dc.contributor.author | พีรดร แก้วลาย | |
dc.contributor.author | ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า | |
dc.contributor.other | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2018-06-05T03:02:22Z | |
dc.date.available | 2018-06-05T03:02:22Z | |
dc.date.issued | 2017 | |
dc.identifier.uri | https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/418 | |
dc.description.abstract | เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบจึงได้จัดทำโครงการศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลแสดงถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมการออกแบบ และกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบได้อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย 8 อุตสาหกรรมการออกแบบคือ (1) สาขาสถาปัตยกรรม (2) สาขาสถาปัตยกรรมภายใน (3) สาขาภูมิสถาปัตยกรรม (4) สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ (5) สาขาเรขศิลป์ (6) สาขาแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (7) สาขาออกแบบนิทรรศการ และ (8) การออกแบบบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดเก็บข้อมูลเชิงลึก และกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมการออกแบบที่มีความแตกต่างกันในแต่และพื้นที่ และ (2) เพื่อจัดทำรายงานผลข้อมูลเชิงสถิติ และเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมการออกแบบในเชิงพื้นที่ การดำเนินการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยข้อมูล 3 ส่วน คือ (1) ข้อมูลจากฐานข้อมูลทางการของแต่ละอุตสาหกรรมการออกแบบ (2) ข้อมูลที่มาจากการสืบค้นออนไลน์ เช่น ข่าว สิ่งพิมพ์ และรายชื่อผู้ประกอบการและ (3) การสัมภาษณ์ความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานภาพปัจจุบันของแต่อุตสาหกรรม ปัจจุบันการรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมการออกแบบในประเทศไทยแบ่งได้ 4 รูปแบบ คือ (1) อุตสาหกรรมที่มีมาตรฐานวิชาชีพ คือ สาขาการออกแบบสถาปัตยกรรม 3 สาขา (2) อุตสาหกรรมที่กำลังพัฒนาการรวมกลุ่มวิชาชีพ คือ สาขาเรขศิลป์ และออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (3) อุตสาหกรรมที่มีการรวมกลุ่มเพื่อประโยชน์เชิงธุรกิจ คือ สาขาออกแบบนิทรรศการและการจัดแสดง และสาขาแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (4) อุตสาหกรรมการออกแบบที่ไม่มีการรวมกลุ่มคือ สาขาออกแบบบริการ ในปัจจุบัน (พ.ศ.2560) ภาคการศึกษาสามารถผลิตบัณฑิตรวมกันได้ที่ประมาณ 4,985 คน คิดเป็นร้อยละ 1.57 จากจำนวนนักศึกษาทั้งประเทศประมาณ 316,898 คน อุตสาหกรรมที่ผลงานได้รับการยอมรับในระดับสากลคือ สาขาสถาปัตยกรรมภายใน นอกจากนี้ประเทศไทยยังเป็นแหล่งส่งออกแรงงานด้านการออกแบบสาขาภูมิสถาปัตยกรรมไปทำงานยังต่างประเทศ และเป็นแหล่งรับจ้างผลิตงานสาขาออกแบบแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซึ่งมีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาททั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือในการทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรมทั้ง 3 สาขา และยังทำให้เกิดผลลัพธ์รูปแบบใหม่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเรขศิลป์ และออกแบบนิทรรศการที่ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอยู่ในสื่อที่จับต้องไม่ได้ โดยเทคโนโลยียังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมการออกแบบใหม่ คือ การออกแบบแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ที่ถือกำเนิดขึ้นจากเทคโนโลยี ซึ่งมีพื้นที่ในการเติบโตได้อีกมากตามการพัฒนาซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีในการผลิต อุตสาหกรรมการออกแบบจะถูกมองเป็นเรื่องของการพัฒนามูลค่าทางธุรกิจมากกว่าจะเป็นพื้นฐานในการสร้างโครงการสาธารณะเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมของเมืองให้ดีขึ้น นอกจากนี้ในการสนับสนุนภาครัฐปัจจุบันมุ่งเน้นแค่เพียง 2 อุตสาหกรรมการออกแบบเท่านั้น คือ (1) การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (2) สาขาการออกแบบ
แอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ซึ่งการสนับสนุนจะเป็นในระดับอุตสาหกรรม และการประชาสัมพันธ์มากกว่าจะสนับสนุนการยกระดับคุณภาพวิชาชีพ และการสร้างแรงจูงใจในการลงทุน เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการให้บริการการออกแบบ | th |
dc.description.abstract | Creative Economy is a part of Thailand's economic strategy. To create the Design Industry database, and reveal potential of the industry, Thailand Creative and Design Center initiated Thailand's Design Industry Potential Study. The study includes 8 design industries; Architecture, Interior Architecture, Landscape Architecture, Industrial Design, Visual Design, Animation and Computer Graphics Design, Exhibition Design and Service Design. The objectives of the study are, (1) To collect in-depth data on the different working processes of design industry in various areas and, (2) To provide statistics and quality data, and to analyze the potential of the design industry in geographical locations. The data collection of this study contains 3 data types, (1) Official data of each design industry, (2) Online resources such as news, publication, and design company profiles, and (3) Interviews of key persons about the recent situation of each design industry. Currently, there are 4 types of Thailand's Design Industry formation, (1) Industries with professional standard; which are the 3 Architecture professions, (2) Industries that are in the process of formation; Visual Design industry and Industrial Design industry, (3) Business oriented formation; Exhibition Design industry and Animation and Computer Graphics industry, (4) Not start the formation process yet; Service Design industry. In the academic year 2017, there will be 4,985 new graduates with degrees related to design, or 1.57 percent of 316,898 graduates around the country. In global design scale, Thailand's Interior Architecture profession is highly regarded, similar to Thai's Landscape architect that continuously have opportunities to work abroad. Moreover, Thailand has become the world's standard production base for producing animation and computer graphics. In recent years, technology has impacted on each design industry in various ways. For instance, technology has changed design tools in all 3 architecture fields. On the other hand, for the industries like industrial design, visual design and exhibition design, technology has changed the outcome of the industries from tangible to become more intangible. Beyond that, technology has created the animation and computer graphics industry, this provides room for the industry to grow by the development of software and production technology. Nowadays, the Thai's design industry is perceived as value added rather than the basic principles to enhancing quality of public projects, creating better living environments within the cities. In addition, the government sector mainly support 2 design industries: Industrial Design and Animation and Computer Graphics Design. Which focuses only on the industrial level and promotion of the products instead of supporting professional development or giving incentives to the design services. | th |
dc.description.sponsorship | ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) ภายใต้ สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | tha | en |
dc.publisher | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.rights | เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร | |
dc.subject | อุตสาหกรรมการออกแบบ | th |
dc.title | ศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทย | |
dc.title.alternative | The Study of Thailand’s Design Industry Potentials | |
dc.type | Text | |
dcterms.accessRights | สงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
dc.rights.holder | สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) | |
cerif.cfProj-cfProjId | 2560A00316 | |
mods.genre | บทความ | |
mods.location.physicalLocation | สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
turac.projectType | โครงการวิจัย | |
turac.researchSector | สาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN) | |
turac.contributor.client | สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ(TCDC) | |
turac.fieldOfStudy | สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | |
cerif.cfProj-cfProjStatus | สิ้นสุดโครงการ | |