Show simple item record

dc.contributor.authorเดชา สังขวรรณth
dc.date.accessioned2020-11-30T06:48:07Z
dc.date.available2020-11-30T06:48:07Z
dc.date.issued2563-11-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/939
dc.description.abstract“การพัฒนาต้นแบบการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชน” เป็นการทดลองเชิงปฏิบัติการโดยมีชมรมผู้สูงอายุ เป็นแกนนำ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาและสาเหตุการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุในชุมชนมาตรการและแนวทางในการป้องกัน คุ้มครอง และเฝ้าระวังผู้สูงอายุจากการถูกทอดทิ้ง และการทารุณกรรมในสังคมไทยและต่างประเทศ และจัดทำเป็นคู่มือ ดำเนินการใน 8 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนไทยเทยิ่น กรุงเทพมหานคร ชุมชนเทศบาลตำบลหนองลาน จังหวัดกาญจนบุรี ชุมชนเทศบาลเมือง หนองปรือ จังหวัดชลบุรี ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชนตำบลห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ชุมชนเทศบาลเมืองนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ชุมชนตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี และชุมชนเทศบาลตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ผลการศึกษาโดยสรุป มีดังนี้ การสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 2,145 ราย พบว่า ผู้สูงอายุ ถูกกระทำความรุนแรงทางด้านอารมณ์จิตใจ ร้อยละ 55.7 การทอดทิ้งละเลย ร้อยละ 39.6 ด้านการเอาประโยชน์ในทางทรัพย์สิน ร้อยละ 21.2 ด้านร่างกาย ร้อยละ 11.9 และการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 0.9 ทั้งนี้พบว่าโดยส่วนใหญ่ผู้กระทำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุมักเป็นลูกหลาน คู่สมรส ญาติพี่น้อง คนดูแล คนใกล้ชิด เพื่อน และเพื่อนบ้าน ที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ผลจากการทดลองและพัฒนารูปแบบการป้องกัน คุ้มครอง และเฝ้าระวังการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุ พบว่า เกิดการเรียนรู้ถึงสถานการณ์ปัญหาการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุในชุมชน เกิดกิจกรรมการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักต่อปัญหา เกิดการพัฒนาแนวทางและทักษะในการเฝ้าระวังปัญหาในกลุ่มเสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อความรุนแรงหรือการถูกทอดทิ้งและทารุณกรรมโดยใช้แนวคิดความเป็นเพื่อนบ้านและเกิดการสร้างนวัตกรรมและกลไกป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รัฐบาลและหน่วยงานในระดับนโยบายควรรณรงค์ให้สังคม ชุมชน ได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหาการทอดทิ้งและทารุณกรรมผู้สูงอายุ และมีนโยบายการส่งเสริมสวัสดิการครอบครัวที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ชัดเจน และหน่วยงาน องค์กร สถาบันที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุและปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ ควรมีการรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนความเชื่อและทัศนคติว่าความรุนแรง ต่อผู้สูงอายุเป็นปัญหาสาธารณะ ที่สังคม ชุมชน ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไข ควรมีระบบในการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงต่อผู้สูงอายุในชุมชน และควรมีการพัฒนาศักยภาพชมรมผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหาความรุนแรง ต่อผู้สูงอายุ และการดูแลโดยเพื่อนบ้าน “Development of Prototype for Prevention, Protection and Monitoring the Neglect and Abuse to the Elder through the Participation by Elder Clubs, Families and Communities” is an operational experiment with elder clubs being the core of the study on situations, problems and causes of the abandonment and abuse against the elder in Thai communities, measures and directions for preventing, protecting and monitoring the elder from being abandoned and abused in Thai society and other societies, and to design a manual for the operations in 8 areas, namely, Thai-Tejin Village, Bangkok; Nong Lan Sub-district Municipality, Kanchanaburi Province; Mueang Nong Prue Municipality, Chonburi Province; Ban Mai Phatthana Community, Chiang Mai Province; Community of Hang Chat Sub-district, Lampang Province; Mueang Nang Rong Municipality, Buriram Province; Nai Mueang Sub-district Municipality, Ubon Ratchathani Province, and KhaoChaison Sub-district Municipality, Phatthalung Province. The findings from the study can be concluded as follows. From the survey on violence against the elder in the communities from 2,145 respondents, it is found out that 55.7 percent of the elder are victims of emotional and mental violence, 39.6 percent experience abandonment, 21.2 percent are exploited for assets, 11.9 percent are victims of physical violence and 0.9 percent are victims of sexual abuse. It is also discovered that most of the people who take violent actions against the elder are offspring, spouses, relatives, caregivers, close people, friends and neighbors who have mutual dependence with the elder. The results from the development of the pattern for preventing, protecting and monitoring the abandonment and abuse against the elder show that there is the learning of the situations and problems of abandonment and abuse against the elder in the communities. There are also activities to solve problems by the communities in order to build awareness of the problems. There is also the development of directions and skills of monitoring the problems for the groups with high risk of being victims of violence, abandonment or abuse with the implementation of neighboring concept. In addition, there is the creation of innovations and mechanisms for protecting, preventing and monitoring the abandonment and abuse to the elder. As for the suggestion in the policy level, it is suggested that the government and agencies in policy level should encourage the society and communities to be aware of the problems of the abandonment and abuse to the elder. There should be the clear policy to promote family welfare that is relating to the elder. Agencies, organizations and institutes that are related to the elder and problems of violence against the elder should encourage people to change beliefs and attitudes in order to understand that violence against the elder is a public issue that the society and communities must take parts in preventing and solving the related problems. There should be a system for the protection, prevention and monitoring for the problems of violence against the elder in the communities. Furthermore, the efficiency of elder clubs should be enhanced through the supports for the arrangement of activities to prevent and monitor the problems of violence against the elder, and there should be the promotion of the care by neighbors activity.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการป้องกันth
dc.subjectคุ้มครองth
dc.subjectเฝ้าระวังth
dc.subjectการทอดทิ้งและทารุณกรรมth
dc.subjectผู้สูงอายุth
dc.subjectPreventionth
dc.subjectProtectionth
dc.subjectMonitoringth
dc.subjectNeglect and Abuseth
dc.subjectThe Elderth
dc.titleพัฒนาต้นเเบบการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งเเละทารุณกรรมผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนth
dc.title.alternativeDevelopment of Model for Elderly Club, Family and Community Participation in Prevention and Protection on Violence Against Older Personsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00464th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนาต้นเเบบการป้องกัน คุ้มครอง เฝ้าระวังการทอดทิ้งเเละทารุณกรรมผู้สูงอายุ โดยการมีส่วนร่วมของชมรมผู้สูงอายุ ครอบครัว และชุมชนth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record