Show simple item record

dc.contributor.authorวิไลวรรณ จงวิไลเกษมth
dc.date.accessioned2020-12-30T07:19:36Z
dc.date.available2020-12-30T07:19:36Z
dc.date.issued2563-12-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/955
dc.description.abstractโครงการการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส มีวัตถุประสงค์ คือ1) เพื่อประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact) จากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส 2) เพื่อประเมินความคุ้มค่าและผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนในการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส 3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมที่เหมาะสมสำหรับสื่อสาธารณะ โดยศึกษาและวิเคราะห์การปฏิบัติงานขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะจากเอกสาร “สารเคมีเกษตรและพาราควอต ปี 2562” Executive Summary เอกสาร “Book Keeping สารเคมีเกษตรและพาราควอต” ข้อมูลการใช้ “งบประมาณ สารเคมีการเกษตร” และข้อมูล “Rating สารเคมีเกษตร 2559-2562” อีกทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส โดยใช้หลักการประเมินผลกระทบทางตรง ผลกระทบทางอ้อม ผลกระทบสืบเนื่อง ผลการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็น “สารเคมีการเกษตร” ของไทยพีบีเอส พบว่า ผลกระทบทางตรง มีมูลค่าเท่ากับ 24,205,800 บาท ผลกระทบทางอ้อม มีมูลค่าเท่ากับ 957,106,000 - 988,192,000 บาท ผลกระทบสืบเนื่อง มีมูลค่าเท่ากับ 1,629,420,000 - 2,443,420,000 บาท และผลกระทบโดยรวม มีมูลค่าเท่ากับ 2,610,731,800 - 3,455,817,800 บาท ผลกระทบโดยรวมหลังปรับค่าสัดส่วนการมีส่วนร่วม จะมีค่าเท่ากับ ขั้นต่ำ 24,205,800 + ((957,106,000 + 1,629,420,000)*0.2432 = 652,990,270.6 ขั้นสูง24,205,800 + (988,192,000 + 2,443,420,000)*0.2431 = 858,430,677.2, ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) มีค่าเท่ากับ ขั้นต่ำ 81 เท่า ขั้นสูง 106เท่า จากค่าเฉลี่ยสัดส่วน 0.2431 หมายถึง ทุก ๆ 1 บาทที่ไทยพีบีเอสลงทุนไปในการดำเนินการการขับเคลื่อนสารเคมีการเกษตร จะส่งผลตอบแทนต่อสังคมราว 81 บาท ถึง 106 บาท โดยประมาณ ดังนั้น การสนับสนุนให้ไทยพีบีเอสดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในระดับสูงมากนอกจากนี้ ผู้ประเมินได้ใช้แบบประเมินการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่า ไทยพีบีเอสมีส่วนร่วมในการสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมกรณีขับเคลื่อนประเด็นสารเคมีเกษตรเท่ากับ ร้อยละ 24.32 (53.5/220) ซึ่งผู้ประเมินจาก 5 กลุ่มให้น้ำหนักการมีส่วนร่วมกับไทยพีบีเอสมากที่สุด รองลงไปเป็นภาคการศึกษาวิจัย วช/สกว. นักวิจัย ที่มีส่วนร่วมร้อยละ 20.9 (46/220) สอดคล้องกับการสัมภาษณ์ในพื้นที่ นอกจากนั้น ผู้ประเมินได้ประเมินประเด็นความสำเร็จของการขับเคลื่อนใน 6 ประเด็น ซึ่งครอบคลุมประเด็นเรื่อง (1) ผู้ป่วยลดลง (2) ประชาชนตื่นตัว (3) รายได้เพิ่มขึ้น (4) ต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรลดลง (5) มีความปลอดภัยในด้านสุขภาพ และ (6) มีสวัสดิการที่ดีขึ้น การประเมินความสำเร็จนี้เพื่อสอบทานกับเป้าหมายการขับเคลื่อนและเป้าหมายของความร่วมมือของทุกภาคส่วนว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งพบว่า การขับเคลื่อนประเด็นสารเคมีทางการเกษตรนั้น มีประเด็นที่เด่นชัด คือ การที่ประชาชนในพื้นที่ตื่นตัว ร้อยละ 87.5 ตามมาด้วย การมีความปลอดภัยด้านสุขภาพ ร้อยละ 84.09 และจำนวนผู้ป่วยลดลง ร้อยละ 78.4 ตามลำดับในขณะที่ประเด็นเรื่องสวัสดิการของคนในพื้นที่ดีขึ้นนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องมองว่าเป็นประเด็นที่มีความสำคัญในลำดับท้ายที่สุด กล่าวคือ ร้อยละ 53.4 ซึ่งประเด็นความสำเร็จในการขับเคลื่อนประเด็นสารเคมีทางการเกษตรนี้พบว่าสอดคล้องกับความตั้งใจแรกเริ่มที่ทางหน่วยงานที่มีส่วนร่วมพยายามขับเคลื่อนในประเด็นนี้ โดยมุ่งหวังแก้ปัญหาทางสุขภาพของคนในพื้นที่เป็นสำคัญ และการที่ไทยพีบีเอสมีส่วนร่วม ทำให้เกิดการตื่นตัวของประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด ก่อนที่จะส่งผลในเป้าหมายอื่น ๆ ดังนั้น ผู้ประเมินจึงสรุปว่า การขับเคลื่อนประเด็นสารเคมีทางการเกษตรของไทยพีบีเอสนั้น ส่งผลสำเร็จทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมในเชิงมูลค่า และสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนอีกด้วย Evaluating and Monitoring the social impact from