Show simple item record

dc.contributor.authorพีระ เจริญพร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-02-26T08:46:22Z
dc.date.available2018-02-26T08:46:22Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/393
dc.description.abstractโครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (Enhancing Thai Halal Food) ประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสอดคล้องตามหลักการศาสนา และสนับสนุนด้านการตลาดโดยการให้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาล โดยให้เครื่องหมายรัลนองเป็นที่ยอมรับและเพิ่มความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฮาลาลสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้โครงการฯ แบ่งกิจกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยภายใต้การดำเนินโครงการทั้งสิ้น 11 กิจกรรม (ไม่รวมกิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ) โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 12 ซึ่งเป็นการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 1 – 11 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 พบว่าการดำเนินงานของกิจกรรมทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผนการดำเนินการเรียบร้อย โดยมีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ คือ 1) ผู้ประกอบการด้านอาหารฮาลาลทั่วประเทศเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 280 ผลการติดตามพบว่ามีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 329 ราย 2) ผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลใหม่ที่ได้รับการวิจัยและพัฒนา ไม่น้อยกว่า 35 ผลิตภัณฑ์ ผลการติดตามพบว่ามีผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งสิ้น 37 ผลิตภัณฑ์ 3) บุคลากรได้รับการพัฒนา ยกระดับองค์ความรู้ ไม่น้อยกว่า 1,200 ราย ผลการติดตามพบว่ามีบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหารได้รับการอบรมจำนวน 1,359 ราย 4) พาผู้ประกอบการที่ร่วมแสดงอัตลักษณ์อาหารฮาลาลไทยระดับนานาชาติหรือ Business Matching ไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ผลการติดตามพบว่ามีการพาผู้ประกอบการไปร่วมแสดงอัตลักษณ์อาหารไทยระดับนานาชาติ จำนวน 4 ครั้ง การติดตามและประเมินผลกิจกรรมภายใต้โครงการทั้ง 11 กิจกรรม พบว่า ทุกกิจกรรมสามารถดำเนินงานตามตัวชี้วัดที่กำหนดได้ อย่างไรก็ตามการดำเนินกิจกรรมยังพบปัญหาบางประการได้แก่ - การกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนรวมถึงการดกำหนดผลลัพธ์ (Outcome) ของแต่ละกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับเป้าหมายในโครงการ - ปัญหาความพร้อมและข้อจำกัดเฉพาะตัวของสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากสถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความหลากหลายค่อนข้างสูง บางสถานประกอบการอาจจะเป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กถึงเล็กมาก อาจทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือทำตามกิจกรรมที่เข้าร่วมได้อย่างเต็มที่ - การให้คำปรึกษาตามตัวชี้วัด ซึ่งหน่วยร่วมผู้รับผิดชอบโครงการหรือที่ปรึกษาโครงการส่วนใหญ่มาจากสถาบันการศึกษา และมักจะเป็นผู้ที่มีภาระในการดูแลผู้เข้าร่วมโครงการรวมถึงงานส่วนตัวอื่นๆ ทำให้ที่ปรึกษาโครงการมีเวลาหรือให้ความเอาใจใส่แก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้อย่างจำกัด - การบริหารจัดการองค์ความรู้ของบุคลากรสถาบันอาหาร เนื่องจากการให้คำปรึกษาแก่สถานประกอบการเป็นการสรรหาจากบุคคลภายนอก ทำให้ผู้ดูแลโครงการได้รับประสบการณ์และองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการน้อยกว่าที่ปรึกษา เมื่อต้องประเมินผลการดำเนินงานก็จะไม่สามารถทำได้อย่างแม่นยำหรือเข้มงวดเท่าที่ควร จากปัญหาและอุปสรรคที่กล่าวมาข้างต้น สถาบันอาหารจึงควรมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งทบทวนทิศทางและเป้าประสงค์ของโครงการ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานของโครงการให้ดีขึ้นในปีต่อๆ ไปth
dc.description.abstractThe objective of the “Enhancing Thai Halal Food” project of 2016 is to support community enterprises who are manufacturers of Halal food to conform to religious principles and marketing factors by providing manufacturers with the recognized Halal logo. The Halal logo is recognized by consumers of Halal food in Thailand internationally thus products with the Halal logo will be deemed creditable in the eyes of consumers. This project is divided into 11 activities (excluding monitoring and evaluation), this research is the operations of the 12th activity which is the monitoring and evaluation of activities 1 – 11 as of September 2016. The project was conducted as per schedule with the follow key performance indicators (KPIs): 1) At least 280 Halal food manufacturers to participate in the project, the results from the observation shows 329 participants 2) At least 35 new Halal food products to undergo research and development, the result shows 37 new products 3) At least 1,200 personnel in the industry to generate new knowledge, the result shows 1,359 personnel in the industry participating in the training 4) Business Matching of entrepreneurs in at least 2 international Halal food expositions, the result shows participations in 4 expositions All 11 activities have achieved their KPIs however; there are some problems and obstacles as follows: - Setting KPIs and expected outcomes of each activities with regards to the objectives of the project - The diversity of enterprises in terms of scale affects their readiness and limitations to participate in the project -Limitations in the level of consultations provided to participants as consultants are mostly academics and are enforced with time limits to provide full commitments and consultation to participants -Knowledge management of personnel of the NFI since enterprise consultation involves outsourcing, the project administrator will receive less experience and knowledge generated during the process than the consultants thus evaluations will not be as accurate or stringent. From the aforementioned problems and obstacles, the NFI should come up with solutions to the problems, revise their directions and goals of the project to improve and develop the operation of this project.th
dc.description.sponsorshipอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลth
dc.subjectEnhancing Thai Halal Foodth
dc.titleกิจกรรม ติดตามและประเมินผลโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประจำปีงบประมาณ 2559
dc.title.alternativeMonitoring and Evaluation Activity for Project Promotion and Development of the Halal Food Industry 2016
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
cerif.cfProj-cfProjId2559A00292
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการอื่น ๆ
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record