Show simple item record

dc.contributor.authorประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิชth
dc.date.accessioned2022-03-18T08:40:03Z
dc.date.available2022-03-18T08:40:03Z
dc.date.issued2565-03-18
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1067
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มุ่งเน้นการศึกษาการรับรู้และความเข้าใจ รวมถึงความเชื่อมั่นและความพึงพอใจ ตลอดจนการศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด ของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่าง ๆ ในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2561 การวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods) ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ซึ่งการวิจัยทั้งสองแนวทางดำเนินการไปพร้อมกัน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มตัวแทนประชากรทั่วประเทศ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายชั้น (Multi-Stage Sampling) จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 12,000 คน โดยแบ่งเป็น 6 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประกอบด้วย กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลัก ๆ ในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ทั้ง 6 กลุ่มได้แก่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ผู้ดำเนินการเลือกสมาชิกวุฒิสภา องค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่ลงทะเบียนไว้กับคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา องค์การเอกชนตรวจสอบการเลือกตั้ง และผู้ตรวจการเลือกตั้ง ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีระดับการรับรู้และความเข้าใจต่อกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาแตกต่างกัน โดยกลุ่มประชาชนมีระดับการรับรู้และความเข้าใจต่อกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาต่ำกว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากสื่อมวลชนไม่สามารถนำเสนอข้อมูลเหตุการณ์ และข่าวสารได้อย่างอิสระ เหมือนการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในอดีต และข้อจำกัดด้านระยะเวลาที่กระชั้นชิดในการดำเนินการสร้างการรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา กลุ่มประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีระดับ ความเชื่อมั่นและความพึงพอใจต่อกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาใกล้เคียงกัน โดยอยู่ในระดับปานกลาง เนื่องจากทั้งกลุ่มประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมองเห็นว่า กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาในครั้งนี้ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องการทุจริตในขั้นตอนต่าง ๆ ได้อย่างจริงจัง อีกทั้งยังมีความคลุมเครือให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของบุคคลที่เข้าสู่กระบวนการเลือกในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ตลอดจนถึงการใช้จ่ายงบประมาณจำนวนมากที่ใช้ในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชกวุฒิสภา แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายของจำนวนผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาตามที่คาดการณ์ไวและปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัดในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา จำแนกเป็น 2 มิติ ดังนี้ มิติแรก ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการรับรู้และความเข้าใจในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พบว่า โครงสร้างของรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์หรือแนวคิด วิธีการ และกระบวนการต่างไปจากการเลือกตั้งแบบเดิม การแสดงบทบาทของสื่อมวลชนทำได้จำกัด และบุคลากรของคณะกรรมการการเลือกตั้งมีระยะเวลาในการเตรียมการดำเนินการจำกัด มิติที่สอง ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พบว่า ขาดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนส่วนใหญ่จึงขาดการยอมรับจากประชาชน ขาดความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนตามกระบวนการเพราะเป็นวิธีการใหม่ ขาดความพร้อมของอุปกรณ์ ระบบฐานข้อมูล ในพื้นที่บางแห่งมีทัศนคติเชิงลบต่อประเด็นงบประมาณจำนวนมาก ขาดการประชาสัมพันธ์ ที่ครอบคลุม มีระยะเวลาที่จำกัด ผู้ผ่านการคัดเลือกที่ผ่านการจับสลากขาดความน่าเชื่อถือ การขาดความเชื่อมั่นถึงความสุจริต ปัญหาการแบ่งกลุ่มผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาขาดความชัดเจน ขาดความเชื่อมั่นถึงคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ปัญหาด้านคุณสมบัติองค์กรที่มีสิทธิเสนอชื่อผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา การสังเกตการณ์การเลือกโดยองค์การเอกชนตรวจสอบการเลือกตั้งดำเนินการได้ไม่ทั่วถึงครบถ้วนทุกจังหวัด และปัญหาค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ผู้สมัครจะต้องรับผิดชอบตลอดกระบวนการในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การปรับปรุงและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องและวิธีการดำเนินการในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาให้เหมาะสมสอดคล้องกับบริบททางการเมืองแบบประชาธิปไตย โดยจำแนกออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ ข้อเสนอเชิงนโยบาย และข้อเสนอเชิงการบริหารจัดการ ข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วยการปรับแก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2561 และระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภาพุทธศักราช 2561 ประการแรก การปรับแก้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาโดยตรงจากประชาชน มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในระดับจงหวัดและระดับประเทศ กำหนดระยะเวลาให้เพียงพอต่อการประชาสัมพันธ์ กระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา และการเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบถึงข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา ประการที่สอง การปรับแก้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2561 ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การเลือกตั้งกันเองภายในกลุ่มเดียวกันของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันไม่เกิน 3 คน การขึ้นทะเบียนผู้ประสงค์สมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาก่อนการสมัครสมาชิกวุฒิสภา 240 วัน และการส่งเสริมการมีส่วนของประชาชนในการติดตามตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา ประการที่สาม การปรับแก้ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2561 ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มวิธีการแนะนำตัวผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาและการปรับปรุงระเบียบกฎเกณฑ์ในการเบิกจ่ายงบประมาณให้คล่องตัว ข้อเสนอเชิงการบริหารจัดการ ประกอบด้วยการเพิ่มช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชน การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และระบบกลไกที่จำเป็นให้เพียงพอ และการจัดสรรงบประมาณ และการยกระดับขีดความสามารถของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ประการแรก การเพิ่มช่องทางในการมีส่วนร่วมของประชาชนในช่วงดำเนินการในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง และการเป็นคณะกรรมการในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาในระดับจังหวัดและระดับประเทศ ประการที่สอง การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ และระบบกลไกที่จำเป็นให้เพียงพอ และการจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายของการดำเนินการในกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ได้แก่ เอกสารข้อมูลผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.18) กระดานแสดงผลการนับคะแนนที่มีขนาดเหมาะสม อุปกรณ์อำนวยความสะดวกแก่ผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภาที่เป็นผู้พิการ และระบบฐานขอมลผู้สมัครสมาชิกวุฒิสภา การจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับค่าใชจ่ายที่เกิดขึ้นจริงและการมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจในการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ ประการที่สาม การยกระดับขีดความสามารถของศูนย์ส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยและการเลือกตั้งตำบล (ศส.ปชต.) ให้เป็นหน่วยงาน กระตุ้นให้ประชาชนเกิดความรู้และความเข้าใจในความสำคัญของสมาชิกวุฒิสภาในกระบวนการทางการเมือง The research of the acquisition of the senators aimed to study the perception and understanding, the confidence and satisfaction, and also the problems, obstacles, and limitation of people and stakeholders in the acquisition of the senators following the Transitional Provisions of the Thai Constitution, B. E. 2560 and Organic Act on the Acquisition of Senators, B.E. 2561. This research used mixed methods including qualitative and quantitative research. It collected by using questionnaires. The sample groups, were random by Multi- Stage Sampling. They were the 12,000 people and stakeholders such as the constitution drafting committees, the executives selecting senators, the registered organization with the election commission, senate candidates, private monitoring election organizations, and election inspectors in 6 areas such as Bangkok, Northern, Southern, central. The result found that: People and stakeholders had the different level of the perception and understanding in the acquisition of the senators. People had the lower level of the perception and understanding in the acquisition of the senators than stakeholders because the mass media could not be free to present information, situation, and news like the former senate election. Besides, it had less time to make people perception about the changing of the acquisition of the senators. People and stakeholders had the medium level of the confidence and satisfaction in the acquisition of the senators because both of people and stakeholders accepted that the acquisition of the senators had not solved the corruption problem in the acquisition of the senator process. Besides, they doubt about the qualification of some senate candidates who could pass to the acquisition of the senator in provincial and national level, and also the large amount of budget to spend in the acquisition of the senator which had less effectiveness of the different amount of the senate candidates between the expectation and the real amount of them And, the problems, obstacles, and limitation of the acquisition of the senators separated to 2 dimensions such as: The first dimension, the problems, obstacles, and limitation of the perception and understanding in the acquisition of the senators found that the structure of the Transitional Provisions of the Thai Constitution, B. E. 2560 