Show simple item record

dc.contributor.authorศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์
dc.contributor.authorมาดี ลิ่มสกุล
dc.contributor.authorชลธิชา พันธ์พานิช
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-03-31T08:37:16Z
dc.date.available2016-03-31T08:37:16Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/234
dc.description.abstractการศึกษาการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังผู้หญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุกและการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางมาตรการในการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังหญิง ศึกษาแนวทาง มาตรการที่เหมาะสมในการลดระยะเวลาการจำคุกของผู้ต้องขังหญิง ศึกษาและทำให้เกิดการเข้าถึงความยุติธรรมในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้งเพื่อสร้างกระบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขัง และการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง และท้ายสุดได้แก่ แสวงหาแนวทางแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ และการใช้มาตรการไม่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังหญิง รวมถึงการลดปริมาณคดีที่เข้าสู่ระบบงานยุติธรรมทางอาญาในส่วนของวิธีการศึกษา ใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผ่านการใช้แบบสอบถาม การประชุมเชิงปฏิบัติการ การให้ความรู้และการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง การรับทราบปัญหาของผู้ต้องขัง และการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูง ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ และพนักงานคุมประพฤติ เห็นว่า ควรสร้างทางเลือกที่หลากหลายและเหมาะสมโดยใช้มาตรการไม่คุมขัง (มาตรการทางเลือกแทนการคุมขัง) สำหรับผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขังหญิง ควรส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การสร้างกระบวนการให้ความรู้ทางกฎหมายที่จำเป็นสำหรับผู้ต้องขัง และการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขัง รวมถึงการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพฯ มีส่วนของข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 1. ด้านนโยบายของรัฐและองค์กรในระบบงานยุติธรรม ควรมีแผนแม่บท หรือจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาทางเลือก (Alternative Development) และแนวทางการใช้มาตรการทางเลือกในกระบวนการยุติธรรมอย่างชัดเจนที่เน้นการปล่อยตัวชั่วคราวหรือให้ประกันในชั้นก่อนฟ้องคดี (Alternatives to jail at the pretrial stage หรือ Pretrial Alternatives to detention) โดยมีบัญชีมาตรฐานการปล่อยตัวชั่วคราวหรือในการให้ประกันตัว (Bail Guidelines) 2. ด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ควรตรา “กฎหมายว่าด้วยทางเลือกแทนการคุมขังสำหรับผู้ต้องขังสตรี” เน้น การใช้มาตรการบังคับหรือลงโทษระดับกลาง (Intermediate Sanctions or Intermediate Punishment) 3. ด้านเจ้าหน้าที่ ควรพัฒนาวิธีคิด ทัศนคติของบุคลากรในองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง ให้แรงจูงใจเชิงบวกหรือให้รางวัลกับเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่ทำให้การกระทำผิดซ้ำน้อยลง 4. ด้านการสร้างทางเลือกหรือโปรแกรมสำหรับผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขัง ควรจำแนกผู้กระทำผิด/ผู้ต้องขัง โดยการประเมินตามความเสี่ยงและความต้องการจำเป็น (Assessment of Risk and Needs) และใช้วิธีปฏิบัติตามระดับความเสี่ยง หากพบว่า มีความเสี่ยงระดับปานกลางหรือน้อย หมายถึง ไม่เป็นอันตรายต่อสังคมมากนัก ควรใช้มาตรการไม่ควบคุมตัวทันที โดยอาจมีมาตรการเสริมบางอย่างเพื่อการป้องกัน เช่น การใช้เครื่องมืออิเลคทรอนิกส์ (Electronic Monitoring-EM) ช่วยดูแลth
dc.description.abstractThe purpose of the study of “the Alternative Suggestions to Imprisonment and Non-custodial Measures for Female Inmates, and the Educational Promotion of Legal Awareness in accordance with the Bangkok Rules” was, first, to study suitable alternative measures for female inmates, second, to study how to reduce the term of imprisonment with fair and justice, third, to examine how to access to justice at all stages of criminal justice system with Legal Aid for females inmate, and finally, to revise the relevant laws to comply with the requirements of Bangkok Rules. The research method of this study is Mixed Methods Research, both in quantitative and qualitative method through questionnaires, workshop, legal assistance, and interviews with senior executives. The results showed that justice personnel, including the police, public prosecutors, judges, attorneys, correctional officers and probation officers agreed that creating alternatives to imprisonment and appropriate measures for the female offenders and prisoners should be considered. Additionally, an access to justice in the various stages of the criminal justice process and creating the necessary legal knowledge for inmates should be promoted. And, providing legal advice to prisoners including relevant laws to comply with the requirements of Bangkok Rules should be improved. It is recommended that: 1. In aspects of public policies and organizations in the justice system, a master plan or strategy to develop alternative (Alternative Development) and the use of alternative measures in the justice system, such as pre-trial release should be improved and prepared. 2. In aspects of legal regulations, “Laws on alternatives to detention for female inmates,” should be enacted, especially, focusing on Intermediate Sanctions or Intermediate Punishment. 3. In aspects of officials, the positive attitude of the justice staffs in their operations concerning female offenders should be developed continuously. 4. In aspects of creating alternative programs for female offenders and inmates, assessment of risks and needs should be conducted in order to classify and treat them according to their risk and need level. And, some additional measures, such as Electronic Monitoring (EM) may be used for offenders’ supervision.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectมาตรการไม่คุมขังth
dc.subjectผู้ต้องขังหญิงth
dc.subjectฉลาดรู้ทางกฎหมายth
dc.subjectBangkok Rulesth
dc.titleการสร้างทางเลือกที่เหมาะสมด้วยมาตรการไม่คุมขังกับผู้ต้องขังหญิงและการหลีกเลี่ยงการใช้โทษจำคุก และการสร้างความฉลาดรู้ทางกฎหมาย ตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ
dc.title.alternativeProject on the Creation of appropriate Non-custodial Measures as Alternatives to Imprisonment for Women Inmates, and Legal Knowledge Promotion in accordance with the Bangkok Rules
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
cerif.cfProj-cfProjId2557A00034
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.contributor.clientสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record