Show simple item record

dc.contributor.authorสุพจน์ ชววิวรรธน์th
dc.date.accessioned2021-04-29T03:51:12Z
dc.date.available2021-04-29T03:51:12Z
dc.date.issued2564-04-29
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/997
dc.description.abstractการประเมินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มที่ 10 ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐส่วนกลางในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวง รวมถึงหน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร) จำนวนทั้งสิ้น 377 หน่วยงาน พบว่า หน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดได้อย่างครบถ้วนทุกตัวชี้วัด แต่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวทางการตอบแบบวัดของแต่ละตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากผลคะแนนการประเมินที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ร้อยละ 85 ซึ่งแม้จะมีจำนวนที่หน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 64.46 แต่ยังนับว่าห่างไกลจากเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนดจำนวนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ประเมินอย่างน้อยร้อยละ 80 ของหน่วยงานที่เข้าร่วมสำหรับหน่วยงานที่มีผลการประเมินระดับ AA (95.00-100.00) จำนวนทั้งสิ้น 16 หน่วยงานนั้นกว่าครึ่งเป็นหน่วยงานที่มีผลการประเมินแบบตรวจ Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT) เท่ากับ 100 คะแนน ส่วนหน่วยงานที่มีผลคะแนนผ่านเกณฑ์เป้าหมาย (85 คะแนนขึ้นไป) หรือระดับ A มีจำนวนทั้งสิ้น 227 หน่วยงาน ซึ่งเท่ากับมีจำนวนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายทั้งสิ้น 243 หน่วยงาน หรือร้อยละ 64.46 และมีประเภทของหน่วยงานที่มีระดับผลคะแนนสูงสุดตามลำดับดังนี้ กรมหรือเทียบเท่า (91 หน่วยงาน) สถาบันอุดมศึกษา (60 หน่วยงาน) องค์กรมหาชน (33 หน่วยงาน) รัฐวิสาหกิจ (34 หน่วยงาน) หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ (11 หน่วยงาน) รวมถึงหน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (33 หน่วยงาน) ขณะที่หน่วยงานที่มีระดับผลคะแนนสูงสุด 10 อันดับแรกของแต่ละตัวชี้วัด มี 7 หน่วยงำนที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยของทั้ง 3 ตัวชี้วัดสูงกว่าร้อยละ 95 หรือระดับ AA และมีอันดับการประเมิน ITA อยู่ใน 10 อันดับแรกของประเทศประกอบด้วย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (อันดับที่ 1) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (อันดับที่ 4) ธนาคารออมสิน (อันดับที่ 5) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (อันดับที่ 6) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (อันดับที่ 8) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (อันดับที่ 9) และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (อันดับที่ 10) โดยธนาคารอาคารสงเคราะห์และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติยังเป็น 2 หน่วยงานแรกที่มีระดับคะแนนการประเมินการวัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) และการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (OIT) สูงเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ อย่างก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่าผลคะแนนการประเมินแบบวัดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) 8 อันดับแรกนั้น เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม อีก 2 อันดับถัดมาสังกัดกระทรวงการคลัง โดยสรุปผู้ประเมินเห็นว่าหน่วยงานผู้ดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมการประเมินควรทำความเข้าใจแนวทางการตอบแบบวัดของแต่ละตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินร่วมกันในลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) อันจะเป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (learning by doing) ระหว่างการชี้แจงแนวทางปฏิบัติสำหรับการเข้าร่วมโครงการในปีถัดไป ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงถ้อยความของข้อคำถามและระดับการให้คะแนนในแต่ละตัวชี้วัดให้ง่ายต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจ โดยคำนึงถึงผู้ปฏิบัติและ/หรือผู้ตอบแบบวัดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงอันจะเป็นผลต่อความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือของกำรประเมินโดยรวมต่อไป The assessment integrity and transparency in the government sector for fiscal year B.E. 2563 in Group 10 consists of central government agencies under the Office of the Prime Minister, ministries, agencies under the direct supervision of the prime minster, and a special local government agency (City of Bangkok). It is found that participating agencies have followed the procedure in all the indicators, but the lapse in understanding of how the indicators are to be answered is still prevalent, as seen by the fact that while 64.46 percent of the participating agencies have passed the desired 85 percent score, the goal of having 80 percent of participating agencies passing has still not been met. Among the agencies that receives 85 percent score or higher, 16 agencies receives AA ranking (score of 95 – 100 percent), with more than half receives Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT) score of 100, while of the 227 agencies receives 85 percent score (A ranking), totaling 243 agencies or 64.46 percent of participating agencies. The agencies that passes can be categorized into the following categories: departments or equivalent agencies (91 agencies), higher-education institutions (60 agencies), public organizations (33 agencies), public enterprise (34 agencies) other state agencies (11 agencies), and agencies under the direct supervision of the prime minster and a special local government agency (33 agencies). Among the top 10 scoring agencies of each indicator, 7 agencies scores more than 95 percent (AA ranking) in all three indicators, and are among the top 10 scoring agencies in Integrity and Transparency Assessment (ITA). These 7 agencies include: Government Housing Bank (1st ranking), National Broadcasting and Telecommunication Commission (4th ranking), Government Savings Bank (5th ranking), Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (6th ranking), King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (8th ranking), Export-Import Bank of Thailand (9th ranking), Mahachulalongkornrajavidyalaya University (10th ranking). Of these agencies, Government Housing Bank and National Broadcasting and Telecommunication Commission are also the first and second highest-scoring agencies in Integrity and Transparency Assessment: (IIT) and OIT. It is also noticeable that the 8 top-scoring agencies in External Integrity and Transparency Assessment (EIT) are the agencies within the Ministry of Defence while the other 2 are the agencies within the Ministry of Finance. In conclusion, the researchers recommends that the project operators and participants jointly improve the understanding of how the indicators are to be answered and how the assessments are made by setting up workshops during the briefing of next year’s program which would be a process of learning by doing, as well as reviewing and improving the wording of the question and the assessment of each indicator by focusing on the ease of understand on the operators and participants’ part. This would improve the overall accuracy and reliability of the assessment.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินคุณธรรมth
dc.subjectความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐth
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth
dc.titleประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มที่ 10th
dc.title.alternativeThe​ Evaluation​ on​ the​ Integrity and​ Transparency Assessment Project​ on​ the​ Performance of​ Public​ Sector in​ the​ Fiscal​ Year of​ 2020 Group 10th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00617th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มที่ 10th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record