the movement “Agrochemicals” of Thai PBS has 3 objectives 1) To assess social impact from driving the issue “Agrochemicals” of Thai PBS 2) To assess the value and social return from investment in driving the issue. “Agrochemicals” by Thai PBS 3) To analyze guidelines and recommendations for driving social issues appropriate for public media. By studying and analyzing the performance of public broadcasting organizations from documents "Agrochemicals and Parquart Year 2019", Executive Summary Document, "Book Keeping Agrochemicals and Parquat" information on the use of "Agrochemical Budget" and "Agrochemical Rating 2016-2019" and qualitative research and quantitative research that deals with driving issues by using the principles of direct benefits, indirect benefits, induced benefits. The results of social compensation assessment from the issue driven “Agrochemicals” of Thai PBS found that Direct impact The value is 24,205,800 bahts. Indirect effect, the value is 957,106,000 - 988,192,000 bahts. The consequences, equal value 1,629,420,000 - 2,443,420,000 bahts and overall impact Equal value 2,610,731,800 - 3,455,817,800 bahts. Overall Impact after adjustment of the engagement ratio will be equal to the minimum 24,205,800 + (957,106,000 + 1,629,420,000) * 0.2432 = 652,990,270.6 upper 24,205,800 + (988,192,000 + 2,443,420,000) * 0.2431 = 858,430,677. Social compensation (SROI) is equal to the minimum 81 times 106 times the average ratio of 0.2431, meaning every 1 baht that Thai PBS invests in driving agrochemicals and will return approximately 81 bahts to 106 bahts for society. Therefore, supporting Thai PBS to do so has a very high level of benefit to society. Thailand PBS contributes to the impact on the economy and society in the case of agrochemicals driving 24.32% (53.5 / 220). The assessors from 5 groups gave the greatest weight to involvement with Thai PBS. Followed by the research semester, NCC / TRF. Researchers with 20.9% participation (46/220) were consistent with the local interview. In addition, the assessor assessed the success of the movement in six areas, covering (1) decreased patients (2) awareness of the population (3) increased income (4) lower production costs of agricultural products (5) saferhealth and (6) better welfare. This achievement assessment is to verify that the driving goals and cooperation goals of all sectors are consistent or not. Which was found to drive the issue of agricultural chemicals. The key issue was 87.5 percent of residents in the area were awake, followed by 84.09 percent of health safety and 78.4 percent of cases, respectively, while welfare issues for local residents improved. that those involved saw it as the bottom line of importance, 53.4 percent. The success issue in driving the issue of agricultural chemicals was found that this is consistent with the original intention that the participating agencies are trying to drive on this issue. With the aim of solving the health problems of the local people and the participation of Thai PBS causing the awakening of the people which is the most important goal Before it results in other goals. Therefore, the assessor concluded that Driving the issue of Thai PBS agricultural chemicals is resulting in both economic and social success in terms of value And create awareness among the people as well.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectผลตอบแทนทางสังคมth
dc.subjectสารเคมีการเกษตรth
dc.subjectSocial Impactth
dc.titleการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็นth
dc.title.alternativeEvaluating and Monitoring the social impact from the movement “Agricultural Chemical” of Thai PBSth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00028th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการขับเคลื่อนประเด็นth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record