevent and solve problems related to the violation against the elder’s rights in Thailand and foreign countries; and to suggest appropriate policies, measures and mechanisms to prevent and solve problems related to the violation against the elder’s rights in Thailand, as well as possible practices appropriate to Thai society to drive all the related agencies to take actions to prevent and mitigate problems of the violation against the elder’s rights. Data related to measures and mechanisms to prevent the violation against the elder’s rights are collected through the focus group interview with stakeholders in the national and regional levels. The participants are experts and people who are involve in the provision of legal assistance, human rights, welfare and public welfare, and societal protection for the elder, such as related community leaders, demographic academics, psychologists, police officers, staff members from shelters and assistance centers, namely, as One Stop Crisis Center (OSCC) and Prachabodi Center (1300 Thailand), legal experts, social workers, physicians and nurses, and representatives from elder clubs and related staff members and operators who have experiences in working to prevent and solve problems related to the violation against the elder’s rights such as directors from Social Welfare Development for the Elder Centers, heads of the elder’s shelters, officials from Provincial Social Development and Human Security Bureaus, nurses/staff members from OSCC, local administrative organizations (LAOs) and representatives in community level (volunteers, care-takers, religion representatives, academic institutes, and networks/groups) and other related people. The findings from the research point out that the violation against the elder’s rights in Thai society is in various forms Including physical and mental violence against the elder. Most of the elder are violated by people close to them, or family members, such as spouses, offspring and relatives. Most of the violating actions are verbal one which have effects on emotions and minds of the elder. As for physical violation, it is discovered discovered that physical violations include physical assaults and sexual harassment which occurs to the elder who have to depend on others due to their chronic diseases or dementia. The exploitation against the elder in terms of finance and assets are always seen. The ones taking advantages from the elder are family members, relatives, and outsiders who are acquaintances and strangers. Nowadays, the exploitation against the elder comes in various forms such as the persuasion to be a member of a cremation fund group or to buy health insurance or life insurance packages. Currently, such exploitation tends to rise, especially the exploitation through modern communication channels and devices, which is even more diversified. The other form off the violation against the elder The other form of the violation against the elder that is widely seen in Thai society is the abandonment of the elder who cannot rely on themselves without any appropriate care or assistance. This type of violation Tends to occur to poor families with all members working away from home and thus do not contact one another. In most of these cases, the elder are left alone or with neighbors or with relatives in villages or communities. Some of the elder are left with the temples. Participants in the focus group interview deem that the violation in the form of the abandonment against the elder in Thai society will become more and more serious. Concerning the current mechanisms to prevent the violation against the elder’s rights, the participants in the focus group interview deem that such mechanisms are informal Which means they are mainly societal measures and mechanisms. To provide knowledge on right protection to the elder themselves, or related people, especially offspring, relatives and other care-takers, so that they would have knowledge and understanding and help prevent the violation against the elder’s rights, is still a key mechanism that the community and the society use. As for The practices related to formal mechanisms to prevent the violation against the elder’s of rights, the participants to the focus group interview consider the guidelines and measures that the laws have prescribed in relation to the elder’s rights , such as the articles that are related to the elder’s rights in the Elder Act, as the guidelines for creating operational mechanisms. However, the participants in the focus group interview raises an issue concerning the provisions in the articles that are related to the elder’s rights that such legal provisions have not prescribed any punishment to people who violate the elder’s rights at all, apart from stating that the elder whose right is violated will receive protection or remedies with different measures in accordance with the natures of the violation, case by case. In the overview, the participants to the focus group interview deem that the currently existing mechanisms and measures to prevent the violation against the elder’s right are not enough effectiveness; and that there should be the development or creation of systems, measures or mechanisms to prevent the violation against the elder’s rights that are more effective than the current ones. Suggestions 1. Suggestions on ideas and policies 1.1 An idea to prevent the violation against the elder’s rights is to communities as the foundations for the prevention. 1.2 The operations should be the integrated ones. 1.3 Laws, regulation and restrictions should be reviewed and amended in order to develop measures and mechanisms to prevent and solve problems of the violation against the elder’s rights that fit the current situations and issues of the violation against the elder’s rights in Thai society. 1.4 Strategies and measures to prevent and solve problems of the violation against the elder’s rights should be developed with the focus on two aspects as follows: - Prevention against the elder right violation; and - Protection for the elder’s rights and supports for the elder. 2. Suggestions on structure and compositions of the mechanisms and systems to prevent and solve the problems of the violation against the elder’s rights 2.1 There should be mechanisms to prevent and solve problems of the violation against the elder’s rights in the national scale. 2.2 There should be the determination of structure and compositions of the mechanisms to prevent and solve the problems of the violation against the elder’s rights in the provincial level. 2.3 The systems to protect the elder’s rights and to support the elder should be developed. 3. Suggestions on practices to encourage local people and communities, through governmental agencies, private sector and civil society, to participate in the prevention and solution to the violation against the elder’s rights 3.1 Data should be collected in order to create the database about the violation against the elder’s rights in the local areas and communities. 3.2 Limitations, problems and obstacles to the prevention and solutions to the violation against the elder’s rights in the local areas and communities should be analyzed. 3.3 The efficiency of the prevention and solutions to the violation against the elder’s rights should be improved. 3.4 Standards and evaluation for the execution of the works to prevent and solve the violation against the elder’s rights should be determined. 4. There should be an appropriate pilot project to develop the systems to prevent and solve problems of the violation against the elder’s rights in the pilot area.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุth
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.titleศึกษาวิจัยมาตรการกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ
dc.title.alternativePreventive Measures for the Rights Violation of Older Persons
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
cerif.cfProj-cfProjId2560A00673
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)
turac.contributor.clientสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record