Show simple item record

dc.contributor.authorกำพล รุจิวิชชญ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-07-13T01:45:37Z
dc.date.available2018-07-13T01:45:37Z
dc.date.issued2012
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/430
dc.description.abstractโครงการศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืน ที่เหมาะสมกับประเทศไทย (ระยะที่ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณ องค์ประกอบของขยะ 2) ศึกษาอัตราการรีไซเคิลจำแนกตามประเภทของวัสดุรีไซเคิล (แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ กล่องเครื่องดื่ม) และ3) การเสนอแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การเก็บองค์ประกอบทางกายภาพขยะมูลฝอยในพื้นที่ ผลการศึกษาพบว่าปริมาณขยะของประเทศไทยในปี พ.ศ.2556 มีปริมาณเฉลี่ย 49,666.8 ตันต่อวัน หรือคิดเป็น 18,128,382 ตันต่อปี โดยมีอัตราการผลิตขยะต่อคน 0.79 กิโลกรัมต่อวัน โดยองค์ประกอบขยะมูลฝอยส่วนใหญ่ เป็นเศษอาหาร (ร้อยละ 29.54) รองลงมาได้แก่พลาสติก (ร้อยละ19.50) และ กระดาษ (ร้อยละ 12.59) สำหรับปริมาณขยะอุตสาหกรรมพบว่า กากของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย ส่วนใหญ่ร้อยละ 37.94 เป็นกากของเสียประเภทขยะจากอุตสาหกรรมอาหาร (Waste of food preparation and product) ส่วนกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย ส่วนใหญ่ได้แก่ขยะเคมี (Chemical waste) คิดเป็นร้อยละ32.93 เมื่อพิจารณาอัตราการรีไซเคิลวัสดุ พบว่า อัตราการนำกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์เหล็กและอลูมิเนียมสูงเกินกว่าร้อยละ 99 ในขณะที่แก้วเท่ากับร้อยละ 75.06 กระดาษร้อยละ 75.22 พลาสติกร้อยละ 50.53 และกล่องเครื่องดื่มอยู่ร้อยละ 50.0 สำหรับแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย การส่งเสริมการคัดแยกก่อนทิ้ง การสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจและการหาตลาดเพื่อรองรับขยะรีไซเคิลที่คัดแยก การลงทุนแก่ผู้รับซื้อขยะมูลฝอยรายย่อย รวมถึงการส่งเสริมการแปรรูปขยะด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสมก่อนกำจัดth
dc.description.abstractThe study of sustainable development of waste management and recycling of Thailand (Phase 1) have 3 main objectives; 1) to investigate quantity and composition of waste, 2) to estimate recycling rate of waste by types of material (such as glass, paper, plastic, metal and drinking paper box) and 3) to propose a set of sustainable waste management policy for local governments and industrial sectors. The data collection has gathered by mailing questionnaire, in-depth interviewing, and on-site investigation for waste composition at landfill site. The results of study found that total amount of waste in 2013 was 49,666.8 tons per day or 18,128,382 tons per year, daily waste per capita was 0.79 kg. The MSW composition was mostly comprise of organic waste, plastic and paper were 29.54%, 19.50% and 12.59%, respectively. The major part of industrial non-hazardous waste which is 37.94 % was from waste of food product, while the major part of hazardous waste which is 32.93% was chemical waste. Considering the recycling rate, it was revealed that, the rate of recycling steel and aluminum were higher than 99%. While, the recycling rate of paper, plastic and drinking paper box were 75.06%, 75.22%, 50.53% and 50.00% respectively. Furthermore, it was suggested that the development of sustainable waste management systems should focus on promoting waste segregation at source. Soft loan or financial subsidization might be providing, along with appropriate technology to improve the recycle process for small-scale waste recycling businesses and communities are keys to level-up the MSW management system to be sustainable in the future.th
dc.description.sponsorshipสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectระบบการจัดการขยะรีไซเคิลth
dc.subjectปัญหาขยะมูลฝอยth
dc.subjectDevelopment of Sustainable Waste Management Systemth
dc.titleศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการขยะรีไซเคิลอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับประเทศไทย (ระยะที่ 1)
dc.title.alternativeThe Development of Sustainable Waste Management System for Thailand (Phase 1)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2555A00323
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)
turac.contributor.clientสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record