Show simple item record

dc.contributor.authorพจนา ธูปแก้วth
dc.date.accessioned2021-12-28T07:37:52Z
dc.date.available2021-12-28T07:37:52Z
dc.date.issued2564-12-28
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1041
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เพื่อศึกษารูปแบบพฤติกรรมการเปิดรับชม ความต้องการรูปแบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลของผู้ชมคนไทยในยุคเปลี่ยนผ่านจากโทรทัศน์ในระบบแอนะล็อกดั้งเดิมไปเป็นระบบดิจิตอล จำนวน 9,000 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมกรุงเทพฯและปริมณฑล และภาคใต้และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จากกลุ่มผู้ประกอบการในกิจการโทรทัศน์ที่ได้รับใบอนุญาตและผู้ผลิตเนื้อหารายการจำนวน 36 ท่าน และจัดการประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ใน 4 ภูมิภาค คือ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และ กรุงเทพฯ จากกลุ่มนักวิชาการและผู้รับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลที่ติดตามค่อนข้างประจำ (Heavy Viewer) จำนวน 93 ท่าน เพื่อศึกษาภูมิทัศน์สื่อและปรับตัวของกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเพื่อความสำเร็จและความอยู่รอดของผู้ประกอบการ และศึกษาการบริหารจัดการรูปแบบและเนื้อหารายการ บริหารความนิยมประเภทเนื้อหารายการ และการผลิตเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ผลการศึกษาครั้งนี้ผู้ชมคนไทยมีการเปิดรับสื่อและเนื้อหารายการโทรทัศน์จากเครื่องรับโทรทัศน์มากที่สุดรองลงมาคือแท็บเล็ต/มือถือ และ คอมพิวเตอร์ PC/โน้ตบุ๊ค ตามลำดับ โดยผู้ชมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคใต้ รับชมในระดับปานกลาง ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมงต่อวัน ผู้ชมโดยรวมต้องการรูปแบบและการนำเสนอเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลคือ รายการข่าวที่มีรูปแบบ เบา ๆ และไม่เครียดรายการบันเทิงแบบที่มีสาระความรู้ประกอบและรายการสาระความรู้ที่มีการเล่าเรื่องง่าย ๆ ทั้งนี้ผู้ชมที่มีเพศ อายุ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกันจะมีระยะเวลาที่ชม ประเภทของรายการ รูปแบบ และเนื้อหาของรายการโทรทัศน์แตกต่างกัน แต่ไม่มีความแตกต่างสำหรับผู้ชมที่อยู่อาศัยในเมืองและอาศัยนอกเมือง จากการศึกษายังพบอีกว่า ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบต่อเนื้อหา การลงทุน และความอยู่รอดของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล โดยผลกระทบเชิงบวกทำให้การประกอบกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทยไม่เป็นการผูกขาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ ประชาชนได้รับโอกาสชมรายการโทรทัศน์ที่หลากหลายและมีคุณภาพ แต่ขณะเดียวกันกลุ่มผู้ชมโทรทัศน์ก็มีสภาวะการกระจายตัวและมีช่องทางการเปิดรับสื่อโทรทัศน์ผ่านช่องทาง/แพลตฟอร์มสื่อใหม่มากขึ้น ส่วนผลกระทบเชิงบวกลบพบว่า การประกอบการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลมีการแข่งขันกันด้านการผลิตเนื้อหารายการมากขึ้น ในขณะที่งบประมาณโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์มีมูลค่าลดลง ส่งผลต่อรายรับในการดำเนินธุรกิจกิจการน้อยลง ก่อให้เกิดปรากฏการณ์และการนำเสนอเนื้อหา ภาพ และการรายงานข่าวที่ละเมิด กฎระเบียบข้อบังคับ กฎหมาย สิทธิหลักการและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนในหลายกรณีอย่างไรก็ตามการประกอบกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลให้เกิดผลสำเร็จและอยู่รอดได้ผู้ประกอบการจะต้องพัฒนาและปรับวิธีการทำงานและโครงสร้างองค์กรรองรับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและภูมิทัศน์สื่อสมัยใหม่ วิเคราะห์และกำหนดแนวทางการบริหารเนื้อหาและผลิตรายการโทรทัศน์ไปสู่แพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างมีความเหมาะสม สร้างโมเดลการพัฒนาธุรกิจและรายได้On Air, Online, On Ground ควบคู่กัน โดยแนวทางการบริหารจัดการและการพัฒนารูปแบบ/เนื้อหารายการ จะต้องตอบสนองต่อ “ผู้ชม/ผู้ชมรายการโทรทัศน์” สมัยใหม่ และนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสื่อใหม่ทั้งแอปพลิเคชันและคอมพิวเตอร์กราฟิกมาใช้ในการผลิตรายการและนำเสนอเนื้อหารายการ ข่าว ละคร สารคดี และอื่น ๆ โดยใช้แนวคิดเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าอยู่เสมอ This research project uses the method of Quantitative Research in order to study on the exposure behavioral pattern and the needs for formats and contents of DTTB of Thai audience in the period after the transmission from analog TV to digital TV (post-transmission period). The total number of the samples studied in this research is 9,000. The samples are from the northern region, the northeastern region, the central region and Bangkok and adjacent provinces, and the southern region of Thailand. In addition, this research project also uses qualitative research method whereby data and information are collected from in-depth interviews with licensed TV broadcasting entrepreneurs and content producers the total number of which is 36, and