Show simple item record

dc.contributor.authorวิทวัส รุ่งเรืองผล
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-03-31T04:29:42Z
dc.date.available2018-03-31T04:29:42Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/413
dc.description.abstractโครงการศึกษาแนวทางการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่ท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 จังหวัดเชียงราย เป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อดำเนินการศึกษาและจัดทำแนวทางการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 จังหวัดเชียงรายไปยังภาคเหนือตอนบนและประเทศเพื่อนบ้าน โดยให้เกิดความยั่งยืนทั้งมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ จากการศึกษาวิเคราะห์ของสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพบว่า ศักยภาพของพื้นที่ ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทานของอำเภอเชียงแสนและพื้นที่ท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนมีจุดแข็งและโอกาสในการพัฒนาลงทุนเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนในการท่องเที่ยว เนื่องจากอำเภอเชียงแสนมีจุดขายที่โบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ประเพณีและวิถีชีวิตที่มาจากวัฒนธรรมล้านนา มีธรรมชาติ ยอดดอย และภูมิประเทศที่ติดริมฝั่งแม่น้ำโขงซึ่งมีความสวยงามและเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านทั้ง สปป.ลาวเมียนมา และจีนตอนใต้ นอกจากนี้ อำเภอเชียงแสนยังมีศักยภาพและความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวแล้วในระดับหนึ่ง เช่น มีท่าเรือท่องเที่ยวที่สามารถรองรับเรือขนาดใหญ่และนักท่องเที่ยวจำนวนมาก มีเลนจักรยานรอบตัวเมืองโบราณ มีที่พักริมแม่น้ำโขงพร้อมบริการจักรยานฟรี เป็นต้น ทั้งนี้ เชียงแสนยังมีศักยภาพเป็นผลจากการเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนยังอยู่ในความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ซึ่งถือเป็นท่าเรือที่สามารถให้บริการรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างเบ็ดเสร็จอีกด้วย จากจุดแข็ง โอกาส และอัตลักษณ์ความเป็นเชียงแสนข้างต้น สามารถกำหนดตำแหน่งทางการตลาดของอำเภอเชียงแสน (Chiang Saen’s Market Positioning) คือ 1) เมือง Lanna Historical เมืองแห่งประวัติศาสตร์ โบราณสถานอารยธรรมล้านนา และเรื่องราวประเพณีวัฒนธรรม ที่ยังคงดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน 2) เมืองที่เป็นจุดหมายสำหรับ Rest & Relax & Recharge โดยมีบรรยากาศ Slow Life มีเสน่ห์ของเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง มีความเป็นธรรมชาติของท้องถิ่น และ 3) เมือง Unseen Northern Thailand เมืองแห่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือเป็น Unseen หลายแห่ง เช่น วัดพระธาตุผาเงา วัดพระธาตุจอมกิตติ ที่มีบรรยากาศร่มรื่น มีวิวที่เห็นทัศนียภาพลำน้ำโขงและอาณาเขตประเทศเพื่อนบ้านทั้งสปป.ลาวและเมียนมา ซึ่งจากตำแหน่งทางการตลาดของอำเภอเชียงแสนดังกล่าว ได้เชื่อมโยงมาสู่การกำหนดกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายศักยภาพทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่ท่องเที่ยวเชียงรายหรือเข้ามาถึงสามเหลี่ยมทองคำ แต่ไม่เข้ามาท่องเที่ยวถึงตัวอำเภอเชียงแสน โดยอำเภอเชียงแสนและท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนจะถือเป็นจุดเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวทางบกและทางน้ำเข้าด้วยกัน (Linkage Point) สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 2) กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยล่องเรือมาทางแม่น้ำโขง ซึ่งอำเภอเชียงแสนและท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย (Start Destination) ของกลุ่มนี้ และ 3) กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่ต้องการหยุดพักผ่อนอย่างแท้จริง โดยชอบความสงบ เรียบง่ายกับการท่องเที่ยวแนวธรรมชาติและศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ หรือกลุ่ม Slow Life ซึ่งอำเภอเชียงแสนและท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนจะถือเป็นจุดหมายของการพักผ่อนด้วยกิจกรรม Bike & Boat (Rest & Relax & Recharge Destination) สำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว สำหรับการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 1 ให้สอดรับกับกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย (Target Group) ทั้ง 3 กลุ่มเพื่อเป็นจุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไปสู่พื้นที่และแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบ คณะที่ปรึกษาได้มุ่งเน้นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งพื้นที่ภายในท่าเรือและพื้นที่หลังท่าเรือ โดยเน้นรูปแบบที่สร้างความกลมกลืนทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของเชียงแสน ให้เกิดธุรกิจและพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชน ซึ่งโมเดลการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจะมีการออกแบบพื้นที่ให้ท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนเป็นจุดศูนย์กลาง และเชื่อมโยงไปยัง 4 องค์ประกอบสำคัญของเชียงแสน ได้แก่ 1) โบราณสถาน/กำแพงเมืองเชียงแสน 2) ประเพณีวัฒนธรรมวิถีชีวิตเชียงแสน 3) ผลิตภัณฑ์/บริการเชียงแสน 4) สามเหลี่ยมทองคำ/สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอื่นๆ จากนั้นจะเชื่อมโยงไปยังภาคส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ เชื่อมโยงภาคเหนือตอนบน และเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (ประเทศจีนทางตอนใต้และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ทั้งนี้ โมเดลธุรกิจต้นแบบเพื่อการพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ซึ่งระยะที่ 1 (Phase I) มีช่วงเวลาตั้งแต่ปีที่ 1 ถึงปีที่ 5 เป็นการพัฒนาท่าเรือเชียงแสนให้เป็นรูปแบบของท่าเรือท่องเที่ยว สร้างการรับรู้ในวงกว้าง และเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวที่หลากหลายดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายเข้ามาสู่ท่าเรือ หลังจากนั้น จึงก้าวเข้าสู่การพัฒนาท่าเรือในระยะที่ 2 (Phase II) ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป โดยเพิ่มเติมการลงทุนในธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของการท่องเที่ยวในอนาคต และให้การบริหารท่าเรือเกิดรายได้เพื่อเลี้ยงตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาวิเคราะห์ยังคงพบจุดอ่อนและอุปสรรคในการพัฒนาส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่ท่าเรือเชียงแสนและอำเภอเชียงแสน ซึ่งคณะที่ปรึกษาได้ถอดบทเรียนจากกรณีศึกษาต่างๆ ถึงกุญแจสำคัญที่ทำให้การพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆ ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางนำมาสู่ข้อเสนอแนะ โดยพบว่า พื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการท่องเที่ยวมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ จะต้องมีหรือแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม/จุดขายของท้องถิ่นซึ่งยังคงอนุรักษ์ไว้ มีกิจกรรม ประเพณี หรือวิถีชีวิตที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปสัมผัสและมีส่วนร่วม มีเรื่องราว/เรื่องเล่าที่สร้างบรรยากาศและสร้างความน่าสนใจ มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ระบบสาธารณะต่างๆ รวมทั้งมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในพื้นที่และนอกพื้นที่ ซึ่งจากบทเรียนดังกล่าว คณะที่ปรึกษาได้นำมาเป็นส่วนหนึ่งในข้อเสนอแนะการสร้างเมืองท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ของท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนและอำเภอเชียงแสน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริม “อำเภอเชียงแสน” ประกอบด้วยการสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของท้องถิ่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการท้องถิ่นให้เป็นจุดขาย สร้างการจดจำให้กับนักท่องเที่ยว การสร้างความร่วมมือเป็นหนึ่งเดียวกับชุมชนในการพัฒนา และการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงใหม่ๆ รองรับนักท่องเที่ยวหลากหลายไลฟ์สไตล์ 2) ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริม “ท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสน” ประกอบด้วยการพัฒนาปรับปรุงท่าเรือให้เป็นท่าเรือท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวทั้ง 3 กลุ่ม การสร้างสรรค์กิจกรรม ณ ท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสน การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงมายังท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสน และการสนับสนุนโปรโมทท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสน ซึ่งคณะที่ปรึกษานำเสนอการกำหนด 4 สิ่ง ที่นักท่องเที่ยวห้ามพลาดในการท่องเที่ยวเชียงแสน ได้แก่ “ปั่นจักรยาน ชมเมืองเก่าเชียงแสน”“สักการะพระธาตุ บรรยากาศล้านนา” “ล่องสายน้ำลำน้ำโขง ชมวิว 3 ดินแดน” “สัมผัสประเพณี วัฒนธรรมล้านนา” ทั้งนี้ ความร่วมมือในการสนับสนุนและพัฒนาจากทุกภาคส่วน จะทำให้การลงทุนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอเชียงแสน และท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนประสบความสำเร็จ และเกิดความยั่งยืนทั้งมิติทางสังคมและทางเศรษฐกิจในอนาคต This project aims to study the methods of developing tourism in Chiang Saen district and connect tourism from Chiang Saen Port 1 in Chiang Rai to the North and neighbouring countries to achieve sustainable social and economic growth. The research shows that the destinations have potential in both demand and supply with strengths and opportunities for sustainable tourism development. Chiang Saen district has an abundance of selling points ranging from; historical sights and attractions, Lanna culture which influences the traditions and lifestyle that still exists today, nature, scenic mountaintops to beautiful terrain around the Mekong River connecting the Lao People's Democratic Republic, Myanmar and Southern China. Moreover, Chiang Saen has potential in terms of infrastructure to support tourism; such as, the Port, bicycle lanes around the old town along with accommodation along the Mekong River with free bicycle rentals. With Chiang Saen being a special economic zone and Chiang Saen Port as an authorised port of the Joint Committee on Coordination of Commercial Navigation on the Lancang-Mekong River (JCCCN) with facilities to support large numbers of incoming tourism activities makes the area a great opportunity for development. From the strengths, opportunities and identity of the area, Chiang Saen’s market position can be summarised as below: 1) Lanna Historical Town : Historical sites and civilisation from the Lanna period with its tradition and culture. 