Show simple item record

dc.contributor.authorระพีพรรณ คำหอมth
dc.contributor.authorวรรณวดี พูลพอกสินth
dc.date.accessioned2020-10-20T08:39:46Z
dc.date.available2020-10-20T08:39:46Z
dc.date.issued2563-10-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/910
dc.description.abstractการศึกษาโครงการพัฒนากลไกการส่งเสริมสิทธิคนพิการตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล และส่งเสริมระบบการจัดการคนพิการรายบุคคล (Case management) และเพื่อจัดทำตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล ระเบียบวิธีการศึกษา เป็นการใช้แบบพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ คนพิการที่ทำการสำรวจข้อมูลในปี 2561 ในพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัดจำนวน 540 คน และจัดทำแผนได้จำนวน 484 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบประเมินคนพิการมาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และแผนการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาภาพรวมมีดังนี้ ผลการประเมินคนพิการมาตรฐานการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพบว่า แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล ประกอบด้วย 7 ดัชนี ได้แก่ (1) ด้านสิทธิและความเสมอภาคมี 7 ตัวชี้วัด (2) ด้านสุขภาวะคนพิการมี 4 ตัวชี้วัด (3) ด้านการศึกษา มี 5 ตัวชี้วัด (4) ด้านอาชีพ การจ้างงานและรายได้ มี 7 ตัวชี้วัด (5) ด้านการออกสู่สังคม มี 9 ตัวชี้วัด (6) ด้านกีฬาและนันทนาการมี 3 ตัวชี้วัด (7) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกมี 3 ตัวชี้วัด รวมทั้งสิ้น 38 ตัวชี้วัด ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดที่คนพิการมีมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ประเภทความพิการพบว่า 1 ใน 3 เป็นคนพิการประเภททางการเคลื่อนไหว รองลงมาเป็นคนพิการทางการได้ยิน และทางการมองเห็นตามลำดับ ภาพรวมผลการประเมินพบว่า คนพิการที่มีแนวโน้มจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากกว่าคนพิการประเภทอื่น ๆ คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย คนพิการทางการเห็น และคนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย ผลการประเมินตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลใน (IQLP) พบว่า คนพิการ 3 จังหวัดที่มีผลประเมินอยู่ในระดับดีมากได้แก่ นครนายก สุรินทร์ และจังหวัดกระบี่ ภาพรวมคนพิการมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก ผลการศึกษายังพบว่า เจ้าหน้าที่บางส่วนยังขาดความเข้าใจในการใช้แบบประเมินฯ การประเมินผลระดับคุณภาพชีวิต การวางแผนการปฏิบัติงานต่อเนื่อง รวมไปถึงข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ในการเข้าถึงคนพิการและการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการมีภาระงานประจำที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนบุคลากร ข้อเสนอแนะต่อกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำโปรแกรมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกอบด้วย แบบประเมินมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลที่ทำให้ศูนย์บริการคนพิการจังหวัดสามารถใช้ข้อมูลครอบครัวคนพิการ (Disabilities Persons Folder [DPF]) มาปฏิบัติงานประเมิน วิเคราะห์ วางแผน ดำเนินการ และประเมินผลตามกลุ่ม A (ช่วยเหลือตัวเองได้) กลุ่ม B (ช่วยเหลือตัวเองได้มีผู้ดูแล) กลุ่ม C (ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พึ่งพาผู้ดูแล) ควรอบรมการใช้คู่มือแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล ควรบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์บริการคนพิการจังหวัดกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล (รพ.สต.) การศึกษานอกระบบ (กศน.) วิทยาลัยอาชีพชุมชนและสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดได้มาร่วมสนับสนุนส่งเสริมอาชีพที่ตรงกับความต้องการของคนพิการรายบุคคล โดยใช้กลไกคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคล The study of Developing the Mechanism to Promote the Rights of Persons with Disabilities according to Individualized Quality Life Plan [IQLP] is aimed to identify individual development plan in improving the quality of life of each person with disabilities, and to promote management system of individual person with disabilities (Case management). The methodology of the study is based on IQLP. The survey was collected in 2015 in 8 targeted provinces. The sample size is 540, 484 of which were developed into IQLP. The study used the standard assessment form in regard to the promotion and development of the quality of life of persons with disabilities, and the Individualized Quality of Life Plan [IQLP]. The raw data collected is analyzed by using descriptive statistics, which are frequency, percentage, median, and standard deviation. The overall findings are as follows: IQDP can be classified into 7 types which are (1) rights and equality consisting of 7 indicators; (2) well-being consisting of 4 indicators; (3) education consisting of 5 indicators; (4) occupation, employment and income consisting of 7 indicators; (5) socialization consisting of 9 indicators; (6) sports and recreation consisting of 3 indicators; and (7) facilities consisting of 3 indicators. The overall indicators are 38. 3 provinces with the largest number of persons with disabilities are Khon Kaen, Surin and Phetchabun. One third of the persons with disabilities participating in the study have physical disability, followed by hearing impaired and visually impaired problem respectively. In addition, the assessment of the study of IQLP is that the situation of persons with disabilities in Nakhon Nayok, Surin, Krabi is very good. The operation staffs still lack good understanding of how to use the assessment form. The concerns are how to utilize the assessment form to identify the level of quality of life of persons with disabilities, and how to develop on-going development plan. As well, limitation in accessing persons of disabilities in each location, cooperation with other related agencies, their overwhelming daily workload, and their duplicated work with other related agencies working in the same areas contributing to the challenges in using the assessment form. Recommendations presented to the Department of Empowerment of Persons with Disabilities and relevant agencies are: Establish a project to develop quality of life plan of persons with disabilities consisting of Disabilities Persons Folder [DPF] that helps classify persons with disabilities into group A (persons with disabilities who can help themselves), group B (persons with disabilities who partially help themselves but still in need supports from helpers), and group C (totally dependent on helpers). There should be a training of how to use the manual of IQLP, an integration of the jointed work between Provincial Disabilities Services Centers and Heath Promoting Hospitals, Informal Education Offices, and Provincial Skill Development Institutes. The integration will ensure that persons with disabilities are provided with specific occupational support, and the support is conveyed through the mechanism of provincial committee in promoting and developing the quality of life of persons with disabilities.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสิทธิคนพิการth
dc.subjectแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลth
dc.subjectประเมินth
dc.titleพัฒนากลไกการส่งเสริมสิทธิคนพิการตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลth
dc.title.alternativeThe project to develop the mechanism to promote the rights of people with disabilities in accordance with the individual development plan (IDP) for the quality of life of the disabledth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00390th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleพัฒนากลไกการส่งเสริมสิทธิคนพิการตามแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการรายบุคคลth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record