• Login
    View Item 
    •   TU-RAC Repository Home
    • สาขาสิ่งแวดล้อม
    • โครงการวิจัย
    • View Item
    •   TU-RAC Repository Home
    • สาขาสิ่งแวดล้อม
    • โครงการวิจัย
    • View Item
    JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

    Browse

    All of TU-RAC RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFundersThis CollectionBy Issue DateBy Submit DateResource TypesProject TypesResearch SectorsSubjectsTitlesAuthorsClientsFunders

    My Account

    LoginRegister

    ความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยาและสารพฤกษเคมีในหนอนตายหยาก Stemona aphylla Craib ในประเทศไทย

    by สุเมธ คงเกียรติไพบูลย์
    ความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยาและสารพฤกษเคมีในหนอนตายหยาก Stemona aphylla Craib ในประเทศไทย
    Morphological and Phytochemical Diversity of Stemono aphylla Craib (Stemonaceae) in Thailand
    สุเมธ คงเกียรติไพบูลย์
    2563-12-18
    สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    หนอนตายหยาก (Stemona aphylla Craib) เป็นพืชซึ่งมีสถานภาพเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว (endemic species) พบในประเทศไทย มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและจำหน่ายในท้องตลาด ใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชจากธรรมชาติและใช้รักษาบรรเทาอาการโรคต่างๆ แต่ปัจจุบันยังขาดข้อมูลการศึกษาด้านคุณภาพสมุนไพรโดยเฉพาะข้อมูลด้านสารสำคัญของพืช นอกจากนี้ ยังพบความหลากหลายของสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องลงพื้นที่สำรวจและศึกษาสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบของพืช เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการใช้ประโยชน์จากพืชดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ จากการสำรวจพบการกระจายพันธุ์ของหนอนตายหยาก (S. aphylla Craib) ตามเขตพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย ได้ทำการแยกสารที่เป็นองค์ประกอบหลักโดยวิธีทางโครมาโทรกราฟี ได้สารบริสุทธิ์ทั้งหมด 3 ชนิด คือ protostemonine, stemocurtisine และ oxystemokerrine ทำการเปรียบเทียบสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักในส่วนรากด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง โดยมุ่งเน้นการตรวจวัดสารกลุ่มแอลคาลอยด์ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลัก จากการศึกษาพบว่า หนอนตายหยาก (S. aphylla Craib) มีความแตกต่างกันในด้านของสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบ โดยสามารถพบว่าสารสำคัญหลักมีความแตกต่างกันในแต่ละประชากรของหนอนตายหยาก ในขณะที่ภายในประชากรเดียวกัน ไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนในด้านของชนิดของสารสำคัญที่เป็นองค์ประกอบ เพียงแต่พบความแตกต่างของปริมาณสารเท่านั้น การศึกษาครั้งนี้ยังไม่พบลักษณะเฉพาะทางสัณฐานวิทยาที่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้สารออกฤทธิ์ที่สำคัญได้ ทำให้การตรวจสอบคุณภาพหนอนตายหยากชนิด S. aphylla Craib ยังคงต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงอยู่ ซึ่งขั้นตอนการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรให้ได้มาตรฐานยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาสมุนไพรไทย อันจะส่งผลให้เกิดการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนต่อไป Stemona aphylla Craib (vernacularly known as “Non Tai Yak” in Thai) is the endemic plants in Thailand. It has been available for sale in the market and traditionally used and as natural insecticide and treatment of various diseases. However, the lacking of quality data especially the phytochemical constituents hampered the development. While the variation of chemical constituents has been reported, there is a little research data. Therefore, it is needed to conduct the field survey and phytochemical study of this plant in order to establish the necessary data for the effective used. From the field study, S. aphylla distributed throughout the northern, central, northeastern, eastern, southern floristic regions of Thailand. Major constituents have been isolated. They are identified as protostemonine, stemocurtisine, and oxystemokerrine. A comparative analysis of major components was conducted using high-performance liquid chromatography coupled with diode array detector. The results showed that there is a difference of phytochemical constituents in each population of S. aphylla while there is no marked difference within the same population. Only the variation in quantity was observed within the same population. However, there is no marked in morphology for indicating the presence of active phytochemical constituents. Therefore, the quality assessment should be relied on the scientific method. The quality evaluation process of S. aphylla is needed to ensure the quality standard and the development of herbal products for the sustainable use of biodiversity resources.

    หนอนตายหยาก
    สารพฤกษเคมี
    แอลคาลอยด์
    Stemona aphylla
    Stemona
    Stemonaceae
    Phytochemical
    Alkaloids
    รายงานวิจัย
    Text
    application/pdf
    tha
    เอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
    บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้
    สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)
    https://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/951
    Show full item record

    Files in this item (CONTENT)

    type-icon
    View
    no fulltext.doc ( 21.50 KB )

    This item appears in the following Collection(s)

    Collections
    • โครงการวิจัย [71]
    Thammasat University Research and Consultancy Institute
    Anekprasong 1 Buliding, 7th Floor, 2 Prachan Road, Phraborommaharajchawang Phranakorn, Bangkok 10200
    8.30 – 16.30
    0-2613-3120-2, 0-2223-3757
    0-2224-1376
    Copyright © Thammasat University. All Rights Reserved.

    ‹›×