focus group interviews in 4 regions of Thailand, in Chiang Mai Province, Khon Kaen Province, Songkhla Province and Bangkok, with academics and viewers of DTTB (Heavy Viewers), the total number of all of which is 93, with the aim of studying on the media landscape and the adjustment of media to DTTB business under the game-changing technologies for success and survival of entrepreneurs, and studying on the management of formats and contents of the programs, the management of the popularity of contents of programs and the production of contents of programs of DTTB for entrepreneurs’ success and survival. The findings from this study show that most of the Thai audience are exposed to media and contents of TV programs from TV sets, followed by tablets/mobile phones, and PC/laptops, respectively. Audience in northern region, central region, eastern region and southern region of Thailand has exposure in moderate level, or 1-3 hours a day. In the overview, the formats and contents of DTTB that audience prefer are news programs with light and not stressing contents, entertainment programs that educate audience with knowledge through simple and easy story telling tactics. Audiences with differences in terms of genders, age ranges, educational backgrounds and incomes will show differences in terms of categories, formats and contents of TV programs. However, there is no significant difference between audience who reside in urban areas and audience residing in upcountry areas. The findings from the study also point out that the change in medial and scope as impacts on contents, investments and survival of of DTTB. Positive impacts include the protection for TV broadcasting business against being monopolized, increased business opportunities, and opportunities for audience to view diverse and quality TV programs. At the same time, TV audience have been divided into different groups and they have been exposed to TV media through more diverse media channels/platforms. Concerning negative impacts, it has been discovered that the TV enterprises in DTTB business tend to become more competitive with one another in terms of contents of the produced programs whilst the budget for advertising through TV media has dropped. Consequently, the revenue from business operations has decreased. The aforementioned negative impacts have led to the phenomena where contents, images and news are reported and presented in ways that violate regulations, law, rights, principles and ethics of press in several cases. Nevertheless, DTTB business can succeed and survive when entrepreneurs improve and adjust working schemes and organizational structures to support changes in technologies and modern media landscape, analyze and set directions and guidelines for the management of contents and the production of TV programs for different platforms in the proper manner, and establish models for improving the business and incomes, for On Air, Online and On Ground channels simultaneously. The guidelines for the management and development of formats/contents of TV programs must respond to modern ‘audience/audience of TV programs’ and use new media innovations and technologies, including applications and computer graphics, for producing TV programs and presenting contents of news programs, dramas, documentary programs and other programs of other categories, which should always be based on the concept of the addition of values and prices.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectเทคโนโลยีสร้างความพลิกผันth
dc.subjectMedia Landscapeth
dc.subjectภูมิทัศน์สื่อกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลรูปแบบและเนื้อหารายการของโทรทัศน์th
dc.subjectความอยู่รอดth
dc.subjectDTTBth
dc.subjectFormats and Contents of TV Programsth
dc.subjectSurvivalth
dc.subjectGame changing Technologiesth
dc.titleศึกษาผลกระทบและแนวทางการพัฒนารูปแบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในประเทศไทยหลังการเปลี่ยนผ่านth
dc.title.alternativeThe Effect of DTTB on the Broadcasting Services and the Development of Format and Content Guidelines in the Post-Transmission Period in Thailandth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00377th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการประชาสัมพันธ์ (Public Relations sector : PR)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาผลกระทบและแนวทางการพัฒนารูปแบบและเนื้อหารายการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในประเทศไทยหลังการเปลี่ยนผ่านth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record