2) Rest & Relax & Recharge : Chiang Saen is a destination for rest, relax and recharge in a “slow life” ambiance next to the MekongRiver and natural locality. 3) Unseen Northern Thailand : Chiang Saen has an abundance of hidden gems; such as, “Wat Phrathat Pha Ngao” and “Wat Phrathat Chom Kitti” with a comfortable atmosphere with the scenic view of the Mekong and neighbouring countries along the border. Chiang Saen market position has the potential of attracting 3 main types of tourists: 1) For Thai and international tourists to Chiang Rai or the Golden Triangle who do not come into Chiang Saen, the Port can provide a “Linkage point” for these groups of tourists to visit the area. 2) Chinese tourists coming into Thailand through the Mekong route can use Chiang Saen and the Port as a “Starting destination” to their trip to Thailand. 3) Thai and international tourists looking to rest and relax in a peaceful atmosphere and indulge in the simplicity of the natural and cultural aspects of the area – “Slow Life” tourists. Chiang Saen and the Port is a destination for relaxation with activities; such as, Bike & Boat (Rest & Relax & Recharge Destination) for these groups of tourists. The development and utilisation of Chiang Saen Port 1 to match with the 3 target groups to link tourism to the area and surrounding attractions is focused on managing the use of land both inside and outside of the Port by using Chiang Saen’s unique culture to create a new business model with optimum use of the land for both tourism and the community. The tourism model is designed to make Chiang Saen Port as the centre connecting to 4 main aspects of Chiang Saen: 1) Historical sites and the old city walls 2) Tradition, culture and way of life of Chiang Saen 3) Products and services of Chiang Saen 4) The Golden Triangle and other tourist attractions. which are connected to Upper Northern Thailand and neighbouring countries (Southern China and the Lao People's Democratic Republic). The development of the business model for tourism of Chiang Saen and the Chiang Saen Port can be split into two phases: Phase I : 1 – 5 years Develop Chiang Saen Port into a touristic port, create awareness, and connect various touristic routes to attract target groups into the area. Phase II : 5 - year plan. Increase a more diverse business development to support the growth of tourism and promote profitable growth of the Port. However, the study shows weaknesses and threats in developing tourism in Chiang Saen and the Chiang Saen Port. To overcome this, the consultant has studied similar tourism models to understand their key success factors, which show that in order to succeed, there must be: • A showcase of a unique culture or selling point of the area. • Activities, traditions and way of life of the locals that tourists can touch upon. • Stories to enhance the atmosphere and create an interesting experience. Facilitating infrastructure and a collaboration from all stakeholders. The consultant has come up with recommendations for the development of this project as follows: 1) Create a unique identity for Chiang Saen and develop local products and services as selling points, and create Chiang Saen as a “go-to” destination for tourists by collaborating with local communities to develop a new tourism model to serve the needs of the 3 target groups. 2) Develop the Port to support the 3 target groups by creating activities at the Port, develop routes and linkages to Chiang Saen Port and promote Chiang Saen as a destination for: • “Cycling and exploring the livelihood of Chiang Saen Old Town”. • “Pay homage to the relics of the Buddha in the Lanna town”. • “Float along the Mekong with views of the 3 countries”. • “A touch of Lanna tradition and culture”. Finally, tourism development in Chiang Saen district and the Chiang Saen Port can be successful and achieve sustainable economics and social aspects with the collaboration from all parties.th
dc.description.sponsorshipการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวth
dc.subjectท่าเรือท่องเที่ยวเชียงแสนth
dc.titleศึกษาแนวทางการส่งเสริมการลงทุนธุรกิจท่องเที่ยวเชื่อมโยงพื้นที่ท่าเรือเชียงแสนแห่งที่ 1 จังหวัดเชียงราย
dc.title.alternativeEncouraging Educational Tourism Investment Project In Bound of The 1st Chiang Saen Pier, Chiang Rai
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
cerif.cfProj-cfProjId2560A00409
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการท่องเที่ยว (Tourism sector : TO)
turac.contributor.clientการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record