Show simple item record

dc.contributor.authorภาวิณี เอี่ยมตระกูล
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-10-31T07:40:27Z
dc.date.available2017-10-31T07:40:27Z
dc.date.issued2017
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/352
dc.description.abstractสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยทางถนนในโลก รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2558 (Global Status Report on Road Safety, 2015) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) การเสียชีวิตบนท้องถนนโดยแบ่งประเภทของผู้ใช้ถนนในแต่ละภูมิภาคของโลก และในภูมิภาคเอเชีย การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดกับยานพาหนะชนิด 2 ล้อ รวมถึง ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน (รองจากประเทศลิเบียที่เสียชีวิต 73.4 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน) โดยมีผู้เสียชีวิตตามที่คาดการณ์เท่ากับ 24,237 ราย (WHO, 2015) จากการทบทวนข้อมูลของฐานข้อมูล ศปภ. ซึ่งสะท้อนจานวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงของไทย บ่งชี้ว่า จำนวนอุบัติเหตุทางถนนยังคงมีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) และธนาคารโลก (World Bank) ได้ประมาณการความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย ไว้ที่ 3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2016 คิดเป็นประมาณ 500,000 ล้านบาท ปัจจุบันคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีมติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2557 และได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมระยะ 8 ปี (พ.ศ.2558 – 2565) โดยมุ่งเน้นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ได้แก่ (1) การสร้างรากฐานความมั่นคงทางสังคม (2) การสร้างมาตรฐานความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (3) การสร้างโอกาสสาหรับการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเป็นประชาคมอาเซียน และ (4) การเสริมสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยในการเดินทางและการขนส่ง รวมถึงกรมการขนส่งทางบก มีความตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้จัดทำคู่มือหลักสูตรการวิเคราะห์อุบัติเหตุขึ้นในปี พ.ศ.2554 เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้การดำเนินงานตรวจสอบและวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุให้กับบุคลากร เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคโนโลยีทางการผลิตยานยนต์ที่มีความทันสมัย โครงข่ายทางถนนที่เข้าถึงมากขึ้น และพฤติกรรมส่วนบุคคลในการใช้รถใช้ถนน ทำให้ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุในปัจจุบันมีทั้งความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างออกไปจากในอดีต จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง เหตุการณ์ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2560 กรณีรถตู้ประจาทางเสียหลักข้ามเลนร่องเกาะกลางไปชนประสานงานกับรถกระบะที่วิ่งสวนทางมา ทาให้มีผู้เสียชีวิตถึง 25 ราย ในที่เกิดเหตุ ทันใดนั้นการสันนิษฐาน “ก่อนจะเกิดเหตุ - สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ” ก็ได้ทึกทักกันขึ้นมาจากคนหลายกลุ่มว่า คนขับรถตู้มีอาการหลับในขณะขับรถ แล้วสื่อสังคมออนไลน์ก็ได้นาเอาดุลยพินิจเหล่านั้นไปเผยแพร่ต่ออย่างรวดเร็ว ทั้งที่ยังหาข้อสรุปที่แท้จริงไม่ได้ ว่าในขณะนั้นเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นการสันนิษฐานจะต้องยังไม่สรุป ก่อนที่จะมีหลักฐานที่ตั้งอยู่ในพื้นฐานที่แท้จริง และส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งคือ “ผลที่ตามมา – สาเหตุของการสูญเสีย” ที่มาจากไฟไหม้ ประกอบกับคนที่ติดอยู่ในโครงรถที่พังยุบจากความเร็วชนปะทะของทั้ง 2 คัน ออกมาไม่ได้ จะต้องหาคาตอบว่า “ทำไมถึงเกิด” แล้วหาแนวทางแก้ไขที่ตรงประเด็น ทั้งนี้ในระยะเวลาดำเนินการ 150 วัน ที่ปรึกษาได้จัดฝึกอบรมฯ รวมทั้งหมด 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 50 คน ใช้เวลา 3 วันต่อครั้ง ซึ่งรวมจำนวนผู้ผ่านการฝึกอบรมทั้งสิ้น 224 คน และได้รับการร่วมมือรวมถึง ดังนั้น การหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่แท้จริงนั้นจำเป็นจะต้องได้รับความรู้และการถอดบทเรียนจากประสบการณ์ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่ถูกต้อง เมื่อมีความรู้ความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุแล้ว จะสามารถนำไปสู่การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและบาดเจ็บและเสียชีวิต เพราะการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกถือว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ที่สามารถนาไปสู่การแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักการ.th
dc.description.abstractRoad traffic accident situations have become a worldwide serious social issue. The 2015 Global Status Report on Road Safety by World Health Organization (WHO) presented the percentage of road traffic deaths by travel modes in each region of the world and In Southeast Asia region, the motorized 2-3 wheelers are the most vulnerable road users. And currently Thailand is currently ranked the second highest in the world on road traffic accidents. According to the 2015 WHO report, there was 36.2 road traffic deaths per 100,000 population (after Libya with 73.4 traffic deaths per 100,000 population). The 2013 estimated Thai road traffic death was 24,237 deaths (WHO, 2015) The accident statistics recorded by the Office of Insurance Commission (OIC) reveal the actual number of road traffic accidents in Thailand. It indicates the increase in road traffic accidents The study by World Health Organization (WHO) and World Bank estimated that the economic loss of road traffic accidents in Thailand represents 3% of GDP every year. It is approximately 500,000 million baht in 2016. One more information The Department of Land Transport (DLT) has been gaining awareness and envisaging the significance of road accident problems in Thailand. In 2011, the Department developed a manual on accident analysis in order to manage and develop knowledge on road accident investigation and analysis for relevant personnel and staff. However, with the advent of advanced vehicle technologies, the higher accessibility of road network, and the change of road user behavior, the current road accident characteristics are different in terms of their severity and occurrence from the past. It is essential to continue to develop new training courses. There is an example of road accident on January 2nd, 2016, a case study of public van running across the median and collided with the opposing pick-up resulting in 25 deaths at scene. After that accident, various hypotheses on “pre-crash – cause of accident” were put forward from different stakeholders that the accident was caused by drowsy driver. Then the social media took that consideration and released the news without conducting an actual accident investigation. Thus, the hypothesis should not be concluded without concrete evidence. More importantly, the “consequence – the cause of losses” from the fire and casualties being stuck inside the van must be questioned why that could happen in order to propose countermeasures. Therefore, determining the real accident causation must be learned from experiences on the correct accident analysis and accident investigation. Whilst understanding and knowing the cause of accidents, the prevention and solution for accident occurrence and loss can properly be made. This is because an in-depth road accident investigation is an important tool to analyze the root cause of the accident problem, which can lead to the right solution. However Within the 150-day project, the training courses on in-depth road accident investigation have been conducted 4 times. Each course took 3 days and has approximately 50 participants. The total number of certified attendees is 224 participants.th
dc.description.sponsorshipกรมการขนส่งทางบก
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกth
dc.subjectการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัยth
dc.titleพัฒนาหลักสูตรการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยวิธีตกลง
dc.title.alternativeIn depth Accident Investigation course and Human Resource Development for Road Safety
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมการขนส่งทางบก
cerif.cfProj-cfProjId2560A00014
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientกรมการขนส่งทางบก
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record