Show simple item record

dc.contributor.authorสุเมธ ศิริคุณโชติ
dc.contributor.authorวิริยะ นามสิริพงศ์พันธุ์
dc.contributor.authorบุญมี มีวงศ์อุโฆษ
dc.contributor.authorวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ
dc.contributor.authorชนินทร์ มีโภคี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2010-06-03T02:34:34Z
dc.date.available2010-06-03T02:34:34Z
dc.date.issued2009
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/119
dc.description.abstractบทบาทของศาลในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรนั้นมีปัญหาหลายประการ และเริ่มมีกระแสเรียกร้องเกี่ยวกับประสิทธิภาพของศาลภาษีอากรอย่างสูงทั้งในและต่างประเทศ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มี 4 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีอากรกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากร และบทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร โดยศึกษาเปรียบเทียบกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศ ออสเตรเลีย ประเทศเยอรมนี และประเทศญี่ปุ่น ประการที่สอง ศึกษาวิเคราะห์สภาพของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากร และวิธีพิจารณาคดีของศาลภาษีอากรของประเทศไทย ประการที่สามศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้เสียภาษีอากรจากกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากรของประเทศไทย ประการที่สี่ ศึกษาและวิเคราะห์บทบาทของศาลภาษีอากรต่อการอำนวยความยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร เปรียบเทียบแนวทางและทางเลือกอื่นในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถของศาลภาษีอากร คณะผู้วิจัยได้กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีอากรที่ควรได้รับการคุ้มครองโดยศาลภาษีอากร โดยอ้างอิงตามรายงานของ OECD ในปี 1990 เรื่อง Taxpayers’ rights and obligations – A survey of the legal situation in OECD countries รวมทั้งสิ้น 6 สิทธิ อันได้แก่ สิทธิในการได้รับข้อมูล ความช่วยเหลือ และการรับฟัง สิทธิในการอุทธรณ์ สิทธิในการชำระภาษีเพียงเท่าที่กฎหมายกำหนด สิทธิในการได้รับ การปฏิบัติจากเจ้าพนักงานตามกฎหมายอย่างชัดเจนแน่นอน สิทธิส่วนบุคคล และสิทธิในการได้รับการ รักษาปกปิดความลับ และเพื่อศึกษาวิจัยบทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิทั้ง 6 ประการ ดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ โดยสำรวจปัญหา และจัดทำคำถาม ที่เกี่ยวกับความพึงพอใจต่อการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ข้างต้น แล้วนำไปสอบถามทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกกับผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ศาลภาษีอากร หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง พนักงานอัยการ ผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ ประชาชนผู้มาใช้บริการของศาลภาษีอากร สำนักงานที่ปรึกษา กฎหมาย สมาคมหอการค้าจังหวัด แล้วนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผลด้วยด้วยวิธีการทางสถิติเชิงบรรยาย เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากรและประสิทธิภาพของศาลภาษีอากรที่มีผลกระทบต่อผู้เสียภาษีอากร แล้วจัดทำข้อเสนอแนะโดยศึกษาเปรียบเทียบแนวทางใน การคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรโดยศาลในต่างประเทศทั้งสี่ประเทศเป็นหลัก จากการศึกษาวิจัย พบว่าปัญหาอุปสรรคสำคัญในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรที่ฝ่ายต่าง ๆ เห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ กระบวนยุติธรรมที่ล่าช้ายาวนาน มีค่าใช้จ่ายสูง การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นโดยผู้เสียภาษีอากรทำได้ยาก ศาลภาษีอากรยังมีบทบาทในลักษณะเชิงรุกน้อยเกินไป และยังมีปัญหาเกี่ยวกับกลไกในการสร้างความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาศาลภาษีอากร การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยมาตรการเชิงกฎหมายประกอบกันไปกับมาตรการเชิงบริหารด้วย มาตรการสำคัญ (2) บทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในศตวรรษที่ 21 ในประการแรกได้แก่ ในส่วนของศาลภาษีอากรจำเป็นต้องปรับปรุงเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากร โดยเพิ่มความเชี่ยวชาญของผู้พิพากษาศาลภาษีอากร โดยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปรับปรุงวิธีการคัดเลือกผู้พิพากษาศาลภาษีอากรเพื่อให้ได้ผู้พิพากษาที่เชี่ยวชาญด้านภาษีอากร หรือ ส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างดำรงตำแหน่งและให้ฝึกฝนสร้างความเชี่ยวชาญอยู่ในศาลภาษีอากรอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ประการที่สองได้แก่การลดปัญหาเรื่องเขตอำนาจศาลภาษีอากรโดยขยายให้ครอบคลุมถึงคดีปกครองหรือคดีประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องกับคดีภาษีอากรด้วย ประการที่สามได้แก่การปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการระงับข้อพิพาทภายในฝ่ายปกครอง เพราะเป็นต้นธารของการระงับข้อพิพาททางภาษีอากรทั้งหมด ประการที่สี่ได้แก่การปรับปรุงค่าขึ้นศาลให้ผู้เสียภาษีอากรได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลได้ง่ายขึ้น และในประการสุดท้ายได้แก่การเพิ่มอำนาจศาลในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ศาลมีบทบาทในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรได้ดียิ่งขึ้น เช่น อำนาจการลดเงินเพิ่ม อำนาจการทุเลาการชำระภาษีอากร เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อทำให้บทบาทศาลภาษีอากร ในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดในศตวรรษที่ 21th
dc.format.extent398 หน้า
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectศาลภาษีอากรth
dc.subjectกระบวนยุติธรรมทางภาษีอากรth
dc.subjectสิทธิของผู้เสียภาษีอากรth
dc.subjectการคุ้มครองสิทธิth
dc.subjectศาลภาษีอากรth
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางภาษีอากรth
dc.subjectการคุ้มครองสิทธิth
dc.subjectสิทธิของผู้เสียภาษีอากรth
dc.subjectTaxpayers’ Rightsth
dc.subjectTax Courtth
dc.subjectTax Justiceth
dc.subjectProtection of Rightsth
dc.titleบทบาทของศาลภาษีอากรในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีอากรในศตวรรษที่ 21
dc.title.alternative21st century tax court's role in the protection of taxpayers' rights
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
mods.genreรายงานวิจัย
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail
Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record