Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth
dc.date.accessioned2020-10-06T02:02:00Z
dc.date.available2020-10-06T02:02:00Z
dc.date.issued2563-10-06
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/907
dc.description.abstractพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับ ที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 8 กำหนดให้การจัดการศึกษายึดหลักการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน โดยให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 15 ระบุให้การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยสถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือทั้ง 3 รูปแบบก็ได้ รวมถึงการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสะสมผลการเรียนไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกัน หรือต่างรูปแบบได้ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้มีการจัดการศึกษาด้วยระบบธนาคารหน่วยกิต อย่างไรก็ตามการศึกษารูปแบบระบบธนาคารหน่วยกิตในประเทศไทยยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน และในส่วนของภาคอุดมศึกษานั้นยังมีผู้ศึกษารูปแบบระบบธนาคารหน่วยกิตน้อย และการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการยังไม่มีผู้ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ คือ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารหน่วยกิตและกลไกขับเคลื่อนในระดับอุดมศึกษา รวมถึงศึกษาความเชื่อมโยงกับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการ เพื่อให้เกิดบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นทางวิชาการ และยังเป็นข้อมูลให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตลอดจนใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายการศึกษาได้ต่อไป การศึกษาครั้งนี้มีการรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารหน่วยกิต และกลไกการขับเคลื่อนธนาคารหน่วยกิตในต่างประเทศและประเทศไทย มีการศึกษาสภาพปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การจัดทำระบบธนาคารหน่วยกิต ครอบคลุมประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการ การพัฒนาระบบ กลไกการขับเคลื่อน หน่วยงานหลักและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รูปแบบที่เหมาะสม และทิศทางนโยบายระบบธนาคารหน่วยกิต ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ด้วยการสัมภาษณ์ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษา ภาคประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านแรงงาน และผู้ที่ศึกษาหรือผู้ที่เคยศึกษาในระบบธนาคารหน่วยกิต เพื่อทำความเข้าใจกับสถานการณ์ปัจจุบันและพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อไป This study aimed at assessing current situation of the Thai Credit Bank System (TCBS). It began with reviewing international lessons on the design and implementation of the credit bank systems. The countries included in the exercise are Singapore, South Korea, Australia, United States, and the EU. The key findings from international experiences are: 1) successful credit bank system requires proper online infrastructure to store and share information related to learners’ education credit records; 2) prospective learners understand the need to constantly update their skills to meet changing work environment; 3) the credit bank system should be developed on different learning platform both online and offline, allowing learners to opt the platforms that suit them best; 4) minimum standard must be observed for each credit module so as to allow it to be recognized by a broader set of learning institutions; and 5) a credit bank system based on networks of higher learning institutions perform better that the one provided independently by an institution. The analysis of TCBS was based on both documentary evidence and in-depth interview with stakeholders, encompassing representatives from higher learning institutions, relevant government agencies, employees, and learners. It was found that, by and large, the TCBS was being implemented independently by higher learning institutions; many of which were still at their initial stages and were not ready for enrollment. In addition, there was a clear lack of understanding on the principle of TCBS among learners, some government and higher learning officials, as well as staff within the higher learning institutions. The more successful institutions in attracting sufficient number of learner to make the system economically viable were the ones who were able to identify potential learners they wished to serve; these successful institutions had developed multi-channel learning platform using the right mix of online and offline delivery of the course content.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectระบบธนาคารหน่วยกิตth
dc.subjectความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงานth
dc.titleการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบบธนาคารหน่วยกิตและกลไกขับเคลื่อน ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการth
dc.title.alternativeData collection and analysis of banking systems, credits, and mechanisms to drive the linkage between sectors and labor / business sectorsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00411th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลระบบธนาคารหน่วยกิตและกลไกขับเคลื่อน ความเชื่อมโยงระหว่างภาคอุดมศึกษากับภาคแรงงาน/ภาคประกอบการth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record