and Organic Act on the Acquisition of Senators, B. E. 2561 had the different wills or concepts, methods and process when comparing the former election, the limitation of mass media roles, team of the election commission had less much time to prepare the acquisition of the senator process. The first dimension, the problems, obstacles, and limitation of the confidence and satisfaction in the acquisition of the senators found that people do not accepted because of lack of political participation of people, lacking of the perception and understanding in the acquisition of the senator process because of new method, lack of equipment and data base in some area, the negative attitude about a large amount of budget, lack of public relation, limited time, lack of confidence the senate candidates who got a lucky draw, lack of honest confidence in the process, the classify occupation group problem of senate candidates, the problem of the registered organization with the election commission, the observation problem of private monitoring election organizations not cover every province, and the afford problem of the senate candidates in all of the acquisition process. The solutions of the problem were to amend and adjust involving laws, and also the methods of the acquisition of the senators to accord with democratic political context. The solutions were 2 dimensions: policy proposals and management proposals The policy proposals conclude of the amendment of the Transitional Provisions of the Thai Constitution, B. E. 2560, Organic Act on the Acquisition of Senators, B.E. 2561 and The Regulation of Office of the Election Commission of Thailand on the Acquisition of Senators, B.E. 2561. The first, the amendment of the Transitional Provisions of the Thai Constitution, B.E. 2560 such as to set up the senate election by people, to set up the senate election only in the provincial and national level, to appoint the suitable time for the public relation of the acquisition of senators, and also to have a chance for mass medias and people get more information about the acquisition of senators. The second, the amendment of the Organic Act on the Acquisition of Senators, B.E. 2561 such as to set up only the election upon each internal groups of senate candidates, the rights of every senate candidate to elect others not more than 3 persons, to set up the senate candidate registration before the acquisition of senators in 240 days, and to support the people to observe the acquisition of senators. The third, the amendment of the Regulation of Office of the Election Commission of Thailand on the Acquisition of Senators such as to create more methods about the self-senate candidate introduction and to amend the budget spending in the acquisition of senator’s procedures. The management proposals conclude of to increase the participatory ways of people, to have more preparation in the acquisition of senator’s procedures such as officers, equipment and information technology system, budget spending, and also to support the Center of Supporting Democracy and Sub-district Election (CSDSE) The first, to increase the participatory ways of people during the acquisition of senator’s procedures such as the public relation, the observing in election procedure, and to support being an election committee in the provincial and national senator’s election procedure. The second, to have more preparation in the acquisition of senator’s procedures such as officers, equipment and information technology system, budget spending such as the information of senate candidate form (Sor Wor 18), the suitable size of the result senate election’s display, the support tool for handicapped senate candidates, and the information data base of the acquisition of senator candidates, to set up the suitable budget for the acquisition of senators, and also to deconcentrate the provincial directors of the election commission office to determine the budget spending instead of the provincial governors. The third, to support the Center of Supporting Democracy and Sub-district Election (CSDSE) to be the center of the acquisition of senator information to stimulate the interest and understand the important of the senator in the political process.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินผลกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาth
dc.subjectสมาชิกวุฒิสภาth
dc.subjectส.ว.th
dc.subjectSenator Selection Pressth
dc.subjectกกต.th
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งth
dc.titleวิจัยประเมินผลกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561th
dc.title.alternativeReseaech Assessment ot the Senator Selection Pruess for 2018th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00195th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleวิจัยประเมินผลกระบวนการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record