Show simple item record

dc.contributor.authorพีรดร แก้วลายth
dc.date.accessioned2020-08-07T02:25:07Z
dc.date.available2020-08-07T02:25:07Z
dc.date.issued2563-08-07
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/871
dc.description.abstractความรู้ในศตวรรษที่ 21 เป็นความรู้ที่มีความพลวัต (Dynamic) ซึ่งเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ประกอบด้วย นวัตกรรมความคิดสร้างสรรค์ และข้อมูล ทำให้ลักษณะของการเข้าถึงความรู้เป็นไปในลักษณะที่ผ่านกระบวนการแบ่งปันความรู้การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล โดยศูนย์ความรู้แห่งชาติ พื้นที่เพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นตัวกลาง ในการอำนวยความสะดวกให้กับการเข้าถึงความรู้ที่เป็นพลวัต เป็นผู้สร้างพื้นที่บริการ (Space Provider) และผู้อำนวยและประสานในการเข้าถึงความรู้ (Facilitator) ดังนั้นโครงการศูนย์ความรู้แห่งชาติจำเป็นต้องกำหนดแนวความคิดโครงการด้วยกัน 2 ส่วน คือ (1) แนวความคิดด้านความรู้และพื้นที่เรียนรู้ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนความรู้เป็นหัวใจหลักและ (2) แนวความคิดด้านความสัมพันธ์ของโครงการกับเมือง ให้ความสำคัญกับการให้โครงการเป็นพื้นที่ศูนย์รวมของเมืองและเป็นจุดเด่นของเมืองประเภทกิจกรรมและการให้บริการในโครงการศูนย์ความรู้แห่งชาติประกอบด้วยกิจกรรม 5 ด้านคือ (1) บริการด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ เช่น การบรรยายให้ความรู้ การฝึกอบรม เรียน สัมมนา ประชุมและอภิปราย จะต้องถูกให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก (2) บริการด้านการแสดงออก เช่น การแสดง จัดนิทรรศการหมุนเวียน (3) บริการด้านการ สร้างความรู้ เช่น การลงมือทำ การประดิษฐ์ทดลอง คิดค้นนวัตกรรม (4) บริการเก็บความรู้ เช่น ห้องสมุด หรือนิทรรศการถาวร และ (5) บริการความรู้และกิจกรรมสำหรับกลุ่มพิเศษ เช่น เด็ก และผู้มีความบกพร่องทางร่างกาย สำหรับการเลือกที่ตั้งโครงการประกอบด้วยปัจจัยทั้งหมด 4 ปัจจัย โดยปัจจัยสำคัญที่สุดสองปัจจัยแรกคือ (1) การเลือกตำแหน่งที่ตั้ง โดยโครงการควรตั้งในบริบทที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง มีกิจกรรมหมุนเวียนตลอดวันตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะความเป็นเมือง (Urban Area) และ (2) การเข้าถึงโครงการ โดยควรมีการวางแผนให้เข้าถึงอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ มีการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนทั้งการเดินเท้า จักรยาน และรถประจำทาง ร่วมกันทั้งย่าน สถานีขนส่งมวลชนระบบรางควรอยู่ในระยะห่างไม่เกิน 500–800 เมตร จากโครงการ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้คนสามารถเข้าใช้งานโครงการได้อย่างเท่าเทียม ทุกเพศทุกวัยและทุกกลุ่ม ปัจจัยรองถัดมาที่สนับสนุนการเลือกที่ตั้งคือ (3) ความสัมพันธ์กับพื้นที่สาธารณะ เช่น การมีพื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่สาธารณะอยู่ติดกับโครงการ และสามารถเชื่อมกับโครงการอย่างกลมกลืนไร้สิ่งกีดขวาง และ (4) ปัจจัยสุดท้ายคือที่ตั้งโครงการควรเป็นพื้นที่มีแผนการพัฒนาย่าน ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม การวางแผนลักษณะกายภาพของโครงการ ต้องคำนึงถึง 2 ประเด็นสำคัญคือ (1) กายภาพที่สนับสนุนความสัมพันธ์กับบริบทเมือง เพื่อการเป็นศูนย์กลางและจุดเด่นของเมือง โดยการวางผังโครงการ จะต้องบูรณาการการวางผังโครงการกับที่ตั้งและทำให้โครงการเป็นเนื้อเดียวกับเมือง (Urban Fabric) และ รูปแบบสถาปัตยกรรม เป็นจุดเด่นของเมือง โดยโครงการเปิดกว้างทั้งรูปแบบอาคารที่เป็นไอคอนและกลมกลืน แปรผันตามความเหมาะสมของบริบท (2) ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งเสริมคุณสมบัติด้านความรู้และพื้นที่ความรู้ ภายในโครงการมีความต้องการพื้นที่ที่ยืดหยุ่น (Flexible) และ วางผังแบบเปิด (Open plan) ในบางพื้นที่บริการของโครงการ และพื้นที่สำหรับเด็กควรใช้การออกแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ (Active Learning) เน้นการเคลื่อนไหวหรือกิจกรรม จากการศึกษาพบว่า พื้นที่ใช้สอยของโครงการที่เหมาะสมกับแหล่งเรียนรู้สาธารณะของประเทศไทย ควรมีขนาดอยู่ระหว่าง 12,000 – 25,000 ตารางเมตร ตามความเหมาะสมของที่ตั้งและจำนวนผู้ใช้งาน โดยแบ่งสัดส่วนของกลุ่มพื้นที่ได้เป็น 2 ประเภท ตามการใช้งาน คือพื้นที่บริการร้อยละ 59 และ พื้นที่ส่วนสนับสนุนร้อยละ 41 จากการศึกษาสามารถสรุปแนวทางการกำหนดโครงสร้างการบริหารจัดการได้เป็น 5 ฝ่ายหลักได้แก่ (1) ฝ่ายการบริหารจัดการกิจกรรมในโครงการ (2) ฝ่ายการบริหารจัดการด้านประชาชน (3) ฝ่ายการบริหารจัดการด้านการบริการห้องสมุด (4) การบริหารจัดการด้านการเงิน (5) การบริหารจัดการส่วนสนับสนุน The knowledge in the twenty first century is dynamic and constantly changing. This type of knowledge combines three components, namely innovation, creativity, and information. The changing nature of knowledge characteristic also changes the way people access knowledge from collecting to sharing and transferring knowledge and experiences between people. In response to changing form of knowledge, National Knowledge Center as space for learning in the twenty first century will become a medium that help people access the dynamic knowledge. There are two concepts of National Knowledge Center, (1) Concept of knowledge and Learning space that emphasize on knowledge transfer and, (2) Concept of the relationship between project and city that emphasizes on the project as a city center and landmark. There are five types of service and activities in National Knowledge Center project categories, (1) Knowledge exchange and transfer, such as lecture series, coaching, seminar and discussion, this type of activities should be first priority in the project; (2) Knowledge expression, such as performance activities and temporary exhibition; (3) Knowledge creation, such as invention of new innovation, crafting and making things; (4) Knowledge collection, such as library and permanent collection and exhibition, and; (5) Knowledge services for special group such as kids and people with disability. There are 4 criteria for choosing the location of the National Knowledge Center. The two most important criteria are the location and accessibility. The project should be located in high density area, which has active activities all day, and should be in the urban environment. The project accessibility should be planed at district scale. The access should seamlessly and easily connect from the project to transportation system such as pathway, bike lane, bus, also the rail transit station should be located in 500 - 800 meters from project, create the universal access to the project. The supporting criteria are the relationships between project and public space, such as adjacency to the public park. Finally, the area should have solid and clear district's development plan. There are 2 issues concerning the mater planning and appearance of the project, (1) Through site planning process, how a building would blend in with its context, becoming city center, and integrated into urban fabric, also the project should have landmark and iconic quality; (2) Physical criteria that support knowledge and learning spaces such as flexible space, open plan in area where needed, and active learning space foe children. From the research, the suitable gross floor area for the National Knowledge Center is between 12,000 - 25,000 sq.m. depends on the land area and number of users. The usage area will consist of activities service area 59 % and supporting area 41 %. An organizational structure of the project can be comprised of five departments, (1)Administration and management department, (2) Citizen management department, (3) Library service management department, (4) Finance department, and (5) Support and service department.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectNational Knowledge Parkth
dc.subjectศูนย์ความรู้แห่งชาติth
dc.subjectสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)th
dc.subjectOKMDth
dc.titleงานศึกษาแนวทางการจัดตั้ง National Knowledge Park ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยth
dc.title.alternativeThe Study of Guidelines For Establishment Of National Knowledge Center In Thailand Contextth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2560A00269th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการศึกษา (Education sector : ED)th
turac.contributor.clientสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleงานศึกษาแนวทางการจัดตั้ง National Knowledge Park ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record