Show simple item record

dc.contributor.authorสมคิด เลิศไพฑูรย์ เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์th
dc.date.accessioned2021-04-02T02:06:57Z
dc.date.available2021-04-02T02:06:57Z
dc.date.issued2564-04-02
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/988
dc.description.abstractปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ระบบราชการของประเทศไทยขาดความยืดหยุ่นและคล่องตัวมาจากการที่ส่วนราชการในระดับกระทรวง ทบวง กรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ตามมาตรา 7 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และการกำหนดให้การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการดังกล่าว ให้กระทำโดยการตราเป็นพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ส่งผลให้การจัดตั้ง รวม โอน หรือยุบเลิกกระทรวง ทบวง กรม กระทำได้ยาก เพราะต้องจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาซึ่งใช้เวลานาน ทำให้ไม่สามารถปรับปรุงโครงสร้างของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ อนึ่งที่ผ่านมาปรากฏความพยายามในการทำให้ระบบราชการของไทยมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวมากขึ้นอยู่หลายครั้ง โดยการดำเนินการหนึ่งที่สำคัญคือ การแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ. 2534 ในปี พ.ศ. 2545 โดยเพิ่มความในมาตรา 18 วรรคสี่ ให้สามารถตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดตั้งส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีแต่มีผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการดังกล่าวเป็นอธิบดีหรือตำแหน่ง ที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดีได้ อย่างไรก็ตามการจัดตั้งส่วนราชการในรูปแบบดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นการเปิดชองให้กระทรวงสามารถจัดตั้งส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรมโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาได้ก็ตามแต่ก็ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงานภายในหน่วยงานอยู่หลายประการ ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามหลักการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะที่ปรึกษาจึงได้ดำเนินการศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการบริหารงานภายในส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 18 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดตั้งและการบริหารงานภายในของส่วนราชการดังกล่าวให้มีความคล่องตัว ทันต่อ การปรับโครงสร้างส่วนราชการและการบริหารงานในอนาคต และศึกษาวิเคราะห์วิธีการจัดตั้งส่วนราชการของต่างประเทศที่มีความยืดหยุ่น โดยศึกษารูปแบบการจัดตั้ง ยุบ เลิก ปรับเปลี่ยนโครงสร้าง การบริหารราชการ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม มาปรับใช้กับการบริหารราชการ เพื่อให้สอดคล้องกับยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในระบบราชการ เพื่อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาการจัดโครงสร้างส่วนราชการ การบริหารราชการ และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้กับการบริหารราชการภายในส่วนราชการไทยให้มีรูปแบบที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และเหมาะสมมากขึ้น ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะของคณะที่ปรึกษา จะทำให้การจัดระบบราชการของประเทศมีความยืดหยุ่นและคล่องตัวอย่างแท้จริง ฝ่ายบริหารสามารถที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้าง หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการในทุกระดับให้เท่าทันกับสถานการณ์ของประเทศและของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่มุ่งให้ภาครัฐมีความทันสมัย องค์กรภาครัฐ มีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับบริบทการพัฒนาประเทศ และพัฒนาและปรับระบบวิธีการปฏิบัติราชการให้ทันสมัย และสามารถจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง One of the significant problems that make the bureaucratic in Thailand lack flexibility and agile comes from the government agencies at the ministry and departments level are formed as a legal entity. Following Section 7, paragraph two of the National Government Organization Act, BE 2534 (1991) and the establishment, merger, or transfer of such government agencies proceeded by enacting an action under section 8 of the same Act. As a result, the establishment, merger, transfer, or dissolution of ministries, bureaus, and departments were difficult because the government had to make into a Bill to improve the ministries, departments, and departments into consideration by the parliament that took a long time, making it impossible to improve the government structure to keep up with the current situation that changed rapidly. Previously, the bureaucratic system more flexible and agile. One of the most important actions was the amendment of the National Government Organization Act, BE 2534 (1991) in BE 2545 (2002) by adding the provisions of Section 18, paragraph four, to enact the Royal Decree to establish the government agencies. The organization did not have any status of government but had a supervisor of such government agency as Director-General (or a similar position), that the position can be called by other names as the Director-General. Although it could provide the opportunities for the ministries to establish a government agency that did not have a departmental status by enacting the Royal Decree, there were still many problems and obstacles in the administration of the department which were impossible to proceed the function of agencies according to the principles. The advisory committee has studied problems, obstacles, and advice for the internal administration of government agencies established under Section 18, paragraph four of the National Government Organization Act, BE 2534 (1991) to improve the establishment and internal administration of such government agencies, including to be a flexible timely adjustment. Government structure and administration in the future were studied and analyzed the various methods for establishing government agencies of foreign countries that are workable organizing. We were more interested in the form of establishment, dissolution, restructure of a public administration, additionally the engagement of technologies and innovation to improved the public administration for complying with the Digital Era. This study also presents solutions' suggestions to solve the problems in organizing the government structure, public administration, and the approach of technology and innovation to the public administration within the Thai government agencies to be more flexible, flexible, and appropriate. The study's results and recommendations of the advisory committee will create the organization of the country's bureaucracy more flexible and mobility. The political administration can modify the structures, duties, and powers of government agencies at all levels to be more effective and can cope with the rapidly changing situation of the country and the world. Moreover, the agencies can be improved in line with the national strategy aimed at modernizing the government, flexible to the national development context, including to develop and adjust the system of a government operation to be up to date and able to provide public services to meet the needs of the people.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectรูปแบบการจัดตั้งส่วนราชการth
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการth
dc.titleศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งส่วนราชการให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติth
dc.title.alternativeA Study on the Guidelines for Changing the Form of Establishing a Government Agency to be Flexible in order to Support the Implementation of the National Strategyth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00595th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาแนวทางการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดตั้งส่วนราชการให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ชาติth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record