Show simple item record

dc.contributor.authorระพีพรรณ คำหอมth
dc.date.accessioned2020-09-11T03:58:26Z
dc.date.available2020-09-11T03:58:26Z
dc.date.issued2563-09-11
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/894
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง โครงการแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบัน กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนรูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบันที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิต พัฒนากระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการที่มีประสทธิภาพและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบัน ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า และบ้านนนทภูมิ นนทบุรี บ้านการุณยเวศม์ ชลบุรี บ้านพระประแดง สมุทรปราการ ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติก ขอนแก่น รวม 5 แห่ง ๆ ละ 12 คน รวม 60 คน และคนพิการแห่งละ 3 คน รวม 15 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ประเด็นการสนทนากลุ่มย่อย และประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษามีดังนี้ ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการให้บริการของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการเป็นรูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบัน (Institutionalization) มี 4 แห่ง ได้แก่ สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านเฟื่องฟ้า จังหวัดนนทบุรี สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านนนทภูมิ นนทบุรี สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านการุณยเวศม์ จังหวัดชลบุรี (ดูแลเพศหญิง) สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ โดยมีกระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบันที่เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน คือ การรับเข้า การประเมินคัดกรอง การวินิจฉัยทางสังคม การคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการ การส่งกลับครอบครัว การส่งต่อหน่วยงานอื่น ๆ การติดตามและประเมินผล และรูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการนอกสถาบัน (Deinstitutionalization) คือ ศูนย์พัฒนาบุคลลออทิสติก เป็นการจัดบริการแบบกลางวัน ลักษณะไปกลับ ข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนารูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบันและนอกสถาบันมี 4 รูปแบบ ได้แก่ 1. รูปแบบบริการสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ได้แก่ รูปแบบบริการที่เน้นครอบครัวเป็นฐาน (Families-based) รูปแบบบริการที่เน้นชุมชนเป็นฐาน (Community-based) และศูนย์ CPR (โครงการบำบัดทุกข์บำรุงสุข) ทุกจังหวัด 2. รูปแบบบริการแบบถ่ายโอนภารกิจให้ท้องถิ่น (Local Administration-based) 3. รูปแบบบริการแบบหุ้นส่วน (Partnership – Based) 4. รูปแบบบริการในสถาบัน (Institutional- Based ) ข้อเสนอด้านการพัฒนาบุคลากร ควรมีการวิเคราะห์แผนอัตรากำลังคนของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระยะ 10-20 ปี ควรกำหนดค่างานที่ไม่น่าอภิรมย์ ค่าความเสี่ยง ค่าวิชาชีพ ควรจัดทำหลักสูตรอาสาสมัครช่วยดูแลคนพิการ โดยให้ภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาบริการใหม่ของสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการ ควรปรับให้สถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจังหวัดเป็นหน่วยฝึกงานของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ หรือเป็นสถาบันการเรียนรู้การดูแลคนพิการในครอบครัวหรือชุมชน ควรส่งเสริมรูปแบบและแนวทางการคุ้มครองและพัฒนาคนพิการและศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลออทิสติกจังหวัดใหม่ ควรมีเครื่องมือ มาตรการ กระบวนการ และวิธีการที่จะทำให้ครอบครัวของคนพิการสามารถอยู่และดูแลคนพิการที่บ้านเองได้ ควรจัดให้มีการประกาศอาชีพสงวนสำหรับคนพิการ และควรออกแบบสถานที่ภายในบ้านและศูนย์ฯ ให้เป็น Universal Design A study on “An Approach to develop model and service management for the disabilities” were to study and review institutional model for the service of disabilities to suit the new changing society. It is the qualitative research making use of focus group. Population studied were executive, staff and officers for institution of protection home (15 of item) and from focus group (60 of item), total 75 population studied Depth interview and focus group were used as a tool for data collection. Findings were as follows: To suit the changing society, the proper model for services and protection to the disabilities were intake, evaluate and screening, diagnosis, welfare servicer to protect the disabilities child, their families, referring system, follow up and evaluation. Day-Care Services for the autistic child is needed. The research recommended that there should be clear policy to protect the child with disabilities both inside and outside institutions. The model or an approach should include, Family-based, Community-based, Local Administrative-based, Partnership-based and institutional- based. Long plan of 10 - 20 years to help develop quality of life of the disable person should be introduced. The curriculum for volunteers to assist the disable and their families should be introduced. Involvement of people participation to assist the disable person is suggested. Centre for autistic child should be introduced at provincial level to help develop potentiality of them. Proper tools, measures to support the disable families to look after them and child within the families should be encouraged jobs reserved for the disable persons to work should be considered. The Universal Design for the families of disable persons should be introduced to make their life safe and comfortable.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectพัฒนาคนพิการth
dc.subjectการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการth
dc.subjectInstitutionalizationth
dc.subjectกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการth
dc.titleกำหนดแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบันth
dc.title.alternativeDevelopment and Management within the Institutionth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00775th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาประชากร (Population sector : PO)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleกำหนดแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบันth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record